Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78330
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี-
dc.contributor.authorนิศาชล ชัยมงคลen_US
dc.date.accessioned2023-07-05T09:58:16Z-
dc.date.available2023-07-05T09:58:16Z-
dc.date.issued2023-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78330-
dc.description.abstractFor the past 18 years, violence has persisted in Thailand's three southern border provinces without any signs of diminishing. Therefore, this research aims to examine the lives of people who continue to live in this violence-ridden area, focusing on the Thai Buddhist community with a longstanding history of coexistence and relationships with people of different religions. The objectives of this study are: 1) to study the dynamics and management of violence at the political policy level in the three southern border provinces from 2004 to the present; 2) to examine the fear generated by the violent situations and its impact on the relationships among local people in Na Ngam Sub-district (pseudonym); and 3) to understand how individuals cope and negotiate with fear in their daily lives in Na Ngam Sub-district. Data was collected from Thai Buddhists in the study area using a qualitative methodology from 2019 to 2020. The following are three key findings from this study. Firstly, the ongoing structural violence in the three provinces is evolving into an intractable conflict, primarily as a result of the Thai state's use of military strategies to handle these violent situations in the area. These operations have led to a transformation in the identity of local Buddhists, redefining them as 'Thai Buddhists,' who have subsequently become embroiled in the conflict under military and political ideologies. Consequently, this has shifted local relations among people of different religions in the community into political interactions, eventually leading to a breakdown in these relationships. Secondly, the infiltration of violence into the Thai Buddhist community has created a palpable experience of violence for the local Buddhist population. This form of violence has induced fear within the community and this fear has resulted in a redefinition of Malay Muslims, associating them with violent actions. This key element has brought about changes in both the way of interactions and the social spaces of relationships between the Thai Buddhist community and the Malay Muslims. Thirdly, the violence, with the Thai state as a conflicting party and the military operations that have changed the area, has significantly impacted the identity of the Buddhist population. This has led to a shift from a primarily religious and cultural identity to a political and military identity, thereby altering the ways in which the Thai locals of these provinces define and negotiate their identities.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการเมืองเรื่องความกลัวกับการอยู่กับความขัดแย้งในมิติชีวิตประจำวัน บนพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้en_US
dc.title.alternativeThe Politics of fear and living with conflicts in everyday life in the three southern border provincesen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashมุสลิม -- ไทย (ภาคใต้)-
thailis.controlvocab.thashพุทธศาสนา -- ไทย (ภาคใต้)-
thailis.controlvocab.thashไทย (ภาคใต้) -- ปัญหาและข้อพิพาท-
thailis.controlvocab.thashไทย (ภาคใต้) -- การเมืองและการปกครอง-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractในช่วงเวลากว่า 18 ปีที่ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้นั้นได้เกิดขึ้นและดำเนินเรื่อยมาในสังคมไทยและยังไม่มีทีท่าว่าความรุนแรงนั้นจะสงบลง งานวิจัยชิ้นนี้จึงได้ให้ความสนใจไปยังวิถีชีวิตของผู้คนที่ยังคงอยู่บนพื้นที่ความรุนแรงโดยเฉพาะกลุ่มคนไทยพุทธ ซึ่งถือเป็นกลุ่มคนที่มีประวัติศาสตร์ในการอยู่อาศัยในพื้นที่และมีประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ร่วมกับคนต่างศาสนามาอย่างยาวนาน โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาทำความเข้าใจพลวัตความรุนแรงและการจัดการปัญหาความรุนแรงในระดับนโยบายทางการเมืองพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน 2) พิจารณาความกลัวอันเกิดความรุนแรงที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของคนในพื้นที่ ต.นางาม (ชื่อสมมติ) และ 3) ทำความเข้าใจวิธีการจัดการ การต่อรองกับความกลัวในชีวิตประจำวันของปัจเจกบุคคลในพื้นที่ ต.นางาม โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลคนไทยพุทธในพื้นที่ศึกษาระหว่างปี 2562-2563 การศึกษามีข้อค้นพบ สามประการสำคัญ คือ ประการแรก จากความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องได้กำลังดำเนินไปสู่ลักษณะของความขัดแย้งที่ดื้อยา (Intractable conflict) อันเป็นผลมาจากการจัดการปัญหาความรุนแรงของรัฐไทยโดยที่ได้มุ่งใช้แต่ยุทธวิธีทางการทหารที่เข้ามาจัดการพื้นที่ ปฏิบัติการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลต่อการแปรเปลี่ยนอัตลักษณ์ของคนพุทธในพื้นที่ให้กลายเป็น คนไทยพุทธ ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งภายใต้อุดมการณ์ทางการทหารและการเมืองจนกระทั่งทำให้สายสัมพันธ์ในระดับชุมชนของคนต่างศาสนาไปสู่ความสัมพันธ์ทางการเมือง จนทำให้ความสัมพันธ์ในชุมชนระหว่างคนต่างศาสนาได้แตกหักออกจากกันในท้ายที่สุด ประการที่สอง เมื่อความรุนแรงอันมาจากการเปลี่ยนอัตลักษณ์ของคนพุทธไทยพุทธในพื้นที่ ได้รุกคืบเข้ามายังพื้นที่ชุมชนไทยพุทธ ความรุนแรงนั้นได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงพื้นที่และปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของคนไทยพุทธที่มีต่อคนมลายูมุสลิมในสองลักษณะ ลักษณะแรกคือ ความรุนแรงในฐานะเหตุการณ์หรือสถานการณ์ ที่เป็นประสบการณ์ตรงอันเกิดขึ้นในพื้นที่ ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนความหมายและสร้างความกลัวของคนพุทธในพื้นที่ การเปลี่ยนสำนึกของพื้นที่ปลอดภัยไปสู่พื้นที่อันตราย รวมทั้งเปลี่ยนการนิยามตัวตนของคนมุสลิมไปสู่การเป็นกลุ่มคนที่ใช้ความรุนแรงประการที่สอง ความกลัวนั้นก็ได้เป็นสาเหตุหลักที่เข้ามาเปลี่ยนวิธีการและพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างชุมชนไทยพุทธที่มีต่อคนมลายูมุสลิม ประการที่สาม ผลกระทบจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้ส่งผลต่อของตัวตนของคนพุทธในพื้นที่ ความเป็นพุทธซึ่งเป็นอัตลักษณ์ทางศาสนาและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเภทหนึ่ง ในบริบทความขัดแย้งที่เกิดขึ้นที่รัฐไทยเป็นตัวจักรสำคัญ ได้ทำให้อัตลักษณ์ดังกล่าว กลายเป็นอัตลักษณ์ทางการเมือง และการทหาร ที่มีผลต่อการนิยามและต่อรองตัวตนของคนไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ในลักษณะที่แตกต่างกันen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610431002-นิศาชล ชัยมงคล.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.