Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77777
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัมพิกา ชุมมัธยา-
dc.contributor.authorศิระกร ตันบูรณาen_US
dc.date.accessioned2022-11-05T04:44:17Z-
dc.date.available2022-11-05T04:44:17Z-
dc.date.issued2022-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77777-
dc.description.abstractThis research started with the facing of traffic congestion within Chiang Mai Urban Area due to the Urbanization of city area after the implementation of the 5th National Economic and Social Development Plan (1982-1986), which resulted in Chiang Mai's growth in social, physical and economic aspects that contributing to ‘Urban Sprawl’. In effort to eliminate these problems in the 12th National Economic and Social Development Plan (2017-2021), which based on Sustainable Development principles, Chiang Mai Mass Transit Project has been established in the form of a Light Rail Transit (LRT). Which using the Transit-Oriented Development (TOD) in study and planning processes in order to achieve the goal of being sustainable development. The researcher has realized the importance a study on the TOD and set the aims of this research to study and lesson learned in field of TOD through the literature review and case study, then analyze the TOD indicators by using the Analytic Hierarchy Process. (AHP) after that synthesize the TOD Typology of Chiang Mai and propose the Chiang Mai TOD design guideline. The results of this research are founded 15 TOD indicators dividing into 3 aspect groups. The result of AHP shows that the Social and Cultural indicators group has the highest weight (45.61%), follows by Physical and Environmental indicators group (34.65%), and Economic indicators group (19.74%). Lastly the synthesis of the TOD indicator, and site urban quality information from survey together with the Urban Transect gives 3 Types of Chiang Mai TOD Typology as the result including (1) The Urban Center TOD that is, high density. There are various land uses. and is important to people's daily routine, numbering 5 station areas (2) The New Town TOD that is, a new development area with trade and service activities as center of neighborhood and surrounded by residential areas, numbering 2 station areas and (3) The Special Use TOD. That is station areas with outstanding specific activities, numbering 3 station areas.  en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการศึกษารูปแบบการพัฒนาพื้นที่en_US
dc.subjectสถานีขนส่งมวลชนกับคุณภาพเมืองen_US
dc.subjectโครงการรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.titleการศึกษารูปแบบการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชนกับคุณภาพเมือง สำหรับโครงการรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeA study of TOD typology and urban quality : Chiang Mai light rail transiten_US
dc.typeThesis-
thailis.controlvocab.thashการขนส่งมวลชน-
thailis.controlvocab.thashรถไฟฟ้า -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashรถไฟฟ้า-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้ เกิดขึ้นจากการต้องเผชิญกับปัญหาการจราจรภายในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ ที่สืบเนื่องจากการขยายตัวของเมืองเชียงใหม่อย่างรวดเร็ว (Urbanization) ภายหลังการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 - 2529) ส่งผลให้เมืองเชียงใหม่ มีการเจริญเติบโตทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคมอย่างก้าวกระโดด และไร้ระเบียบ โดยในความพยายามจัดการปัญหาเหล่านี้ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ซึ่งยึดแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) นำมาสู่ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ ในรูปแบบของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนที่มีรถไฟฟ้ารางเบาเป็นโครงข่ายหลัก ซึ่งได้มีการนำแนวคิดการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development: TOD) มาใช้ในขั้นตอนการศึกษาและวางแผนแม่บท ผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของแนวคิด TOD โดยงานวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นการศึกษา และถอดบทเรียนการนำแนวทางพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน จากกรณีศึกษาในพื้นที่ต่าง ๆ ที่ประสบความสำเร็จ และทำการวิเคราะห์ตัวชี้วัดการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process: AHP) และสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน ของเมืองเชียงใหม่ พร้อมกับเสนอแนวทางการออกแบบการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน ผลการศึกษาพบปัจจัยตัวชี้วัดที่สำคัญ จำนวน 15 ตัวชี้วัด จากกลุ่มปัจจัยหลัก 3 ด้าน และเมื่อทำการวิเคราะห์ AHP พบว่า ค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยตัวชี้วัด ด้านสังคมและวัฒนธรรม มีความสำคัญมากที่สุด ที่ร้อยละ 45.61 รองลงมา คือ ด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม ที่ร้อยละ 34.65 และด้านเศรษฐกิจ ที่ร้อยละ 19.74 ตามลำดับ โดยเมื่อนำปัจจัยตัวชี้วัดที่ได้มาสังเคราะห์ร่วมกับแนวคิดการจำแนกบทบาทเมืองตามลำดับชั้น สามารถสังเคราะห์รูปแบบของการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน จังหวัดเชียงใหม่ออกมาได้ 3 ลักษณะ คือ (1) รูปแบบการพัฒนา TOD แบบศูนย์กลางเมือง กล่าวคือ มีความความหนาแน่นสูง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่หลากหลาย และมีความสำคัญต่อกิจวัตรประจำวันของผู้คน มีจำนวน 5 พื้นที่สถานี (2) รูปแบบการพัฒนา TOD แบบศูนย์เมืองใหม่ กล่าวคือ เป็นพื้นที่พัฒนาใหม่ มีกิจกรรมด้านการค้าและการบริการเป็นศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยพื้นที่อยู่อาศัย จำนวน 2 พื้นที่สถานี และ (3) รูปแบบการพัฒนา TOD แบบพิเศษ กล่าวคือ เป็นพื้นที่สถานีที่มีกิจกรรมเฉพาะอย่างที่มีความโดดเด่น จำนวน 3 พื้นที่สถานีen_US
Appears in Collections:ARC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621731010-ศิระกร ตันบูรณา.pdf17.57 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.