Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78214
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุนทรพจน์ ดำรงค์พานิช | - |
dc.contributor.author | ธนัชพร พาสุริยันต์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-06-29T00:56:23Z | - |
dc.date.available | 2023-06-29T00:56:23Z | - |
dc.date.issued | 2023-03 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78214 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this research were to 1) develop and validate the model for measuring teachers' teaching adaptation, 2) develop and verify the validity of the model for measuring student learning adaptation, and 3) study. 4) study the students' learning adaptation model and 5) compare the student's perceived self-efficacy with the teachers' teaching adaptation model and model. learning adaptation of students in the process of learning a new way Under the epidemic situation of the novel coronavirus disease 2019, the research samples were 1,295 students and 179 teachers at the secondary level. The schools in the Educational Service Area Office were Lampang, Lamphun, Chiang Mai, Mae Hong Son, Chiang Rai and Phayao. The research tools consisted of 1) a questionnaire on teaching adaptation of teachers, comprising 55 items, measuring 4 components with a confidence value of each component equal to 0.673 - 0.903 according to no. and 2) Student's learning adaptation questionnaire, 54 items, with the reliability of each component measurement equal to 0.846 - 0.905, respectively, in the new normal learning management process under the epidemic of viral diseases. Corona 2019 at the secondary level and 3) questionnaires measuring self-efficacy with a measurement reliability of 0.806 for 10 items. Data analysis consisted of 1) Descriptive Statistics and Correlation Analysis 2) Second-order Confirmatory Factor Analysis: (2ndCFA) 3) Latent Profile Analysis: LPA and 4) Two-way ANOVA and Post-Hoc used Dunnett T3. Conclusion 1) The results of the analysis of the new normal teacher learning management measurement model under the situation of the Coronavirus Disease 2019 outbreak were consistent with the empirical data. The first component was in the range of 0.547 - 0.939. The second component was in the range of 0.514-0.914. The component with the highest weight was self-consciousness toward teaching (β=0.914), followed by interaction. during teaching (β=0.904), teaching roles (β=0.877), and physical care during teaching (β=0.514) respectively. 2) The results of the analysis of the new normal student learning measurement model under the situation of the Coronavirus Disease 2019 epidemic. The first weight component was between 0.649 - 0.898 and the second component weight was between 0.752. - 0.888. The element with the highest elemental weight Self-esteem towards learning (β=0.888), followed by roles and responsibilities in learning (β=0.871), interaction during learning (β=0.795), and physical care in learning (β=0.752) respectively. 4) The results of the study of students' learning adaptation patterns in the new learning management process revealed that the classification of students into 3 groups was most consistent with the empirical data, the number of 356 students (27.49%) namely students with low learning adaptation, the number of 684 students (52.82%) with health-focused adaptation, and the number of 255 students (19.69%) are active in learning adaptation (Entropy = 0.935) 5) The comparison of the student's perceived self-efficacy with the teacher's instructional adaptation model and the student's learning adaptive model. The process of learning a new way under the epidemic situation of the coronavirus disease 2019, it was found that 1) Teachers with all 3 different styles and teaching students with 3 different adaptation styles influenced the cognitive abilities. Self-perception of all groups of students were different at statistical significance at the .01 level, and 2) the group of students with low learning adaptation who studied with teachers with interaction-oriented adjustment had different self-perception. different from the group of students studying with teachers who adapt to keep pace with changes statistically significant at the .01 level. Students who were alert to adaptation in learning and studied with teachers who focused on low teaching roles had different self-efficacy perceptions from students who studied with teachers. that adapts to keep pace with changes statistically significant at the .01 level. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การปรับตัวทางการสอนของครู | en_US |
dc.subject | การปรับตัวทางการเรียนของนักเรียน | en_US |
dc.subject | การรับรู้ความสามารถของตนเองของนักเรียน | en_US |
dc.subject | กระบวนการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ | en_US |
dc.subject | สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 | en_US |
dc.title | อิทธิพลของรูปแบบการปรับตัวทางการสอนของครูและรูปแบบการปรับตัวทางการเรียนของนักเรียนที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองของนักเรียนในกระบวนการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 | en_US |
dc.title.alternative | Effects of adaptive patterns in teachers’ teaching and students’ learning towards students self-efficacy in a new normal learning management during the COVID-19 pandemic | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ครู -- การทำงาน | - |
thailis.controlvocab.thash | นักเรียน -- การศึกษาและการสอน | - |
thailis.controlvocab.thash | โควิด-19 (โรค) | - |
thailis.controlvocab.thash | การเรียนรู้ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดการปรับตัวทางการสอนของครู 2) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดการปรับตัวทางการเรียนรู้ของนักเรียน 3) ศึกษารูปแบบการปรับตัวทางการสอนของครู 4) ศึกษารูปแบบการปรับตัวทางการเรียนรู้ของนักเรียน และ 5) เปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถของตนเองของนักเรียนกับรูปแบบการปรับตัวทางการสอนของครูและรูปแบบการปรับตัวทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่แตกต่างกัน ในกระบวนการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตัวอย่างการวิจัย คือ นักเรียนจำนวน 1,295 คน และครู จำนวน 179 คน ในระดับชั้นมัธยมศึกษา สถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่ ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย และพะเยา เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามการปรับตัวทางการสอนของครู จำนวน 55 ข้อ วัด 4 องค์ประกอบ โดยมีค่าความเชื่อมั่นแต่ละองค์ประกอบ เท่ากับ 0.673 - 0.903 ตามลำดับ และ 2) แบบสอบถามการปรับตัวทางการเรียนรู้ของนักเรียน จำนวน 54 ข้อ โดยมีค่าความเชื่อมั่นในการวัดแต่ละองค์ประกอบเท่ากับ 0.846 - 0.905 ตามลำดับ ในกระบวนการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับมัธยมศึกษา และ 3) แบบสอบถาม การวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-Efficacy) โดยมีค่าความเชื่อมั่นในการวัดเท่ากับ 0.806 จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย 1) สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับขั้นที่สอง (Second-order Confirmatory Factor Analysis: 2ndCFA) 3) การวิเคราะห์โปรไฟล์แฝง (Latent Profile Analysis: LPA) 4) การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two-way ANOVA) และการเปรียบเทียบภายหลังด้วยวิธี Dunnett T3 สรุปผลการวิจัย 1) ผลการวิเคราะห์โมเดลการวัดการจัดการเรียนรู้ของครูแบบวิถีใหม่ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบอันดับหนึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0.547 - 0.939 ส่วนน้ำหนักองค์ประกอบอันดับสองมีค่าอยู่ระหว่าง 0.514-0.914 องค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ ความรู้สึกนึกคิดของตนเองต่อการสอน (β=0.914) รองลงมา คือ การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสอน (β=0.904) บทบาทหน้าที่ในการสอน (β=0.877) และการดูแลร่างกายในการสอน (β=0.514) ตามลำดับ 2) ผลการวิเคราะห์โมเดลการวัดการเรียนรู้ของนักเรียนแบบวิถีใหม่ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบอันดับหนึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0.649 - 0.898ส่วนน้ำหนักองค์ประกอบอันดับสองมีค่าอยู่ระหว่าง 0.752-0.888 องค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด ความรู้สึกนึกคิดของตนเองต่อการเรียน (β=0.888) รองลงมา คือ บทบาทหน้าที่ในการเรียน (β=0.871) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเรียน (β=0.795) และการดูแลร่างกายในการเรียน (β=0.752) ตามลำดับ 3) ผลการศึกษารูปแบบการปรับตัวทางการสอนของครูในกระบวนการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ พบว่า การจำแนกกลุ่มครูได้ 3 กลุ่ม มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากที่สุด ได้แก่ ครูที่มีการปรับตัวเน้นบทบาททางการสอนต่ำ จำนวน 30 คน (16.76%) ครูที่ปรับตัวเน้นปฏิสัมพันธ์ในการสอน จำนวน 97 คน (54.19%) และครูที่ปรับตัวก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง จำนวน 52 คน (29.05%) โดยมีค่า Entropy = 0.962 4) ผลการศึกษารูปแบบการปรับตัวทางการเรียนรู้ของนักเรียนในกระบวนการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ พบว่า การจำแนกกลุ่มนักเรียนได้ 3 กลุ่ม มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากที่สุด ได้แก่ นักเรียนที่ปรับตัวทางการเรียนรู้ต่ำ จำนวน 356 คน (27.49%) นักเรียนที่ปรับตัวเน้นสุขภาพ มีจำนวน 684 คน (52.82%) นักเรียนที่ตื่นตัวต่อการปรับตัวในการเรียนรู้ มีจำนวน 255 คน (19.69%) โดยมีค่า Entropy = 0.935 5) ผลการเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถของตนเองที่เกิดขึ้นของนักเรียนกับรูปแบบการปรับตัวทางการสอนของครูและรูปแบบการปรับตัวทางการเรียนรู้ของนักเรียน ในกระบวนการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่า 1) ครูที่มีรูปแบบแตกต่างกันทั้ง 3 รูปแบบ และสอนนักเรียนที่มีรูปแบบการปรับแตกต่างกัน 3 รูปแบบ มีผลทำให้การรับรู้ความสามารถของตนเองของนักเรียนแตกต่างกันทุกกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) กลุ่มนักเรียนที่ปรับตัวทางการเรียนรู้ต่ำที่เรียนกับครูที่มีการปรับตัวเน้นปฏิสัมพันธ์จะมีการรับรู้ตนเองได้แตกต่างจากกลุ่มนักเรียนที่เรียนกับครูที่ปรับตัวก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนกลุ่มนักเรียนที่ตื่นตัวต่อการปรับตัวในการเรียนรู้และได้เรียนกับครูที่ปรับตัวเน้นบทบาททางการสอนต่ำจะมีการรับรู้ความสามารถของตนเองได้แตกต่างจากนักเรียนที่เรียนกับครู ที่ปรับตัวก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
630232034_ธนัชพร พาสุริยันต์.pdf | 9.03 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.