Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77869
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัตนาภรณ์ อาวิพันธ์-
dc.contributor.authorวนิดา ขนาดนิดen_US
dc.date.accessioned2022-11-19T03:14:51Z-
dc.date.available2022-11-19T03:14:51Z-
dc.date.issued2022-10-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77869-
dc.description.abstractThis research objectives 1) to study adaptation and the factors that predict the adaptation of pharmacists who have experience using pharmaceutical robots, and 2) to study beliefs and attitudes towards the use of robots and the factors that predict beliefs and attitudes towards the adoption of robots among pharmacists with non-experience in using pharmaceutical robots. The study model was a cross-sectional analysis. Five hundred and seventy-five questionnaires were used to survey data from pharmacists who work in the hospitals under the Ministry of Public Health with experience and non-experience in using pharmaceutical robots. The data were collected during May – June 2021 with 283 sets of responses. Results: In the sample group with experience in using robots, 59 people, mostly female (85%), with working experience of fewer than 20 years (56%), graduated with a bachelor's degree (68%) and working in the outpatient dispensary department (51%). The average score of overall adaptation was moderate (3.49 - 3.82 out of 5). The Self-concept mode was the highest (mean score 3.82), followed by the Role Function mode, Physiologic mode, and Interdependence mode, respectively. Among this group, the tablet counter machine was the most used, followed by the unit dose packaging machine and automatic dispensing machine, accounting for 60.3%, 31%, and 24.1% respectively. Moreover, other types of robots have been used in some hospitals such as drug delivery robots and automatic drug mixers, meanwhile more than one type of robot has been used. Mostly robots were used in the Inpatient dispensary department, followed by the outpatient dispensary department, and drug production department, respectively. In the sample group with non-experience in robot use, 224 people mostly were female (77%), had working experience fewer than 20 years (68%), graduated with a bachelor's degree (78%), and working in the outpatient dispensary department (46%). The average score of belief about the impact of using robots on professional self-concept was the highest, followed by beliefs about the effect of robotics on physical balance, pharmacists' attitudes towards roles and duties, and beliefs about the implementation of pharmaceutical robots, respectively (3.58 – 3.94 out of 5). Most of this group expected to use tablet counter, followed by the unit dose packaging machine, automatic dispensing machine, automatic injection mixer, and parenteral nutrition mixer accounting for 69.4%, 47.3%, 24.8%, and 10.4% respectively. It was found that other types of robots may also be used, such as chemotherapy drug mixers and powder dispensers and in some hospitals. It is expected that more than one type of robot will be used at the time. As for the job characteristics expected the most to use the robot was the in-patient dispensary department, followed by the out-patient dispensary department and drug manufacturing department, respectively. In the group with experience using robots, only digital literacy was able to predict the sample's adaptation with a statistically significant. The adaptation was predicted by 25.8%.In the group with non-experience using robots, digital literacy and pharmaceutical competencies were able to predict their beliefs and attitudes towards the adoption of robots with statistically significant and can jointly predict beliefs and attitudes towards the adoption of robots by 24.8 %. This study shows that Digital literacy and pharmaceutical competencies can affect adaptation and beliefs and attitudes towards the adoption of robots. If pharmacists are supported with these skills, they could be ready for the technologies for hospital pharmacy.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการปรับตัวของเภสัชกรโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขต่อการนำหุ่นยนต์ทางเภสัชกรรมมาใช้en_US
dc.title.alternativeAdaptation of pharmacists in hospital under the Ministry of Public Health towards the implementation of pharmaceutical robotsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเภสัชกร-
thailis.controlvocab.thashหุ่นยนต์-
thailis.controlvocab.thashวิทยาการหุ่นยนต์ทางการแพทย์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการปรับตัว และปัจจัยทำนายการปรับตัวของเภสัชกรที่มีประสบการณ์ใช้หุ่นยนต์ทางเภสัชกรรม และ 2) เพื่อศึกษาความเชื่อและทัศนคติต่อการนำหุ่นยนต์มาใช้ และปัจจัยทำนายความเชื่อและทัศนคติต่อการนำหุ่นยนต์มาใช้ของเภสัชกรที่ไม่มีประสบการณ์ใช้หุ่นยนต์ทางเภสัชกรรม รูปแบบการศึกษาเป็นเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง ใช้แบบสอบถามจำนวน 575 ชุด ในการสำรวจข้อมูลจากเภสัชกร ซึ่งปฏิบัติงานในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มที่มีประสบการณ์ใช้หุ่นยนต์ และกลุ่มที่ไม่มีประสบการณ์ใช้หุ่นยนต์ เก็บข้อมูลในช่วง พฤษภาคม – มิถุนายน 2564 และได้รับตอบกลับจำนวน 283 ชุด ผลการศึกษา : ในกลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์ใช้หุ่นยนต์ จำนวน 59 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 85) อายุราชการต่ำกว่า 20 ปี (ร้อยละ 56), จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 68) และปฏิบัติงานในแผนกห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก (ร้อยละ 51) คะแนนเฉลี่ยของการปรับตัวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (คะแนน 3.49 – 3.82 จากคะแนนเต็ม 5) โดยมีการปรับตัวด้านอัตมโนทัศน์ สูงที่สุด (คะแนนเฉลี่ย3.82) รองลงมา ได้แก่ ด้านบทบาทหน้าที่, ด้านร่างกาย และด้านการพึ่งพาอาศัย ตามลำดับ ในกลุ่มนี้พบว่ามีการใช้หุ่นยนต์ประเภทเครื่องนับเม็ดยามากที่สุด รองลงมาคือ เครื่องจัดยาเฉพาะมื้อ และ เครื่องจ่ายยาอัตโนมัติ คิดเป็นร้อยละ 60.3, 31 และ 24.1 ตามลำดับ นอกจากนี้ พบว่าโรงพยาบาลบางแห่ง มีการนำหุ่นยนต์ประเภทอื่นมาใช้ เช่น หุ่นยนต์ขนส่งยา และ เครื่องผสมยาฉีดอัตโนมัติ และ มีการนำหุ่นยนต์มาใช้มากกว่า 1 ประเภท ส่วนลักษณะงานที่นำหุ่นยนต์มาใช้ พบว่า มีการนำหุ่นยนต์ไปใช้ในงานห้องจ่ายยาผู้ป่วยในมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ งานห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก และงานผลิตยา ตามลำดับ ในกลุ่มตัวอย่างที่ยังไม่มีประสบการณ์ใช้หุ่นยนต์ จำนวน 224 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 77), อายุราชการต่ำกว่า 20 ปี (ร้อยละ 68), จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 78) และปฏิบัติงานในแผนกห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก (ร้อยละ46) คะแนนเฉลี่ยเรื่องความเชื่อเรื่องผลกระทบของการใช้หุ่นยนต์ต่ออัตมโนทัศน์ของวิชาชีพ สูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ความเชื่อเรื่องผลของการนำหุ่นยนต์มาใช้กับการรักษาสมดุลทางร่างกาย, ทัศนคติต่อบทบาทหน้าที่ของเภสัชกรและความเชื่อเรื่องการเตรียมความพร้อมในการใช้หุ่นยนต์ ตามลำดับ (คะแนน 3.58 – 3.94 จากคะแนนเต็ม 5) กลุ่มตัวอย่างกลุ่มนี้คาดว่าจะมีการนำหุ่นยนต์ประเภทเครื่องนับเม็ดยามาใช้มากที่สุด รองลงมาคือ เครื่องจัดยาเฉพาะมื้อ, เครื่องจ่ายยาอัตโนมัติ, เครื่องผสมยาฉีดอัตโนมัติ และ เครื่องผสมสารอาหารทางหลอดเลือดดำ คิดเป็น ร้อยละ 69.4, 47.3, 24.8 และ 10.4 ตามลำดับ นอกจากนี้ พบว่าอาจจะมีการนำหุ่นยนต์ประเภทอื่นๆ มาใช้ด้วย ได้แก่ เครื่องผสมยาเคมีบำบัด และ เครื่องแบ่งผงยาเป็นซอง และบางแห่งคาดว่าจะมีการนำหุ่นยนต์มาใช้มากกว่า 1 ประเภท อีกด้วย ส่วนลักษณะงานที่คาดว่าจะนำหุ่นยนต์มาใช้ ได้แก่ งานห้องจ่ายยาผู้ป่วยใน มากที่สุด รองลงมา งานห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก และงานผลิตยา ตามลำดับ ในกลุ่มที่มีประสบการณ์ใช้หุ่นยนต์พบว่า ปัจจัยทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) เท่านั้นที่สามารถทำนายการปรับตัวของกลุ่มตัวอย่างได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสามารถทำนายการปรับตัวได้ ร้อยละ 25.8 ในกลุ่มตัวอย่างที่ยังไม่มีประสบการณ์ใช้หุ่นยนต์พบว่าปัจจัยทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) และสมรรถนะทางวิชาชีพเภสัชกรรม สามารถทำนายความเชื่อและทัศนคติต่อการนำหุ่นยนต์มาใช้ของกลุ่มตัวอย่างได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสามารถร่วมกันทำนายความเชื่อและทัศนคติต่อการนำหุ่นยนต์ฯมาใช้ได้ ร้อยละ 24.8 ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) และสมรรถนะของเภสัชกรโรงพยาบาล ส่งผลต่อการปรับตัว และความเชื่อและทัศนคติต่อการนำหุ่นยนต์ทางเภสัชกรรมมาใช้ในงานเภสัชกรรมโรงพยาบาล หากเภสัชกรได้รับการพัฒนาหรือส่งเสริมในทักษะดังกล่าว จะทำให้เภสัชกรมีความพร้อมและสามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นในงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลen_US
Appears in Collections:PHARMACY: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611031011- นางสาววนิดา ขนาดนิด.pdfการปรับตัวของเภสัชกรโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ต่อการนำหุ่นยนต์ทางเภสัชกรรมมาใช้47.76 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.