Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78275
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวงกต วงศ์อภัย-
dc.contributor.authorภิรมย์พร ทองตะลุงen_US
dc.date.accessioned2023-07-03T00:48:38Z-
dc.date.available2023-07-03T00:48:38Z-
dc.date.issued2023-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78275-
dc.description.abstractThe situation of energy consumption in Thailand tends to increase with the country’s economy, including climate change. This thesis attempts to collect and examine the current information status, study factors affecting electricity consumption, and prepare energy performance indicators for public office buildings under control in Thailand. Focus on analyzing data on factors affecting electricity consumption with multiple regression analysis econometric models with the EViews program, covering data from energy management reports from 2010 to 2021. The study found 49 public office buildings under control with complete data and divided them into two groups based on transformer size: six small and 43 large buildings. Three factors that affect electricity consumption in small public office buildings are air-conditioned areas, working hours, and ambient temperature. While five factors that affect electricity consumption in large public office buildings are air-conditioned areas, non-air-conditioned areas, working hours, number of personnel, and ambient temperature. When considering appropriate indicators for evaluating electricity consumption in public office buildings under control in Thailand, there are two indexes: The Specific Energy Consumption Index (SEC) tracks and controls electricity consumption, reflecting the efficiency of electricity usage over time. The Energy Performance Index (EnPI) considers factors that affect electricity consumption and can be compared to the SEC to establish criteria for evaluation. Both indices can use guidelines for determining energy management evaluation standards for public office buildings under control.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectดัชนีชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงานen_US
dc.subjectการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณen_US
dc.subjectอาคารสำนักงานen_US
dc.subjectนโยบายการอนุรักษ์พลังงานen_US
dc.subjectการอนุรักษ์พลังงานในอาคารen_US
dc.subjectEnergy Performance Indicatoren_US
dc.subjectMultiple regression analysisen_US
dc.subjectOffice buildingen_US
dc.subjectEnergy conservation policyen_US
dc.subjectBuilding energyen_US
dc.titleการตรวจสอบนโยบายและการประเมินปริมาณการใช้ไฟฟ้าในอาคารสำนักงานภาครัฐในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativePolicy investigation and evaluation of electricity utilization in public office buildings in Thailanden_US
dc.typeThesis-
thailis.controlvocab.thashการใช้พลังงานไฟฟ้า-
thailis.controlvocab.thashพลังงานไฟฟ้า -- การอนุรักษ์-
thailis.controlvocab.thashการอนุรักษ์พลังงาน-
thailis.controlvocab.thashอาคารสำนักงาน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractสถานการณ์การใช้พลังงานของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจของประเทศ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปริญญานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลที่เป็นสถานภาพปัจจุบัน รวมถึงศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณการใช้ไฟฟ้า และจัดทำตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงานของอาคารควบคุมประเภทอาคารสำนักงานภาครัฐในประเทศไทย มุ่งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการใช้ไฟฟ้าโดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณด้วยโปรแกรม EViews ซึ่งใช้ข้อมูลจากรายงานการจัดการพลังงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2564 ผลการศึกษา พบว่า มีอาคารควบคุมประเภทอาคารสำนักงานภาครัฐจำนวน 49 แห่ง ที่มีข้อมูลครบถ้วน สามารถแบ่งตามขนาดหม้อแปลงออกเป็น 2 กลุ่ม คือ อาคารขนาดเล็กจำนวน 6 แห่ง และอาคารขนาดใหญ่จำนวน 43 แห่ง โดยปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการใช้ไฟฟ้าในอาคารสำนักงานภาครัฐขนาดเล็กมี 3 ปัจจัย คือ พื้นที่ปรับอากาศ ชั่วโมงการทำงาน และอุณหภูมิ ในขณะที่ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการใช้ไฟฟ้ามีในอาคารสำนักงานภาครัฐขนาดใหญ่มี 5 ปัจจัย คือ พื้นที่ปรับอากาศ พื้นที่ไม่ปรับอากาศ ชั่วโมงการทำงาน จำนวนบุคลากร และอุณหภูมิ เมื่อพิจารณาดัชนีชี้วัดที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการประเมินปริมาณการใช้ไฟฟ้าในอาคารควบคุมประเภทสำนักงานภาครัฐในประเทศไทยพบว่ามี 2 ดัชนี คือ ดัชนีชี้วัดการใช้พลังงานจำเพาะ (SEC) ที่สามารถนำไปใช้ในการติดตามและควบคุมปริมาณการใช้ไฟฟ้าและยังสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และดัชนีชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงาน (EnPI) ที่มีการพิจารณาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการใช้ไฟฟ้าในแต่ละอาคาร โดยทำการเปรียบเทียบกับดัชนีชี้วัดการใช้พลังงานจำเพาะ (SEC) เพื่อพิจารณาการผ่านเกณฑ์ของแต่ละอาคาร ซึ่งทั้งสองดัชนีสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการประเมินผลการจัดการพลังงานสำหรับอาคารควบคุมประเภทสำนักงานภาครัฐได้en_US
Appears in Collections:ENG: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
640631099-PHIROMPORN THONGTALUNG.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.