Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77993
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพโรจน์ คงทวีศักดิ์-
dc.contributor.authorวิมล โคตรทุมมีen_US
dc.date.accessioned2023-06-11T08:29:32Z-
dc.date.available2023-06-11T08:29:32Z-
dc.date.issued2023-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77993-
dc.description.abstractThis thesis is a study of the Phu-Tai ethnicity in northeastern Thailand. It began with perceptions and ethnicity studies of Isaan, which showed that they are all Lao. In this way, the Lao identity emerged from global political and historical conflicts (or occurred from imperialism to the Cold War). This political dynamic shaped the formation of Lao-Isaan. Therefore, Isaan is considered a unity of ethnic identity that demonstrated great regional consciousness; however, regional identity became a barrier for an ambiguous Isaan ethnic identity in several ways. This study demonstrates the storytelling of other Isaan, which is of Phu-Tai Renunakhon ethnicity. They have a strong social dynamic and engage with other societies in a variety of situations. I used ethnicity and practice in everyday life concept to help me comprehend ethnic relationships in a wide range of ways. To illustrate ethnic actor diversity and tension between relationship and power polarity or social units that are full of ethnic circumstances. According to the study, the history of the Phu-Tai Renunakhon ethnicity differs from that of other northeastern ethnicities. They establish ethnic power by relying on Siamese royalty. The relationship between the governor of Phu-Tai and the King of Bangkok is not only one of conflict but also of good ethnicity that respects Siamese royalty. In this way, the Isaan political system is not united. Even though some Isaan groups resist the state, the minority of Phu-Tai integrates into governmental power to maintain their legitimacy or ethnic authority. However, the establishment of Phu-Tai ethnicity under state ideology based on the traditional localism notion demonstrates an ethnic representation including a macro-social structure that displays only beautiful ethnic cultures. While there is no political, gender, or class conflict. According to the findings of this fieldwork, there is not only internal political conflict, that is, the conflict between the center of Phu-Tai Renunakhon ethnicity and the Communist community on the periphery, but also cultural conflict. Meanwhile, the mainstream Isaan youth has a unilinear pattern based on a representation of rural Tai-Ban Isaan youth who resist modernity, whereas the Phu-Tai ethnic youth excellently shows the combination of local and modern culture. In this way, they are their youthful selves in terms of ethnicity in northeastern Thailand, indicating “otherness” from today's established image of Isaan teenagers. Similar to gender issues, it was discovered that the relationship between gays occurs under ethnic development for tourism. It is not only the negotiation of social space that has become the essential approach that has formed in Isaan society, but also gender conflicts that have arisen in the specific ethnic background, demonstrating the dependency on economic benefits. In this sense, an alternative gender not only completes the gender identity negotiation to make a sexuality viewpoint but also indicates the use of gender identity as a method for gaining advantages. Additionally, I discovered that “Isaan identity” is regarded as Lao ethnicity on a regional, political, and cultural level. It provides a socially holistic representation. The study of Phu-Tai Renunakhon ethnicity reflects different “views” of their Isaan ethnic identity, which have a range of actors, both collective and individual, as well as class, occupation, generation, and gender distinctions. It also depicts internal political conflict, cultural complexities, and the beneficial negotiation of alternative gender. As a result, Isaan does not have a Lao or similar ethnic identity. However, it is a multi-ethnic space, where there are political and cultural dynamics.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectPhu-Taien_US
dc.subjectEthnicityen_US
dc.subjectIsaanen_US
dc.titleการเมืองชาติพันธุ์ในชีวิตประจำวันของชาวผู้ไทเรณูในบริบทอีสานแบบภูมิภาคนิยมen_US
dc.title.alternativeThe ethnic politics in everyday life of Phu-Tai Renu in Isaan-regionalism contexten_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashชาติพันธุ์วิทยา -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)-
thailis.controlvocab.thashผู้ไท -- ความเป็นอยู่และประเพณี-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นงานศึกษาชาติพันธุ์ผู้ไทในภาคอีสาน ประเด็นปัญหาเริ่มต้นจากข้อสังเกตว่าด้วยความรับรู้และการศึกษาชาติพันธุ์ของคนอีสานที่มักมองว่าผู้คนภูมิภาคนี้เป็นคนชาติพันธุ์ลาวเหมือนกันทั้งหมด อัตลักษณ์แบบลาวอีสานโดยตัวมันเองเกิดขึ้นในช่วงความขัดแย้งของประวัติศาสตร์การเมืองโลกหรือตั้งแต่ยุคอาณานิคมต่อเนื่องจนถึงยุคสงครามเย็น พลวัตทางการเมืองเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีบทบาทในการก่อร่างสร้างความเป็นลาวอีสาน ชาวอีสานจึงมีภาพของความเป็นเอกภาพของอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ที่สะท้อนสำนึกของผู้คนแบบภูมิภาคนิยมสูง แต่ในด้านหนึ่งอัตลักษณ์ระดับภูมิภาคกลายเป็นปัญหานำมาสู่การบดบังอัตลักษณ์ชาติพันธุ์คนอีสานในแบบที่ต่างไป งานชิ้นนี้พยายามนำเสนอเรื่องราวของอัตลักษณ์ของผู้คนในภาคอีสานในแบบอื่น นั่นคือชาติพันธุ์ผู้ไทเรณูนคร ซึ่งเป็นหนึ่งในชาติพันธุ์ที่มีพลวัตทางสังคมสูงและมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมนอกชุมชนภายใต้บริบทสถานการณ์ต่าง ๆ แนวคิดการศึกษาจึงทำการประยุกต์การศึกษาชาติพันธุ์และการศึกษาปฏิบัติการในชีวิตประจำวันเป็นแนวทางการอธิบายความสัมพันธ์ของความเป็นชาติพันธุ์ในระนาบต่าง ๆ เพื่อชี้ให้เห็นความหลากหลายของผู้กระทำการชาติพันธุ์และประเด็นความขัดแย้งภายใต้ความสัมพันธ์กับขั้วอำนาจหรือหน่วยทางสังคมอื่นที่รายล้อมอยู่ในบริบทชาติพันธุ์ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ประวัติศาสตร์ของชาติพันธุ์ผู้ไทเรณูนครถือเป็นชาติพันธุ์ที่มียุทธวิธีทางการเมืองต่างจากชาติพันธุ์อื่นในภาคอีสาน ชาวผู้ไทเรณูนครสร้างฐานอำนาจชาติพันธุ์โดยการพึ่งพิงขั้วอำนาจราชสำนักสยาม ความสัมพันธ์ของเจ้าเมืองชาวผู้ไทเรณูนครกับเจ้ากรุงเทพฯ จึงไม่ใช่เรื่องของความขัดแย้ง หากแต่เป็นชาติพันธุ์ที่ภักดีและพร้อมสมยอมต่ออำนาจราชสำนักสยาม ในแง่นี้การเมืองอีสานจึงไม่ได้เป็นเอกภาพ ในขณะที่ชาวอีสานบางกลุ่มต่อต้านรัฐ ชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ผู้ไทเรณูนครกลับพยายามเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจรัฐเพื่อการสร้างความชอบธรรมหรือสร้างฐานอำนาจชาติพันธุ์ของตน อย่างไรก็ตาม การสร้างชาติพันธุ์และกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของชาวผู้ไทเรณูนคร ซึ่งวางอยู่บนฐานคิดแบบประเพณีท้องถิ่นนิยมภายใต้อุดมการณ์รัฐราชการเป็นผลให้ภาพแสดงแทนชาติพันธุ์ยึดโยงอยู่กับโครงสร้างทางสังคมแบบมหภาคที่เน้นนำเสนอความงดงามของประเพณีวัฒนธรรมชาติพันธุ์ ประเด็นความขัดแย้งทางการเมือง หรือความขัดแย้งชนชั้น วัย และเพศกลายเป็นสิ่งที่ถูกปิดบังไว้ การลงพื้นที่ภาคสนามทำให้เห็นว่า นอกเหนือจากประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองภายใน ซึ่งเป็นความขัดแย้งอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างศูนย์กลางชาติพันธุ์ผู้ไทเรณูนครกับหมู่บ้านคอมมิวนิสต์ชุมชนชายขอบชาติพันธุ์ ในด้านวัฒนธรรม ในขณะที่วัยรุ่นอีสานกระแสหลักพยายามจัดวางตัวเองในรูปแบบเชิงเดี่ยวภายใต้ภาพแทนการเป็นวัยรุ่นไทบ้านชนบทอีสานผู้อยู่ตรงข้ามความทันสมัย วัยรุ่นชาติพันธุ์ผู้ไทกลับสะท้อนการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมท้องถิ่นและวัฒนธรรมสมัยใหม่ได้อย่างมีสีสัน ในแง่นี้หนุ่มสาวชาวผู้ไทคือตัวตนวัยรุ่นระดับชาติพันธุ์ที่เปิดเผยให้เห็น ‘ความเป็นอื่น’ จากภาพตายตัวของวัยรุ่นอีสานที่กำลังถูกนำเสนออย่างเป็นล่ำเป็นสันในปัจจุบัน ทำนองเดียวกันกับเรื่องเพศ ความสัมพันธ์ระหว่างนายรำเกย์ที่อยู่ภายใต้การพัฒนาชาติพันธุ์เพื่อการท่องเที่ยวในด้านหนึ่งนอกจากจะชี้ให้เห็นกระบวนการต่อรองพื้นที่ทางสังคมซึ่งเป็นแนวทางหลักที่เกิดขึ้นกับการศึกษาเรื่องเพศในสังคมอีสาน แต่กรณีความขัดแย้งเรื่องเพศที่เกิดขึ้นภายใต้ความเฉพาะของบริบทชาติพันธุ์เพื่อการท่องเที่ยวยังสะท้อนการต่อรองในลักษณะการพึ่งพาเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอีกด้วย จากผลการศึกษา ทำให้ค้นพบนัยสำคัญว่าด้วยประเด็น ‘อัตลักษณ์อีสาน’ คนในภาคอีสานมักถูกมองในฐานะชาติพันธุ์ลาวระดับภูมิภาค การเมืองและวัฒนธรรมอีสานจึงเป็นภาพแทนแบบองค์รวมที่มีเอกภาพทางสังคม การศึกษาชาติพันธุ์ผู้ไทเรณูนครชี้ให้เห็น ‘ภาพ’ อีกด้านของความเป็นอีสานที่มีความหลากหลายของตัวผู้กระทำการ ทั้งในระดับกลุ่มก้อน ระดับปัจเจก และมีความแตกต่างทางชนชั้น อาชีพ วัย และเพศ อีกทั้งสะท้อนความขัดแย้งทางการเมืองภายใน ความซับซ้อนเรื่องวัฒนธรรม และการต่อรองผลประโยชน์ระหว่างเพศทางเลือกกับเพศกระแสหลัก ฉะนั้น ความเป็นอีสานจึงไม่ใช่ความเป็นลาวหรือความเป็นชาติพันธุ์ที่มีอัตลักษณ์แบบเดียวกันของผู้คน หากแต่ความเป็นอีสานคือพื้นที่พหุชาติพันธุ์ และมีพลวัตทางสังคมการเมืองและทางวัฒนธรรมที่ปฏิสัมพันธ์กันอยู่en_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620431015-วิมล โคตรทุมมี.pdf7.21 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.