Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78209
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พักตร์วิภา สุวรรณพรหม | - |
dc.contributor.advisor | ศิริตรี สุทธจิตต์ | - |
dc.contributor.author | นันท์นภัส รังสิเวโรจน์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-06-29T00:39:20Z | - |
dc.date.available | 2023-06-29T00:39:20Z | - |
dc.date.issued | 2023-03 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78209 | - |
dc.description.abstract | Objective: To explore perceptions and behaviors towards benzodiazepine use, and to study factors leading towards benzodiazepine use among patients receiving long-term methadone treatment Method: Qualitative research was used. Data was collected through semi-structured in-depth interviews with 13 key informants who were treated with long-term methadone at a hospital in Chiang Mai. The key informants were selected by purposive sampling. They were the prescribed benzodiazepines (BZDs) while receiving methadone or remarked as requesting for BZDs from prescribers. Additionally, a snowball sampling was used to identify potential informants using BZDs from other sources. Results: For long-term methadone patients, their perceptions towards BZDs varied depending on their purpose of use. For informants using BZDs for treating their illness, they recognized BZDs as sleeping pills, stress relievers, or anxiety medications. For these symptoms, healthcare providers might perceive that treating them might be unnecessary. They took BZDs orally. For informants using BZDs for pleasure as a narcotic substance, they recognized BZDs as drunken drug or for euphoria. They used BZDs sublingually or by mixing with methadone before injecting them into the body. Besides the patients’ perception of BZDs, other factors influenced the patients’ used of BZDs included their mental and physical health problems, family problems in lacking understanding of methadone treatment, friend' s substance use, stressful jobs, living in an urban city gaining easy access to BZDs, limiting supply of BZDs from public hospitals and laws regulating BZDs. Conclusion: Patients’ perceptions towards BZDs were different from of the healthcare providers. When their needs for illness and discomfort treatment were unmet, they searched for a cure from other means and from somewhere else. To treat patients receiving methadone holisticly, healthcare providers should not only consider about physical illnesses but also mental illnesses that remain untreated. Key words: Benzodiazepines, Methadone, Drug use, Drug addiction | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การรับรู้ | en_US |
dc.subject | เบนโซไดอะซีน | en_US |
dc.subject | เมทาโดน | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมการใช้ยา | en_US |
dc.subject | การติดยาเสพติด | en_US |
dc.title | การรับรู้ พฤติกรรมและเหตุปัจจัยอันนำไปสู่การใช้ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเมทาโดน | en_US |
dc.title.alternative | Perceptions, behaviors and factors affecting benzodiazepine use among patients receiving methadone | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | เบนโซไดอะซีปีน | - |
thailis.controlvocab.thash | ยากล่อมประสาท | - |
thailis.controlvocab.thash | การติดยาเสพติด | - |
thailis.controlvocab.thash | ยา -- พฤติกรรมผู้บริโภค | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการรับรู้และพฤติกรรมการใช้ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีนในผู้ที่ได้รับยาเมทาโดน และศึกษาเหตุปัจจัยอันนำไปสู่การใช้ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีนในผู้ที่ได้รับยาเมทาโดน วิธีการ: งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างในผู้ให้ข้อมูลจำนวน 13 ราย ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเมทาโดนระยะยาวที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ การคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลใช้วิธีการเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) โดยเลือกผู้ที่ได้รับยาเมทาโดนจากโรงพยาบาลร่วมกับยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (benzodiazepines; BZDs) อย่างน้อย 1 รายการหรือถูกระบุว่ามีพฤติกรรมร้องขอยากลุ่ม BZDs จากบุคลากรทางการแพทย์ นอกจากนี้ยังใช้วิธีการบอกต่อ (snowball sampling) เพื่อค้นหาผู้ให้ข้อมูลที่ได้รับยากลุ่ม BZDs จากแหล่งภายนอกด้วย ผลการวิจัย: ผู้ใช้ยาเมทาโดนระยะยาวมีการรับรู้ต่อยากลุ่ม BZDs แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้ยา ผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ยาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยรับรู้ว่ายากลุ่ม BZDs คือ ยานอนหลับ ยาคลายเครียดและยารักษาอาการวิตกกังวล ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นอาการที่บุคลากรทางการแพทย์มองว่าไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา มีการใช้ยาด้วยวิธีการรับประทานเป็นหลัก ในขณะที่ผู้ให้ข้อมูลที่มีการใช้ยากลุ่ม BZDs เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เคลิ้มสุข ในลักษณะการเป็นสารเสพติด รับรู้ว่ายากลุ่ม BZDs เป็นยาเมา หรือ ยากดประสาท มีการใช้ยาด้วยวิธีการอมยาหรือนำไปผสมกับยาเมทาโดน ก่อนฉีดเข้าสู่ร่างกาย นอกจากการรับรู้เกี่ยวกับตัวยา BZDs ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ยา ปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ทั้งปัญหาสุขภาพทางใจและกาย ปัญหาทางด้านครอบครัวที่ขาดความเข้าใจในเรื่องกระบวนการรักษาด้วยยาเมทาโดน การคบเพื่อนที่มีลักษณะชักนำการไปใช้ยาในทางที่ผิด อาชีพที่ทำให้เกิดความเครียด กดดัน การอาศัยอยู่ในชุมชนเมืองที่สามารถเข้าถึงยากลุ่ม BZDs ได้ง่าย ปัญหาการจำกัดปริมาณการจ่ายยากลุ่ม BZDs จากโรงพยาบาลรัฐ และกฎหมายในการควบคุมยากลุ่ม BZDs ล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลต่อการใช้ยา BZDs ทั้งสิ้น สรุป: ผู้ใช้ยาเมทาโดนมีมุมมองการรับรู้ด้านความเจ็บป่วยต่างจากบุคลากรทางการแพทย์ เมื่อไม่ได้รับการรักษาอาการเจ็บป่วยในรูปแบบที่ตนเองต้องการ ทำให้เกิดการค้นหาวิธีเยียวยารักษาอาการเจ็บป่วยของตนจากแหล่งอื่น เพื่อเป็นการทำความเข้าใจมุมมองของผู้ใช้ยาเมทาโดนมากขึ้น ไม่เพียงแต่พิจารณาอาการเจ็บป่วยทางกาย บุคลากรทางการแพทย์ควรพิจารณาอาการเจ็บป่วยทางใจที่เกิดขึ้นที่ยังคงไม่ได้รับการรักษา คำสำคัญ: เบนโซไดอะซีน เมทาโดน พฤติกรรมการใช้ยา การติดยาเสพติด | en_US |
Appears in Collections: | PHARMACY: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
631031028-นันท์นภัส รังสิเวโรจน์.pdf | 22.37 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.