Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78184
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชิดชนก เรือนก้อน | - |
dc.contributor.advisor | รัตนาภรณ์ อาวิพันธ์ | - |
dc.contributor.author | สุนิษา ถิ่นแก้ว | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-06-27T01:26:20Z | - |
dc.date.available | 2023-06-27T01:26:20Z | - |
dc.date.issued | 2022-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78184 | - |
dc.description.abstract | Objective: To develop a surveillance system for the distribution of prohibited drugs in grocery stores through the policy for promoting rational drug use in community (RDU community) at Lea Subdistrict, Phang-nga. Methods: This action research employed the RDU community processes including community assessment, assessment of problems in the area, pharmacists’ returning information on patients harmed by drug use within the community, community participation to analyze and assess the situation and plan the activities leading to the design of surveillance system by health consumer protection network, and establishment of agreement between the public and private health sectors by declaring health charter. The study measured knowledge before and after providing the information on Drug Act to grocery owners and information on drug purchasing and safe use of drug to public in the community. The study distributed to 27 grocery stores the posters showing drugs legally allowed or prohibited to distribute in grocery stores. The study collected the data on numbers of grocery stores distributing prohibited drugs for 3 times every 45 days apart during August 1, 2020 - December 30, 2021. Data analysis was conducted using mixed effects model. Results: After the implementation of activities in the project, the number of grocery stores distributing illegal drugs significantly decreased from 20 stores in the first wave of data collection to 6 stores in the third wave (P<0.001). Knowledge of grocery owners and the public significantly increased from 9.59+-2.20 to 11.67+-3.33 (P<0.001) (full score of 16) and 19.02+-3.36 to 21.92+-3.37 (P<0.001) (full score of 28), respectively. After the implementation of the surveillance system, no distribution of oral antibiotics, combined drugs, Ya-chud, and expired drugs were found. Conclusion: The development of surveillance systems based on all 5 activities of the policy on RDU community helps solve the problems at the system level by linking information from the hospital and community under the participation of all sectors. The surveillance systems enable grocery owners and public to gain literacy of rational use of drugs which can bring Lea Sub-district to become community model which is free from illegal drugs in grocery stores. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการจำหน่ายยาในร้านชำผ่านนโยบายส่งเสริม การใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนตำบลเหล จังหวัดพังงา นางสาวสุนิษา ถิ่นแก้ว | en_US |
dc.title.alternative | The Development of surveillance system for prohibiting drug selling in grocery stores for promoting rational drug use community in Lea Sub-district, Phang-nga province | en_US |
dc.type | Thesis | - |
thailis.controlvocab.thash | ยา -- การบริหาร -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | - |
thailis.controlvocab.thash | การใช้ยา | - |
thailis.controlvocab.thash | การขาย -- ยา | - |
thailis.controlvocab.thash | การใช้ยา -- พังงา | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังการจำหน่ายยาห้ามจำหน่ายในร้านชำ(การเฝ้าระวังฯ) ผ่านนโยบายส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน (RDU community) ตำบลเหล จังหวัดพังงา วิธีการ: การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ใช้กระบวนการ ตามหลักการของ RDU community ได้แก่ การประเมินชุมชน การประเมินปัญหาในพื้นที่ การคืนข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากยาในชุมชนโดยเภสัชกร การร่วมกันวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ ตลอดจนร่วมวางแผนจัดกิจกรรมซึ่งนำไปสู่การออกแบบระบบเฝ้าระวังฯ โดยเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข (คบส.) และการสร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยประกาศธรรมนูญสุขภาพ การศึกษาวัดความรู้ก่อนและหลังการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับพระราชบัญญัติยา (พรบ. ยา) และการให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับการเลือกซื้อและใช้ยาที่ปลอดภัย การศึกษาแจกโปสเตอร์แสดงชนิดยาที่ขายได้และไม่ได้ในร้านชำแก่ร้านชำทุกร้าน จำนวน 27 ร้าน การศึกษาเก็บข้อมูลจำนวนร้านชำที่มีการจำหน่ายยาห้ามจำหน่าย 3 ครั้งห่างกันทุก 45 วัน ในช่วง 1 สิงหาคม 2563 - 30 ธันวาคม 2564 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Mixed effects models ผลการวิจัย: หลังดำเนินกิจกรรมตามโครงการพบว่า ร้านชำจำหน่ายยาห้ามจำหน่ายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากจำนวน 20 ร้านในการตรวจครั้งที่ 1 เหลือ 6 ร้านในการตรวจประเมินครั้งที่ 3 (P<0.001) คะแนนความรู้ของผู้ประกอบการและประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 9.59+- 2.20 เป็น 11.67+-3.33 (P<0.001) (คะแนนเต็ม 16 คะแนน) และจาก 19.02+-3.36 เป็น 21.92+-3.37 (P<0.001) (คะแนนเต็ม 28 คะแนน) ตามลำดับ หลังจากการใช้ระบบเฝ้าระวังฯ ไม่พบการจำหน่ายยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน ยาสูตรผสม ยาชุด และยาหมดอายุ สรุป: การพัฒนาระบบเฝ้าระวังฯ ผ่านนโยบาย RDU community ทั้ง 5 กิจกรรม ทำให้เกิดการแก้ปัญหาในเชิงระบบ โดยเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลและชุมชนภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ระบบเฝ้าระวังฯ ทำให้ผู้ประกอบการและประชาชนเกิดความรอบรู้ในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและส่งเสริมให้ตำบลเหล เป็นชุมชนต้นแบบปลอดยาที่ห้ามจำหน่ายในร้านชำได้ | en_US |
Appears in Collections: | PHARMACY: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
631031033 สุนิษา ถิ่นแก้ว.pdf | 2.42 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.