Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77982
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกียรติสุดา ศรีสุข-
dc.contributor.authorบัววรรณ ลูชาen_US
dc.date.accessioned2023-06-09T00:54:29Z-
dc.date.available2023-06-09T00:54:29Z-
dc.date.issued2023-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77982-
dc.description.abstractThis research is an evaluative study based on the Kirkpatrick Evaluation Concept. The objectives of the research are: (1) To establish and develop a framework for evaluating in Training Project to Enhance Instructional Design Competency for Pedagogy Advisors and Secondary Teachers in the 21st Century based on the Kirkpatrick Evaluation Concept; (2) To evaluate the interaction of trainees participated in Training Project to Enhance Instructional Design Competency for Pedagogy Advisors and Secondary Teachers in the 21st Century; (3) To evaluate the learning of trainees participated in Training Project to Enhance Instructional Design Competency for Pedagogy Advisors and Secondary Teachers in the 21st Century; (4) To evaluate the behavior of trainees participated in Training Project to Enhance Instructional Design Competency for Pedagogy Advisors and Secondary Teachers in the 21st Century and; (5) To evaluate the performance of trainees participated in Training Project to Enhance Instructional Design Competency for Pedagogy Advisors and Secondary Teachers in the 21st Century. The sample of the research were the trainees who participated in Training Project to Enhance Instructional Design Competency for Pedagogy Advisors and Secondary Teachers in the 21st Century. Initially, the researcher sent the questionnaire to all 396 trainees, and 354 responded. So, it was considered a sample group in the research. And the samples who received the results from the training were: students, teachers' peers, academic division of schools, school administrators and the chief of pedagogical advisors included 4.528 person(s) from all 18 provinces of Laos which were obtained using a purposive selection method (Purposive sampling). The statistics used are the Index of Item Objective Congruence, Cronbach’s Alpha Coefficient, percentage, mean, and standard deviation evaluation criteria is a comparison of the mean with the criterion of the mean greater than or equal to 3.50 on the 5-level of the Likert scale. The results of the research found that 1. The results of creating and developing a framework for evaluating the Training Project to Enhance Instructional Design Competency for Pedagogy Advisors and Secondary Teachers in the 21st Century based on the Kirkpatrick Evaluation Concept provide the assessment framework that can be assessed in the context of the project. The assessment framework consists of 4 elements as follows: The reaction aspect consists of 7 indicators for assessment, the Learning aspect consists of 3 indicators, the Behavioral aspect consists of 8 indicators for assessment, and the Results aspect consists of 7 indicators for assessment. 2 Reaction aspect: There is an assessment issue to satisfy with the project, which consists of 7 indicators for assessment, namely the satisfaction in terms of content, trainers, venue, atmosphere, materials and equipment, duration, and operation conducted by the officers who are responsible for the training. It found that the results of the evaluation passed all specified criteria with an average of 4.22 3. Learning aspect: The evaluation of the learning of trainees participated in Training Project to Enhance Instructional Design Competency for Pedagogy Advisors and Secondary Teachers in the 21st Century by evaluating the competencies of trainees before and after the training in terms of knowledge, skills, and attitudes, the overall evaluation results after the training found that the results of the assessment passed all specified criteria with an average of 4.31 for knowledge, the results of the assessment passed all specified criteria with an average of 4.31 for skills and the results of the assessment passed all specified criteria with an average of 4.33 for attitudes. 4. Behavioral aspect: The evaluation of the trainees' behavior from the application of knowledge to the design of teaching and learning in the actual classroom, the overall results of the assessment passed all specified criteria with an average of 4.11 5. Results aspect: the evaluation of the benefits appearing to the trainees, schools and learners from applying the knowledge to the design of the trainees' teaching and learning, the overall of six groups such as 1). Trainees found that the results of the assessment passed all specified criteria with an average of 4.25, 2). Students found that the results of the assessment passed all specified criteria with an average of 3.81, 3). Teachers' peers found that the results of the assessment passed all specified criteria with an average of 4.22, 4). Academic division of schools found that the results of the assessment passed all specified criteria with an average of 4.19, 5). school administrators found that the results of the assessment passed all specified criteria with an average of 4.14, 6). the chief of pedagogical advisors found that the results of the assessment passed all specified criteria with an average of 4.34.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectรูปแบบการประเมิน เสริมสร้างสมรรถนะ ศึกษานิเทศก์ รูปแบบการประเมิน ครูมัธยมศึกษาen_US
dc.titleรูปแบบการประเมินของเคิร์กแพทริก: กรณีศึกษาการประเมินโครงการฝึกอบรมการเสริมสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนการสอน ของครูศึกษานิเทศก์และครูมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวen_US
dc.title.alternativeKirkpatrick evaluation model: A Case study on the evaluation of training project to enhance instructional design competency for pedagogy advisors and secondary teachers in the 21st century, Lao People's Democratic Republicen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashครู -- ลาว-
thailis.controlvocab.thashครู -- การประเมิน -- ลาว-
thailis.controlvocab.thashครู -- การฝึกอบรม -- ลาว-
thailis.controlvocab.thashกิจกรรมการเรียนการสอน -- ลาว-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ (1) สร้างและพัฒนากรอบในการประเมินโครงการฝึกอบรมการเสริมสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนการสอนของครูศึกษานิเทศก์และครูสอนมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามรูปแบบการประเมินของเคิร์กแพทริค (2) เพื่อประเมินปฏิกิริยาของ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมตามโครงการฝึกอบรมการเสริมสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนการสอนของครูศึกษานิเทศก์และครูสอนมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 (3) เพื่อประเมินการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมตามโครงการฝึกอบรมการเสริมสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนการสอนของครูศึกษานิเทศก์และครูสอนมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 (4) เพื่อประเมินพฤติกรรมของผู้เข้ารับฝึกอบรมตามโครงการฝึกอบรมการเสริมสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนการสอนของครูศึกษานิเทศก์และครูสอนมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 และ(5) เพื่อประเมินผลลัพธ์ของผู้เข้ารับฝึกอบรมตามโครงการฝึกอบรมการเสริมสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนการสอนของครูศึกษานิเทศก์และครูสอนมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการทำวิจัยเป็นกลุ่มผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมตามโครงการฝึกอบรมการเสริมสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนการสอนของศึกษานิเทศก์และ ครูสอนระดับมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นครูศึกษานิเทศก์ และครูสอนระดับมัธยมศึกษาจาก ทั่วประเทศในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปให้ผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมทุกคนจำนวน 396 คน และได้ตอบกลับคืนมา จำนวน 354 คนจึงถือเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย และกลุ่มผู้ที่ได้รับผลจากการฝึกอบรมตามโครงการฝึกอบรมการเสริมสร้างสมรรถนะ การออกแบบการเรียนการสอนของศึกษานิเทศก์และครูสอนระดับมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ 1) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ม4 และตอนปลาย ม5 ม6 และ ม7 2) เพื่อนครูหรือหัวหน้างานวิชาสอน 3) หน่วยงานวิชาการโรงเรียน 4) ผู้บริหารโรงเรียน และ5) หัวหน้าศึกษานิเทศก์ทั้ง 18 จังหวัดทั่วประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 4.528 คน สำหรับสถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (Index of Item Objective Congruence: IOC) ค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s Alpha Coefficient) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และใช้เกณฑ์การตัดสินผลการผ่านการประเมินโดยต้องมีค่าเฉลี่ยมากกว่า 3.50 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการสร้าง และพัฒนากรอบในการประเมินโครงการฝึกอบรมการเสริมสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนการสอนของศึกษานิเทศก์และครูสอนระดับมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามรูปแบบการประเมินของเคิร์กแพทริค (Kirkpatrick) ได้กรอบการประเมินที่สามารถนำไปประเมินตามบริบทของโครงการ โดยในกรอบการประเมินประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้ การประเมินปฏิกิริยา ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ในการประเมิน 7 ตัวบ่งชี้ การประเมินการเรียนรู้ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ในการประเมิน 3 ตัวบ่งชี้ การประเมินพฤติกรรม ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ในการประเมิน 8 ตัวบ่งชี้ การประเมินผลลัพธ์ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ในการประเมิน 7 ตัวบ่งชี้ 2. ผลการประเมินปฏิกิริยา โดยภาพรวมทั้ง 7 ด้าน คือ ความพึงพอในด้านเนื้อหา ความ พึงพอใจด้านวิทยากร ความเหมาะสมด้านสถานที่ ความเหมาะสมด้านบรรยากาศ ความเหมาะสมด้านวัสดุ อุปกรณ์ ความเหมาะสมด้านระยะเวลา และความเหมาะสมด้านการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่รับผิดชอบการฝึกอบรม พบว่า มีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทั้งหมด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 3. ผลการประเมินด้านการเรียนรู้ ในสมรรถนะการออกแบบการเรียนการสอนของผู้เข้ารับการฝึกอบรมก่อนและหลังการฝึกอบรม โดยภาพรวมทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านเจตคติ พบว่า หลังการฝึกอบรมด้านความรู้ มีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 ด้านทักษะ มีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 และด้านเจตคติ มีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 4. ผลการประเมินด้านพฤติกรรม ในทักษะการปฏิบัติของผู้เข้าฝึกอบรมที่ได้รับจากการฝึกอบรมนำมาประยุกต์ใช้การออกแบบการเรียนการสอน โดยภาพรวม พบว่า มีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 5. ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ ในประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อผู้เข้าฝึกอบรม ประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อโรงเรียน และประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อผู้เรียนจากการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอน โดยภาพรวมทั้ง 6 กลุ่ม คือ 1) ผู้เข้าฝึกอบรม พบว่า มีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 2) ผู้เรียน พบว่า มีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.81 3) เพื่อนครู/หัวหน้างาน พบว่า มีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 4) หน่วยงานวิชาการโรงเรียน พบว่า มีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 5) ผู้บริหารโรงเรียน พบว่า มีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 และ 6) หัวหน้าศึกษานิเทศก์ พบว่า มีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31en_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620231001 บัววรรณ ลูชา.pdf19.42 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.