Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78208
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเริงชัย ตันสุชาติ-
dc.contributor.advisorวรพล ยะมะกะ-
dc.contributor.authorศิรประภา ยศทองงามen_US
dc.date.accessioned2023-06-29T00:39:16Z-
dc.date.available2023-06-29T00:39:16Z-
dc.date.issued2022-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78208-
dc.description.abstractThe purpose of this paper is to analyze the volatility spillover between the energy crop market and ethanol markets in the world's largest consumers and producers of ethanol including the United States, Brazil, and China. We also study the volatility spillover in the price of renewable energy crops from major exporting countries to China, namely corn from the United States and cassava from Thailand to the price of ethanol in China over the period of 2015-2020. We will forecast the return and volatility of return in 12 months ahead. To achieve this purpose, we utilize dynamic forecasting models which is BEKK GARCH model applied to the Bayesian Estimation method to estimate volatility behaviors of an energy crop and ethanol return. Our empirical results indicate significant bidirectional shock and volatility spillovers between the renewable energy crops and ethanol markets in the world's three major ethanol-producing countries. Brazil is the country that has shock and volatility spillover more than other countries. We can be classified co-volatility into two types: (1) low and constant co-volatility between renewable energy crops return and ethanol return in the USA market. However, the co-volatility has fluctuated in 2020 as a result of the COVID-19 pandemic. (2) moderate co-volatility between renewable energy crops return and ethanol return in Brazil and China markets. However, the co-volatility of Brazil and China markets showed a significant increase in the mid-2016 and 2020 as a result of the oil glut in 2016 and the COVID-19 pandemic in 2020. When we consider volatility spillover from renewable energy crop exporting countries to China, we found a volatility spillover between Thailand's cassava return and China's ethanol return. The result of forecasting volatility of renewable energy crops re-turn and ethanol return showed that the forecasting value of China’s ethanol return fluctuated slightly, ranging from 0.0000 but not exceeding 0.1400. The forecasting value of China’s corn return is between 0.0000 and 0.0400. The forecasting value of the USA’s corn return is between 0.0000 and 0.1400, and the forecasting value of Thailand’s cassava return is between 0.0000 and 0.0800. Furthermore, we are forecasting the renewable energy crops return and ethanol return. Our result found that the models VAR.lag and BVAR.lag had the same appropriate lag length of 1. We also found that the BVAR.lag.1 model was more suitable for forecasting a return. The renewable energy crops’ return in the previous month had an impact on the renewable energy crops’ return in the next months. However, Electric Vehicle (EV) car volume was positively correlated with ethanol return in the next months. The results are very useful for portfolio managers and investors when they design their asset allocation and portfolio optimizations against the downside risk. If investors want to decrease the portfolio risk, they should not consider both the renewable energy crop asset and ethanol asset in the same portfolio. We are recommended that policymakers be aware of the co-volatility between renewable energy crops return and ethanol return in the future. Policymakers should formulate policies to maintain market stability over the long term.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleวิเคราะห์การไหลล้นของความผันผวนระหว่างราคาเอทานอลและราคาพืชพลังงานทดแทนen_US
dc.title.alternativeVolatility spillovers between ethanol and renewable energy crop pricesen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเอทานอล-
thailis.controlvocab.thashพืชพลังงาน-
thailis.controlvocab.thashพืชเศรษฐกิจ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การไหลล้นของความผันผวนระหว่างตลาดพืชพลังงานทดแทนและตลาดเอทานอลในประเทศผู้บริโภคและผู้ผลิตเอทานอลรายใหญ่ที่สุดของโลกทั้ง 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา บราซิลและจีน นอกจากนี้ยังศึกษาถึงการไหลล้นความผันผวนของอัตราผลตอบแทนพืชพลังงานทดแทนจากประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ไปยังประเทศจีน ได้แก่ อัตราผลตอบแทนข้าวโพดจากสหรัฐอเมริกาและอัตราผลตอบแทนมันสำปะหลังของไทยไปยังอัตราผลตอบแทนเอทานอลในจีนในช่วงปี 2558-2563 และการพยากรณ์อัตราผลตอบแทนและความผันผวนของอัตราผลตอบแทน ในอีก 12 เดือนข้างหน้า เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการศึกษา เราจะใช้แบบจำลองการคาดการณ์แบบพลวัต ซึ่งคือ แบบจำลอง BEKK GARCH ร่วมกับวิธีการประมาณค่าแบบเบย์ (Bayesian Estimation) เพื่อประเมินพฤติกรรมความผันผวนของอัตราผลตอบแทนตลาดพืชพลังงานทดแทนและเอทานอล ผลการศึกษาพบการไหลล้นของช็อคและความผันผวนแบบสองทิศทางระหว่างตลาดพืชพลังงานทดแทนและเอทานอลใน 3 ประเทศผู้ผลิตเอทานอลสำคัญของโลก โดยประเทศบราซิลมีการไหลล้นของช็อคและความผันผวนระหว่างตลาดพืชพลังงานทดแทนและเอทานอลมากที่สุด และสามารถจำแนกความผันผวนร่วมออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ (1) ความผันผวนร่วมที่ต่ำและคงที่ระหว่างผลตอบแทนพืชพลังงานทดแทนและเอทานอลของตลาดสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม ความผันผวนร่วมดังกล่าวได้มีการลดลงอย่างมาก เป็นค่าลบในปี 2020 ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาคของโควิด-19 (2) ความผันผวนร่วมระหว่างผลตอบแทนพืชพลังงานทดแทนและเอทานอลที่มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงระดับปานกลางในตลาดบราชิลและจีน อย่างไรก็ตามความผันผวนร่วมระหว่างผลตอบแทนพืชพลังงานทดแทนกับเอทานอลของทั้ง 2 ประเทศมีการเคลื่อนไหวแบบก้าวกระโดดในช่วงกลางปี 2016 และ 2020 ซึ่งเป็นผลจากวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันในปี 2016 และการระบาดของโควิด-19 ในปี 2020 และเมื่อพิจารณาการไหลล้นความผันผวนจากประเทศผู้ส่งออกพืชพลังงานทดแทนไปยังประเทศจีน พบการไหลล้นความผันผวนระหว่างผลตอบแทนมันสำปะหลังประเทศไทยและเอทานอลประเทศจีน ผลการพยากรณ์ความผันผวนของผลตอบแทนพืชพลังงานทดแทนและผลตอบแทนเอทานอลพบว่า ค่าพยากรณ์ความผันผวนของผลตอบแทนเอทานอลประเทศจีนมีการแกว่งตัวเล็กน้อย ตั้งแต่ 0.0000 แต่ไม่เกิน 0.1400 ค่าพยากรณ์ความผันผวนของผลตอบแทนข้าวโพดประเทศจีนมีค่าระหว่าง 0.0000 ถึง 0.0400 ค่าพยากรณ์ความผันผวนของผลตอบแทนข้าวโพดประเทศสหรัฐอเมริกามีค่าระหว่าง 0.0000 ถึง 0.1400 และค่าพยากรณ์ความผันผวนของผลตอบแทนมันสำปะหลังประเทศไทยมีค่าระหว่าง 0.0000 ถึง 0.0800 ในด้านของการพยากรณ์ผลตอบแทนพืชพลังงานทดแทนและผลตอบแทนเอทานอล พบว่า แบบจำลองเวกเตอร์ออโตรีเกรสซีพและแบบจำลองเบย์เชียนเวกเตอร์ออโตรีเกรสชีพมี Lag Length ที่เหมาะสมเหมือนกันคือ 1 และแบบจำลองเบย์เซียนเวกเตอร์ออโตรีเกรสซีพ lag.1 มีความเหมาะสมในการพยากรณ์มากกว่า โดยผลตอบแทนของพืชพลังงานทดแทนในเดือนก่อนหน้าจะส่งผลต่อผลตอบแทนของพืชพลังงานทดแทนในเดือนถัดมา อย่างไรก็ตาม ปริมาณรถยนต์ EV มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับผลตอบแทนเอทานอลในเดือนถัดมา ผลการศึกษามีประโยชน์ต่อผู้จัดการพอร์ตการลงทุนและนักลงทุน เมื่อพวกเขาออกแบบการจัดสรรหลักทรัพย์และเพิ่มประสิทธิภาพพอร์ตการลงทุน หากนักลงทุนมีเป้าหมายของพอร์ตการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน นักลงทุนไม่ควรพิจารณาทั้งหลักทรัพย์พืชพลังงานทดแทนและหลักทรัพย์เอทานอลไว้ในพอร์ตการลงทุนเดียวกัน ข้อเสนอแนะแก่นักลงทุนและผู้กำหนดนโยบายให้เฝ้าระวังความผันผวนร่วมระหว่างพืชพลังงานทดแทนและเอทานอลในอนาคตผู้กำหนดนโยบายควรออกแบบนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดในระยะยาวen_US
Appears in Collections:ECON: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631631008 ศิรประภา ยศทองงาม.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.