Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77878
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศันศนีย์ คำบุญชู | - |
dc.contributor.author | วราลี หอมนาน | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-11-19T06:17:02Z | - |
dc.date.available | 2022-11-19T06:17:02Z | - |
dc.date.issued | 2022-10 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77878 | - |
dc.description.abstract | This research aims to improve the dyeing and functional properties of cotton fabrics dyed with bastard teak flowers using bio-mordant and fiber treatment agent. Oolong tea extract and β-cyclodextrin were used as bio-mordant and fiber treatment agent, respectively. The effects of bio-mordant and fiber treatment agent in dyeing with bastard teak flowers using exhaustion dyeing and pad batch dyeing methods on dye exhaustion, color strength, color coordinates, chemical properties, morphology, color fastness to washing and light, UV protection properties, and antibacterial property were examined. The results showed that the exhaustion dyeing method using oolong tea extract as bio-mordant gave a color strength of 2.85, color fastness to wash at level 3 (moderate), and color fastness to light at level 4-5 (fair-good), which is at the acceptable level of Thai community product standard. The results were similar to those using metal mordants. Therefore, oolong tea extract may be the better alternative to conventional metal mordant. In addition, fiber pretreatment with 5%owf β-cyclodextrin and using the pad batch dyeing method gave a maximum color strength of 7.77 and good color fastness properties. SEM studies revealed the surface modification and the presence of layers on the cotton fabric, which might be β-cyclodextrin, bio-mordant, and dyes moiety. The UV protection properties of cotton fabrics had been markedly enhanced as compared to the neat cotton fabrics when using oolong tea as a bio-mordant and β-cyclodextrin as a fiber treatment agent. They revealed an excellent protection category. However, they did not show antibacterial properties. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การปรับปรุงสมบัติการย้อมและสมบัติเชิงหน้าที่ของผ้าฝ้ายย้อมสีด้วยดอกทองกวาวโดยใช้มอร์แดนท์ชีวภาพและสารปรับสภาพเส้นใย | en_US |
dc.title.alternative | Improvement of dyeing and functional properties of cotton fabrics dyed with bastard teak flowers using Bio-mordant and fiber treatment agent | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ผ้าฝ้าย | - |
thailis.controlvocab.thash | สีย้อมและการย้อมสี -- ฝ้าย | - |
thailis.controlvocab.thash | มอร์แดนท์ชีวภาพ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสมบัติการย้อมและสมบัติเชิงหน้าที่ของผ้าฝ้ายย้อมสีด้วยดอกทองกวาวโดยใช้มอร์แดนท์ชีวภาพและสารปรับสภาพเส้นใย มอร์แดนท์ชีวภาพที่ศึกษาคือสารสกัดจากชาอู่หลง และสารปรับสภาพเส้นใยคือเบต้าไซโคลเดกซ์ตริน ได้ศึกษาผลของการใช้มอร์แดนท์ชีวภาพและสารปรับสภาพเส้นใยในการย้อมผ้าฝ้ายด้วยน้ำย้อมดอกทองกวาวที่ย้อมวิธีการย้อมแบบดูดซึมและการย้อมแบบจุ่มอัดสีต่อค่าการดูดซึมสี ค่าความเข้มสี ค่าองค์ประกอบสี สมบัติทางเคมี สัณฐานวิทยา ความคงทนของสีต่อการซักและแสง สมบัติการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต และสมบัติการต้านทานแบคทีเรีย ผลการทดลองพบว่าการย้อมแบบดูดซึมโดยใช้มอร์แดนท์ชีวภาพจากชาอู่หลงให้ค่าความเข้มสี 2.85 มีความคงทนของสีต่อการซักในระดับ 3 (ปานกลาง) และมีความคงทนของสีต่อแสงในระดับ 4-5 (ค่อนข้างดี-ดี) อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งให้ผลใกล้เคียงกับการใช้มอร์แดนท์โลหะจากเหล็กและอะลูมิเนียม ดังนั้นสารสกัดจากชาอู่หลงจึงเป็นอีกหนึ่งในทางเลือกทดแทนการใช้มอร์แดนท์โลหะ นอกจากนี้การปรับสภาพเส้นใยด้วยเบต้าไซโคลเด็กซ์ตริน 5%owf โดยใช้วิธีการย้อมแบบจุ่มอัดสี จะให้ค่าความเข้มสีสูงสุดที่ 7.77 และมีสมบัติความคงทนของสีที่ดี ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดแสดงให้เห็นว่ามีสารเคลือบอยู่บนเส้นใยซึ่งอาจเป็นเบต้าไซโคลเดกซ์ตริน มอร์แดนท์ชีวภาพ และสีย้อม การใช้มอร์แดนท์ชีวภาพจากชาอู่หลงและการปรับสภาพพื้นผิวของผ้าฝ้ายด้วยเบต้าไซโคลเดกซ์ตริน จะสามารถเพิ่มสมบัติการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้ โดยมีค่าการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตอยู่ในระดับดีเยี่ยม แต่ไม่แสดงสมบัติการต้านทานแบคทีเรีย | en_US |
Appears in Collections: | SCIENCE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620531071-วราลี หอมนาน.pdf | 4.64 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.