Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77901
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุมนา จิตติเดชารักษ์ | - |
dc.contributor.author | วรรษมน ต่อไพบูลย์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-12-06T10:35:46Z | - |
dc.date.available | 2022-12-06T10:35:46Z | - |
dc.date.issued | 2022-11 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77901 | - |
dc.description.abstract | Objective: To investigate the influence of saliva contamination and different decontamination methods on microtensile bond strength (µTBS) between resin-resin interfaces. Methods: Fifty-four light-cured rectangular Filtek™ Z350XT resin composite shade A4 blocks were randomly divided into nine groups; G1 (control) was not contaminated, G2-G9 were contaminated saliva followed by various decontamination methods. G2 air drying, G3 rinsing and drying, G4 rinsing, drying, etching with 37% phosphoric acid, rinsing and drying, G5 drying, application of Clearfil™ SE Bond, G6 rinsing and drying, application of Clearfil™ SE Bond, G7 drying, application of Clearfil S3 Bond Universal, G8 rinsing, drying, application of Clearfil S3 Bond Universal and G9 rinsing and drying, etching with 37% phosphoric acid, application of Clearfil S3 Bond Universal. After the decontamination process, specimens were bonded with Filtek™ Z350XT resin composite shade A1. After water storage for 24 hours (37°C), all blocks were sectioned into beam configuration with a cross-sectional area of approximately 1 mm2. Specimens in the etch group were divided into two subgroups (N=15). Microtensile bond strength test and failure mode analysis were conducted immediately after water storage for subgroup A and after 10,000 thermocycling for subgroup B. All data were analyzed using the two-way ANOVA and followed by Dunnett’s T3 multiple comparison test (p<0.05). Results: The saliva contamination of resin-resin interfaces exhibited effects on µTBS. Both before and after aging, the control group showed a significantly higher µTBS than other groups that were contaminated by saliva. Among the contaminated saliva groups, the group which was decontaminated by etching with 37% phosphoric acid (G3) showed the highest µTBS. While the µTBS of all Clearfil™ SE Bond and Clearfil™ S3 Bond Universal (G5-G9) showed lesser µTBS than the groups that were decontaminated without using adhesive. Conclusion: When saliva was contaminated between resin-resin interface, the decontamination process through rinsing, drying, and etching with 37% phosphoric acid for 15 seconds provided the highest µTBS, both before and after thermocycling 10,000 cycles. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | เรซินคอมโพสิต | en_US |
dc.subject | การลดการปนเปื้อนน้ำลาย | en_US |
dc.subject | รอยต่อระหว่างชั้นวัสดุอุดเรซินคอมโพสิต | en_US |
dc.title | ความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคของรอยต่อระหว่างชั้นวัสดุอุดเรซินคอมโพสิตภายใต้วิธีการลดการปนเปื้อนน้ำลาย | en_US |
dc.title.alternative | Microtensile Bond Strength of resin-resin interfaces under saliva decontamination methods | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | เรซินอะคริลิกทางทันตกรรม | - |
thailis.controlvocab.thash | ทันตกรรม | - |
thailis.controlvocab.thash | เรซินอะคริลิก | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการลดการปนเปื้อนด้วยวิธีต่าง ๆ ที่บริเวณรอยต่อระหว่างชั้นวัสดุอุดเรซินคอมโพสิตที่ผ่านการปนเปื้อนน้ำลายต่อค่าความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาค ร่วมกับการทำเทอร์โมไซคลิง วิธีการวิจัย ชิ้นทดสอบเรซินคอมโพสิต ฟิลเทกแซด 350 เอกซ์ที สีเอสี่ รูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีพื้นที่หน้าตัดขนาด 1.5x10.0 ตารางมิลลิเมตร จำนวน 54 ชิ้น แบ่งชิ้นทดสอบออกเป็น 9 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ไม่ได้รับการปนเปื้อนด้วยน้ำลายเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2-9 นำไปผ่านการปนเปื้อนด้วยน้ำลาย จากนั้นนำไปลดการปนเปื้อนด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มที่ 2 เป่าลมให้แห้ง กลุ่มที่ 3 ล้างน้ำ แล้วเป่าลมให้แห้ง กลุ่มที่ 4 ล้างน้ำ แล้วเป่าลมให้แห้ง หลังจากนั้นกัดด้วยกรดฟอสฟอริกความเข้มข้นร้อยละ 37 เป็นเวลา 15 วินาที ล้างน้ำแล้วเป่าลมให้แห้ง กลุ่มที่ 5 เป่าลมให้แห้ง ร่วมกับการเตรียมผิวด้วยสารยึดติดระบบเซลฟ์เอชสองขั้นตอน เคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ กลุ่มที่ 6 ล้างน้ำ แล้วเป่าลมให้แห้ง ร่วมกับการเตรียมผิวด้วยเคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ กลุ่มที่ 7 เป่าลมให้แห้ง ร่วมกับการเตรียมผิวด้วยสารยึดติดชนิดยูนิเวอร์แซล เคลียร์ฟิลไตรเอสบอนด์ยูนิเวอร์แซล กลุ่มที่ 8 ล้างน้ำ แล้วเป่าลมให้แห้ง ร่วมกับการเตรียมผิวด้วยเคลียร์ฟิลไตรเอสบอนด์ยูนิเวอร์แซล กลุ่มที่ 9 ล้างน้ำ แล้วเป่าลมให้แห้ง ร่วมกับการกัดด้วยกรดฟอสฟอริกเข้มข้นร้อยละ 37 แล้วเตรียมผิวด้วยเคลียร์ฟิลไตรเอสบอนด์ยูนิเวอร์แซล จากนั้นนำชิ้นงานมาทำการอุดต่อด้วยวัสดุอุดเรซินคอมโพสิต ฟิลเทกแซด 350 เอกซ์ที สีเอหนึ่ง นำไปแช่ในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วนำไปตัด ได้ชิ้นทดสอบรูปแท่งที่มีพื้นที่หน้าตัด 1 ตารางมิลลิเมตร จำนวนกลุ่มละ 30 ชิ้น แบ่งชิ้นทดสอบแต่ละกลุ่มเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้ชิ้นทดสอบกลุ่มละ 15 ชิ้น กลุ่มแรกนำไปแช่ในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ส่วนอีกกลุ่มนำไปผ่านการทำเทอโมไซคลิ่งจำนวน 10,000 รอบ นำทั้งสองกลุ่มมาทดสอบหาค่าความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาค ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง และเปรียบเทียบเชิงซ้อนด้วยสถิติดันเนทท์ทีสาม ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา การปนเปื้อนน้ำลายบริเวณรอยต่อระหว่างชั้นวัสดุอุดเรซินคอมโพสิตส่งผลต่อค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาค กลุ่มทดลองที่ไม่ผ่านการปนเปื้อนน้ำลายมีค่าสูงกว่ากลุ่มทดลองที่ผ่านการปนเปื้อนน้ำลายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ทั้งก่อนและหลังการทำเทอร์โมไซคลิง 10,000 รอบ ในกลุ่มทดลองที่ผ่านการปนเปื้อนน้ำลาย กลุ่มที่ได้รับการลดการปนเปื้อนน้ำลายด้วยวิธีการกัดด้วยกรดฟอสฟอริกเข้มข้นร้อยละ 37 มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคสูงที่สุด ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับการทาสารยึดติดทั้งเคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ และเคลียร์ฟิลไตรเอสบอนด์ยูนิเวอร์แซลมีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการทาสารยึดติดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการศึกษา เมื่อเกิดการปนเปื้อนน้ำลายบริเวณรอยต่อระหว่างชั้นวัสดุอุดเรซินคอมโพสิต การลดการปนเปื้อนด้วยวิธีการล้างด้วยน้ำแล้วกัดด้วยกรดฟอสฟอริกเข้มข้นร้อยละ 37 เป็นเวลา 15 วินาที ให้ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคสูงที่สุด ทั้งก่อนและหลังการเทอร์โมไซคลิง 10,000 รอบ | en_US |
Appears in Collections: | DENT: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620931033-วรรษมน ต่อไพบูลย์.pdf | 3.29 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.