Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78325
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เอกสิทธิ ธราวิจิตรกุล | - |
dc.contributor.advisor | สมศักดิ์ วรรณวิไลรัตน์ | - |
dc.contributor.author | อานันท์ บรรณจักร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-07-05T01:20:01Z | - |
dc.date.available | 2023-07-05T01:20:01Z | - |
dc.date.issued | 2022-09 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78325 | - |
dc.description.abstract | This study is a prospective study. Patient set-up error and daily Cone-Beam Computed Tomography (CBCT) images data of 10 cervix cancer patients who had indicated receiving whole pelvic radiotherapy. All patients were designed to receive whole pelvic irradiation with the dose of 46 Gy or a simultaneous integrated boost (SIB) of 55.2 Gy in 23 fractions planned by VMAT. The empty bladder protocol was designed for all patients before simulation and irradiation. The ‘all fraction’ set-up error in lateral (X), longitudinal (Y), and vertical (Z) axis from CBCT image registration were recorded and interpreted to be error margins by van Herk formula. The bladder volume variations of patients were evaluated. The results showed that from 215 CBCT image data sets, the set-up errors of cervical cancer patients were calculated. The systematic errors were 0.207, 0.255, and 0.301 cm. The random errors were 0.327, 0.298, and 0.318 cm. Calculated PTV margins were 0.746, 0.845, and 0.975 cm on the X, Y, and Z-axis, respectively. The distribution frequency of set-up error deviations within each range was analyzed separately for each cut-off range. At the 1.0 cm interval, the percentages of the error frequency beyond the boundary were 2.79, 2.33, and 2.33 in the X, Y, and Z-axis, respectively. The bladder volume assessment, the mean and standard deviation were 49.19 ±. 26.93 cc. The percentage change in bladder volume from the planning volume was +23.56. In all patients, none experienced a Grade 3 or greater side effect. This study suggested that the appropriate PTV margin in the empty bladder - cervical cancer patient is 1.0 cm for the Division of Radiation Oncology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University. Due to it can cover daily patient positioning error at the calculated PTV margin of 0.975 cm at the vertical (Z) axis, which has the highest error. The frequency of the error data exceeding the margin is less than 3 percent on all axes. So, the empty bladder protocol is a method to reduce target placement error without causing serious side effects to the patient excretory system. This protocol can be used for people who have urinary incontinence problems. Choosing a pre-radiation practice guideline for patients should calculate a PTV margin that is appropriate for the lesion site and that guideline based on the information of each institution. To provide patients with the best treatment accuracy and quality of life. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การหาระยะขอบของปริมาตรเป้าหมายสำหรับวางแผนรังสีปรับความเข้มเชิงปริมาตรในโรคมะเร็งปากมดลูกที่ใช้แนวปฏิบัติให้ผู้ป่วยปัสสาวะก่อนฉายรังสี | en_US |
dc.title.alternative | Planning target volume margin determination for volumetric modulated arc therapy planning in cervix cancers using empty bladder protocol | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ปากมดลูก -- มะเร็ง | - |
thailis.controlvocab.thash | การรักษาด้วยรังสี | - |
thailis.controlvocab.thash | มะเร็ง -- ผู้ป่วย | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า โดยนำข้อมูลความคลาดเคลื่อนในการจัดท่าผู้ป่วยและภาพรังสีตัดขวางจากระบบสร้างภาพทวนสอบตำแหน่งฉายรังสีแบบรายวันของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งโพรงมดลูก จำนวน 10 ราย ที่มีข้อบ่งชี้ต้องได้รับการฉายรังสีรักษาบริเวณอุ้งเชิงกรานด้วยเทคนิค VMAT ปริมาณรังสี 46 เกรย์ ใน 23 ครั้งหรือเทคนิค simultaneous integrated boost (SIB) ปริมาณรังสี 55.2 เกรย์ใน 23 ครั้ง โดยให้ผู้ป่วยปัสสาวะ (empty bladder) ก่อนการถ่ายภาพจำลองการฉายรังสีและก่อนการฉายรังสี โดยจะทำการซ้อนทับภาพ (image registration) ก่อนทำการฉายรังสีผู้ป่วยทุกครั้งด้วย CBCT เพื่อประเมินความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นในแนว lateral (X) แนว longitudinal (Y) และแนว vertical (Z) ข้อมูลที่ได้นำมาคำนวณหา CTV to PTV margin ด้วยสมการของ van Herk และประเมินความแปรปรวนปริมาตรกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วยแต่ละรายระหว่างการฉายรังสีโดยให้ผู้ป่วยทำการปัสสาวะก่อนฉายรังสีแต่ละครั้ง ผลการวิจัยพบว่า จากข้อมูลภาพ CBCT จำนวน 215 ชุด ความคลาดเคลื่อนของการจัดท่าผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกนั้นสามารถคำนวณค่าความคลาดเคลื่อนแบบระบบเท่ากับ 0.207, 0.255 และ 0.301 ซม. คำนวณค่าความคลาดแบบสุ่มเท่ากับ 0.327, 0.298 และ 0.318 ซม. เมื่อนำค่าทั้งสองมาคำนวณ PTV margin ได้เท่ากับ 0.746, 0.845 และ 0.975 ซม.ในแนวแกน X,Y และ Z ตามลำดับ และจากข้อมูลความถี่การกระจายของค่าความคลาดเคลื่อนในแต่ละช่วงระยะนำมาวิเคราะห์แยกในแต่ละช่วงระยะจำกัด ที่ช่วงระยะ 1.0 ซม. มีค่าร้อยละของความถี่ความคลาดเคลื่อนที่เกินกว่าขอบเขตเท่ากับ 2.79, 2.33 และ 2.33 ในแนวแกน X,Y และ Z ตามลำดับ ในการประเมินปริมาตรกระเพาะปัสสาวะมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 49.41 ± 14.04 ลบ.ซม. และร้อยละการเปลี่ยนแปลงของปริมาตรกระเพาะปัสสาวะจากแผนรังสีรักษาอยู่ที่ +23.56 และในผู้ป่วยทั้ง 10 ราย ไม่มีรายใดที่พบผลข้างเคียงระดับ 3 ขึ้นไป งานวิจัยนี้พบว่า ระยะขยายของเป้าหมายที่เหมาะในผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกที่ปัสสาวะก่อนฉายรังสีคือ 1.0 ซม. สำหรับหน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื่องจากสามารถครอบคลุมความคลาดเคลื่อนการจัดท่าผู้ป่วยแต่ละวันที่ คำนวณ PTV margin ได้ 0.975 ซม. ที่แนว vertical (Z) ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนสูงที่สุดได้ และมีความถี่ของข้อมูลที่เกินกว่าขอบเขตไปน้อยกว่าร้อย 3 ในทุกแนวแกน วิธีการให้ผู้ป่วยปัสสาวะก่อนเข้าฉายรังสีจึงเป็นวิธีการที่ช่วยลดความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งเป้าหมายโดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงต่อระบบขับถ่ายของผู้ป่วย และสามารถนำไปใช้กับผู้ที่มีสภาวะปัสสาวะเล็ดได้ และการเลือกแนวทางปฏิบัติก่อนฉายรังสีให้ผู้ป่วยควรมีการคำนวณค่า PTV margin ที่เหมาะสมกับตำแหน่งรอยโรคและแนวปฏิบัตินั้นจากข้อมูลของแต่ละสถาบัน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความถูกต้องในการรักษาและคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด | en_US |
Appears in Collections: | MED: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
610731032-อานันท์ บรรณจักร์.pdf | 3.55 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.