Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77782
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนทัต อัศภาภรณ์-
dc.contributor.authorศราวุฒิ เพาะเจาะen_US
dc.date.accessioned2022-11-05T05:19:25Z-
dc.date.available2022-11-05T05:19:25Z-
dc.date.issued2022-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77782-
dc.description.abstractThe objectives of this research were to 1) create and find the quality of the lesson plans using language experience approach through digital media to promote English reading and writing abilities and media literacy, 2) compare the English reading abilities before and after studying with language experience approach through digital media, 3) compare the English writing abilities before and after studying with language experience approach through digital media, and 4) examine the media literacy of students after studying with language experience approach through digital media. The population was 135 students in grade 12 (5 classes), academic year 2021 in Doitaowittayakom School, Doitao District, Chiang Mai. The target group was 26 students in M.6/2 chosen by cluster random sampling. The research instruments were the evaluation form of lesson plans quality, test for reading abilities, test for writing abilities, and form of media literacy scale. The data were analyzed by using means, standard deviations, percentages and quality of English reading ability based on the criteria. The results showed that 1) there were 7 lesson plans (3 hours per each, altogether 21 hours) using language experience approach through digital media to promote English reading and writing abilities and media literacy which had good quality, 2) the English reading abilities after studying was higher than before studying with language experience approach through digital media, 3) the English writing abilities after studying was higher than before studying with language experience approach through digital media, and 4) the media literacy of students after studying with language experience approach through digital media had high level.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษาen_US
dc.subjectสื่อดิจิทัลen_US
dc.subjectการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษen_US
dc.subjectการรู้เท่าทันสื่อen_US
dc.titleการใช้แนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษาผ่านสื่อดิจิทัล เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ และการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6en_US
dc.title.alternativeUsing language experience approach through digital media to promote english reading and writing abilities and media literacy of grade 12 studentsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashภาษาอังกฤษ -- การใช้ภาษา-
thailis.controlvocab.thashสื่ออิเล็กทรอนิกส์-
thailis.controlvocab.thashการรู้เท่าทันสื่อ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัย เรื่อง การใช้แนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษาผ่านสื่อดิจิทัล เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ และการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษาผ่านสื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนการสอนตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษาผ่านสื่อดิจิทัล 3) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษาผ่านสื่อดิจิทัล และ 4) ศึกษาระดับการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนที่ได้เรียนตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษาผ่านสื่อดิจิทัล ประชากรในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 5 ห้องเรียน รวม 135 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษาผ่านสื่อดิจิทัล แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ แบบทดสอบความสามารถ ด้านการเขียนภาษาอังกฤษ และแบบวัดระดับการรู้เท่าทันสื่อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษาผ่านสื่อดิจิทัลที่สร้างขึ้น มีทั้งหมด 7 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง รวม 21 ชั่วโมง โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก 2) นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษหลังเรียนตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษาผ่านสื่อดิจิทัลสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนมีความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษหลังเรียนตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษาผ่านสื่อดิจิทัลสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) นักเรียนมีระดับการรู้เท่าทันสื่อหลังจากที่ได้เรียนตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษาผ่านสื่อดิจิทัลอยู่ในระดับสูงen_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630232059 ศราวุฒิ เพาะเจาะ.pdf6.71 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.