Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78038
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorน้ำผึ้ง อินทะเนตร-
dc.contributor.authorน้ำเงิน จันทรมณีen_US
dc.date.accessioned2023-06-14T00:58:26Z-
dc.date.available2023-06-14T00:58:26Z-
dc.date.issued2023-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78038-
dc.description.abstractThe purposes of this research were: 1) to develop and validate the measurement model of organizational engagement among public university instructors 2) to develop and validate the causal relationship model factors influencing of organizational engagement of public university instructors 3) to test the model and parameter invariance between government university and autonomous university groups of instructors. The research sample consisted of 820 university instructors by using multistage random sampling. Data were collected using a questionnaire of 85 items to measure the quality of working life, organization condition, organizational culture, and organizational engagement, with reliability of 0.972, 0.934, 0.958, and 0.954, respectively, and the mean of item discrimination of 0.681, 0.725, 0.793, and 0.716, respectively. The data analyses employed descriptive statistics, Pearson's correlation analysis, confirmatory factor analysis, structural equation modeling, and multiple group analysis. Major findings were as follows; 1. The results of the confirmatory factors revealed that the model fit the empirical data and accurate measurement. The organizational engagement measurement model consists of three factors and six indicators , namely (1) acceptance of the organization's goals, consisting of 2 indicators, namely (1.1) acceptance and compliance and (1.2) faith and confidence in the organization, (2) willingness to exert considerable effort on behalf of the organization, consisting of 2 indicators, namely (2.1) sacrifice and (2.2) commitment and (3) desire to maintain organizational membership , namely (3.1) love the organization and (3.2) being a part of the organization. The model development and validation resulted in 𝛘2 = 8.212, df = 5, p-value = 0.1449, CFI = 0.998, TLI = 0.995, RMSER = 0.028, SRMR = 0.009. It was found that the first- and second-order factor loadings (β) were between 0.702–0.842 and 0.874–1.000, respectively. The factors with the highest factor loading were acceptance of the organization’s goals (1.000, R2 = 1.000). 2. The causal model of organizational engagement of public university instructors was valid and fit to the empirical data. The model indicated that the Chi-square goodness of fit test was 117.47, df = 94, p-value = 0.0511, CFI = 0.997, TLI = 0.995, RMSEA = 0.017, SRMR = 0.019. The variables directly influencing organizational engagement were organizational climate (β=0.467**), followed by quality of working life (β=0.445**) and the variables indirectly influencing organizational engagement were organizational climate (β=0.315**). The model's variables account for 86.4 percent of the variance in organizational engagement. 3. The model was variant in model form between government university and autonomous university groups of instructors and in some parameter matrices, including (1) variations in the model form, (2) variations in factor loading, namely safe and healthy working environments, rights and fairness in the organization, leadership characteristics, clan culture, adhocracy culture, and willingness to exert considerable effort on behalf of the organization, and (3) variations in influencing organizational engagement, namely quality of working life and organizational climate.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุen_US
dc.subjectความผูกพันองค์การen_US
dc.subjectอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐen_US
dc.subjectการวิเคราะห์กลุ่มพหุen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตการทำงานen_US
dc.titleโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐ: การวิเคราะห์กลุ่มพหุen_US
dc.title.alternativeThe Causal relationship model of factors influencing organizational engagement of public university instructors: A Multi-group analysisen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashความผูกพันต่อองค์การ-
thailis.controlvocab.thashพฤติกรรมองค์การ-
thailis.controlvocab.thashอาจารย์มหาวิทยาลัย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดความผูกพันองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐ (2) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐ และ (3) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบและพารามิเตอร์ในโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐ ระหว่างกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตัวอย่างในการวิจัยนี้ คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐ จำนวน 820 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม จำนวน 85 ข้อ วัดตัวแปรคุณภาพชีวิตการทำงาน บรรยากาศองค์การ วัฒนธรรมองค์การ และความผูกพันองค์การ มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.972, 0.934, 0.958 และ 0.954 ตามลำดับ ค่าอำนาจจําแนกเฉลี่ย 0.681, 0.725, 0.793 และ 0.716 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างและการวิเคราะห์กลุ่มพหุ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ 1. โมเดลการวัดความผูกพันองค์กรของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีความตรงทางการวัด ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 6 ตัวบ่งชี้ คือ (1) การยอมรับเป้าหมายขององค์การ ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (1.1) การยอมรับและปฏิบัติตาม และ (1.2) ความศรัทธาและเชื่อมั่นต่อองค์การ (2) ความเต็มใจและใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (2.1) ความเสียสละ และ (2.2) ความมุ่งมั่นทุ่มเท และ (3) ความปรารถนาที่จะคงอยู่เป็นสมาชิกขององค์การ ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (3.1) ความรักองค์การ และ (3.2) การเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ โดยมีค่าความสอดคล้องกลมกลืน เท่ากับ 𝛘2 = 8.212, df = 5, p-value = 0.1449, CFI = 0.998, TLI = 0.995, RMSEA = 0.028, SRMR = 0.009 พบว่าน้ำหนักองค์ประกอบลำดับขั้นที่ 1 (β) มีค่าระหว่าง 0.702 – 0.842 และลำดับขั้นที่ 2 (β) มีค่าระหว่าง 0.874 – 1.000 ซึ่งองค์ประกอบด้านการยอมรับเป้าหมายขององค์กร มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานสูงสุด (β =1.000, R2 = 1.000) 2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความผูกพันองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ให้ค่า 𝛘2 = 104.533, df = 83, p-value = 0.0552, CFI = 0.998, TLI = 0.996, RMSEA = 0.018, SRMR = 0.016 พบว่า ตัวแปรที่อิทธิพลทางตรงต่อความผูกพันองค์การ ได้แก่ บรรยากาศองค์การ (β=0.467**) รองลงมาเป็น คุณภาพชีวิตการทำงาน (β=0.445**) ตัวแปรที่อิทธิพลทางอ้อมต่อความผูกพันองค์การ ได้แก่ บรรยากาศองค์การ (β=0.315**) ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความผูกพันองค์การได้ร้อยละ 86.4 3. รูปแบบโมเดลและพารามิเตอร์ในโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐระหว่างกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐและในกำกับของรัฐมีความแปรเปลี่ยน ได้แก่ (1) มีความแปรเปลี่ยนที่รูปแบบโมเดล (2) มีความแปรเปลี่ยนของพารามิเตอร์เมทริกซ์น้ำหนักองค์ประกอบ ได้แก่ สภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ สิทธิและความเป็นธรรมในองค์การ ลักษณะภาวะผู้นำ วัฒนธรรมเน้นความสัมพันธ์ วัฒนธรรมปรับเปลี่ยน และ ความเต็มใจและใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติงาน และ (3) มีความแปรเปลี่ยนของพารามิเตอร์เมทริกซ์อิทธิพลของตัวแปรแฝง คือ อิทธิพลของคุณภาพชีวิตการทำงาน และ บรรยากาศองค์การ ที่มีต่อความผูกพันองค์การen_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630232035-Namngern Chantaramanee.pdf5.53 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.