Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77889
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรัญญา กันตะบุตร-
dc.contributor.authorเอื้อมพร สุขโกษาen_US
dc.date.accessioned2022-11-21T10:40:39Z-
dc.date.available2022-11-21T10:40:39Z-
dc.date.issued2022-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77889-
dc.description.abstractThe purpose of this independent study was to study the purchasing behavior towards facial care products of generation Y Thai women via Electronics Marketplace. The sample was selected from Thai women who were born between 1980-2000 and used to purchase facial care products via Electronics Marketplace within the past 6 months. The data was collected using online questionnaires from 385 people, then they were analyzed using descriptive statistics including frequency, percentage, mean and inferential statistics such as one-way ANOVA. The results of the study showed that most of the respondents were 20-25 years old, single and had a Bachelor's degree. They had been working as employees of private companies, moreover, their monthly income did not exceed 15,000 baht. The results of the study on purchasing behavior towards facial care products found that most of the respondents bought moisturizing products and imported products from South Korea. They bought the products for themselves, also made their own purchase decisions. They would buy the products when the original items were nearly used up, the frequency was less than twice a month. The most popular purchase time was 6:00-9:00 PM on Monday to Friday. The cost of each purchase was 501-1,000 baht, which usually paid by Mobile Banking. Shopee was the Electronics Marketplace where they most often bought the products, because their price was cheaper than the others. Furthermore, consumers’ reviews on websites or social media were used to make a purchase decision. And when the purchase satisfied them, they would rate the shops. The results of the study on online marketing mix that affect the purchase decision towards facial care products found that the most influential factor was Price, the highest sub-factor was clear display of price tags. Followed by Privacy, the highest sub-factor was having a clear customers’ data security policy. Place, the highest sub-factor was an easy-to-use website or application. Product, the highest sub-factor was standardized certified products. Promotion, the highest sub-factor was having a variety of promotions. And lastly was Personalization, the highest sub-factor was filtering of interested products. Comparing the influence of online marketing mix found that there were differences in some sub-factors in terms of Product and Price when classified by age. In addition, There were differences in some sub-factors in terms of Product Place and Promotion when classified by monthly income.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectพฤติกรรมการซื้อen_US
dc.subjectผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าen_US
dc.subjectผู้หญิงเจเนอเรชันวายen_US
dc.subjectตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์en_US
dc.subjectส่วนประสมการตลาดออนไลน์en_US
dc.titleพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของผู้หญิงชาวไทยเจเนอเรชันวายทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์en_US
dc.title.alternativeBehavior of generation Y Thai women towards purchasing facial care products via electronic marketplaceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์-
thailis.controlvocab.thashการตลาดอินเตอร์เน็ต-
thailis.controlvocab.thashความพอใจของผู้บริโภค-
thailis.controlvocab.thashเจนเนอเรชันวาย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของผู้หญิงชาวไทยเจเนอเรชันวายทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้หญิงไทยที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2523-2543 และเคยมีประสบการณ์ในการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภายในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุ 20-25 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 15,000 บาท ผลการศึกษาพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้ากลุ่มช่วยให้ความชุ่มชื้น และผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากเกาหลีใต้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการซื้อเพื่อใช้เอง ตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง โดยจะซื้อเมื่อของเดิมหมดหรือใกล้หมด นิยมซื้อในช่วงวันจันทร์-ศุกร์ ช่วงเวลา 18.00-21.00 น. มีความถี่ในการซื้อน้อยกว่า 2 ครั้งต่อเดือน มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการซื้อต่อครั้ง 501-1,000 บาท ช่องทางการชำระเงินที่ใช้มากที่สุดคือแอปพลิเคชันของธนาคาร ตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าบ่อยที่สุดคือ Shopee เนื่องจากราคาสินค้าถูกกว่าช่องทางอื่น ข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อคือรีวิวจากผู้เคยใช้ผลิตภัณฑ์บนเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์ของคนทั่วไป และเมื่อเกิดความพึงพอใจในการซื้อจะกดให้คะแนนสินค้าและร้านค้า ผลการศึกษาส่วนประสมการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า ส่วนประสมการตลาดออนไลน์ที่มีผลมากที่สุดคือ ด้านราคา ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือมีการแสดงราคาสินค้าชัดเจน รองลงมาคือ ด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าบนเว็บไซต์อย่างชัดเจน ด้านการจัดจำหน่าย ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันใช้งานง่าย สะดวกรวดเร็วต่อการค้นหาและการสั่งซื้อสินค้า ด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์กรที่น่าเชื่อถือ ด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือมีการจัดโปรโมชันที่หลากหลาย และด้านการให้บริการแบบเจาะจง ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือสามารถเลือกการแสดงผลสินค้าตามหมวดหมู่ที่สนใจได้ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระดับการมีผลของส่วนประสมการตลาดออนไลน์จำแนกตามอายุพบว่า มีความแตกต่างกันในบางปัจจัยย่อย ด้านผลิตภัณฑ์และด้านราคา เมื่อจำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือนพบว่า มีความแตกต่างกันในบางปัจจัยย่อย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาดen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611532120-เอื้อมพร สุขโกษา.pdf4.27 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.