Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78268
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พิชญลักษณ์ พิชญกุล | - |
dc.contributor.author | อภิสรา แตงทอง | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-07-02T10:32:32Z | - |
dc.date.available | 2023-07-02T10:32:32Z | - |
dc.date.issued | 2022-10 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78268 | - |
dc.description.abstract | This study's purpose was to study the behavior of consumers in Chiang Mai Province towards Co-Working Space Service by using questionnaires as a tool to collect the data. The sample group was 385 people who live, study or work in Chiang Mai who use the Co-Working Space Service in Chiang Mai from May 1, 2021, to August 16, 2021. The data were analyzed by using Descriptive Statistics which were Frequency, Percentage, Weighted Average, Standard Deviation and Inferential Statistics. And analyzed the Variance (ANOVA) between the mean differences between groups of occupational and income factors with the 7 aspects of the Marketing Mix to compare the average level of the Marketing Mix in using co-working space services among consumers in the Chiang Mai. From the study results found that the behavior of consumers in using shared workspace services in Chiang Mai Province mostly choose to use café-sharing co-working spaces (coffee shops, small restaurants that serve food and drinks which can meet the needs of sitting and working). The frequency of using the service was 1-5 times per month and average time spent per visit was 1-3 hours, and there is no specific time for using the service. Mostly, it was no costs for using the space but there was other expense for extra services. The average spending was 101 - 150 baht. The purpose was to discuss or negotiate the business. Most group have 2-5 people sharing services. Factors in using the service was wanting a suitable and comfortable place to work and prefer to use the service in a single workspace zone (Separate table which provide privacy) The results of the study on the importance of the Marketing Mix in 7 aspects affecting the use of shared workspace services among consumers in Chiang Mai found that the average importance in the overall level was the highest in all 7 aspects, respectively. Average from highest to lowest as follows: Product, Place, Price, Process, Physical Evidence, Promotion and People. And when comparing the average level of importance of Marketing Mix in using shared workspace among consumers in Chiang Mai. By analyzing variance (Analysis of Variance: ANOVA), the mean difference between groups of occupational and income factors and Marketing Mix, found that the Marketing Mix that significantly different at 0.05 level for classification by occupation consisted of 3 aspects, which were Price, Promotion and People. As for the Marketing Mix factors that differed statistically at 0.05 level for classification by income, there were 3 aspects which were Product, People and Physical Evidence. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมการใช้บริการพื้นที่ทำงาน | en_US |
dc.subject | พื้นที่ทำงานร่วมแบ่งปัน | en_US |
dc.subject | Co-Working Space Service | en_US |
dc.title | พฤติกรรมการใช้บริการพื้นที่ทำงานร่วมแบ่งปันของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Behavior of consumers in Chiang Mai province towards co-working space service | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | พฤติกรรมผู้บริโภค -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | การใช้พื้นที่ | - |
thailis.controlvocab.thash | Co-Working Space | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการพื้นที่ทำงานร่วมแบ่งปันของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่อยู่อาศัย ศึกษา หรือทำงาน ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่เข้าใช้บริการสถานที่ให้บริการพื้นที่ทำงานร่วมแบ่งปันในจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ถึง 16 สิงหาคม 2564 จำนวน 385 ราย โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และวิธีการสุ่มตามความสะดวก (Convenience Sampling) โดยเลือกเฉพาะผู้ที่ใช้พื้นที่ทำงานร่วมแบ่งปันในจังหวัดเชียงใหม่ในช่วง 1 พฤษภาคม 2564 ถึง 16 สิงหาคม 2564 แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ประกอบด้วย ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมาน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance: ANOVA) ระหว่าง ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มของปัจจัยอาชีพและรายได้กับส่วนประสมทางการตลาดบริการ 7 ด้าน เพื่อใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความสําคัญของส่วนประสมทางการตลาดบริการในการใช้บริการพื้นที่ทำงานร่วมแบ่งปันของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ จากการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการใช้บริการพื้นที่ทำงานร่วมแบ่งปันของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ เลือกใช้บริการพื้นที่ทำงานร่วมแบ่งปันประเภท Café (ร้านกาแฟ ร้านอาหารเล็กๆ ที่ขายเครื่องดื่มและขนมที่สามารถตอบโจทย์การนั่งทำงานได้) มากที่สุด และมีความถี่ในการใช้บริการ 1-5 ครั้งต่อเดือน ระยะเวลาโดยเฉลี่ยของการเข้าใช้บริการต่อครั้ง 1-3 ชั่วโมง และไม่มีช่วงเวลาที่แน่นอนในการเข้าใช้บริการ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับค่าเช่าที่ แต่มีค่าใช้จ่ายในบริการเสริมพิเศษของพื้นที่ทำงานร่วมแบ่งปัน โดยใช้จ่ายเฉลี่ย 101-150 บาท จุดประสงค์ในการใช้บริการ ได้แก่ ติดต่อธุระหรือเจรจาธุรกิจ โดยมีจำนวนคนที่ไปด้วยกัน จำนวน 2-5 คน และมีปัจจัยในการใช้บริการได้แก่ ต้องการสถานที่ที่เหมาะสมและสะดวกสบายในการทำงาน และนิยมเลือกใช้บริการในโซน พื้นที่ทำงานแบบเดี่ยว (เป็นโต๊ะแยกเดี่ยว ให้ความเป็นส่วนตัว) ผลการศึกษา ระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดบริการ 7 ด้าน ที่มีผลต่อการใช้บริการพื้นที่ทำงานร่วมแบ่งปันของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีค่าเฉลี่ยความสำคัญในภาพรวมระดับมากที่สุด ทั้ง 7 ด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านราคา ด้านกระบวนการดำเนินงาน ด้านกายภาพและการนำเสนอ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านพนักงาน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความสําคัญของส่วนประสมทางการตลาดบริการในการใช้บริการพื้นที่ทำงานร่วมแบ่งปันของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance: ANOVA) ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มของปัจจัยอาชีพและรายได้กับส่วนประสมทางการตลาดบริการ 7 ด้าน พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เพื่อจำแนกตามอาชีพ มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านพนักงาน ส่วนปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เพื่อจำแนกตามรายได้ มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านพนักงาน และ ด้านกายภาพและการนำเสนอ | en_US |
Appears in Collections: | BA: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
621532146_อภิสรา แตงทอง.pdf | 34.08 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.