Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77746
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorPeeraya Munkhetvit-
dc.contributor.authorChutimon Vattanaphanen_US
dc.date.accessioned2022-10-27T10:31:55Z-
dc.date.available2022-10-27T10:31:55Z-
dc.date.issued2022-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77746-
dc.description.abstractBackground: Stroke patients with cognitive impairment have difficulty with occupational performance such as basic activities of daily living (BADL), instrumental activities of daily living (IADL), work, leisure, and social participation In this study, the researcher developed cognitive strategy training protocol combination of the PRPP System of Intervention and the Multicontext Approach to improve cognitive performance through performing the IADL tasks. Objectives: To examine the task mastery of stroke patients during the performance of the IADL tasks, and to examine the effects of the cognitive strategy training protocol on cognitive performance in stroke patients. Methods: This research employed a quasi-experimental, one-group pretest-posttest design to compare pre-and post-test scores after receiving the cognitive training protocol. Eight stroke patients who met the criterior participatd in this study. The criterior were; diagnosed with first stroke within 6-24 months, had cognitive impairments as measured by the MoCA or MoCA-B, had zero to mild depression conditions as measured by the PHQ-9-Thai version, and did not have aphasia (motor, sensory, and global). All participants received the cognitive strategy training protocol three times a week, for 4 consecutive weeks. Each session took approximately 60 minutes per day. The intervention was divided into three main phases with 12 sessions of intervention. The participants completed and prioritized five tasks based on their needs and desires selected by the Canadian Occupational Perform Measure (COPM). After that, participants performed the first three tasks and were videotaped while they were performing the tasks. Outcome measurement of the pre-test and post-test scores were the PRPP System-Thai version. Scores of Stage One of the PRPP System-Thai version were analyzed using descriptive statistics and scores of Stage Two of the PRPP System-Thai version were computed by using the Wilcoxon signed-rank test. Results: The finding of this study showed that, before the intervention, all participants got pre-test percentage scores below the criterion of 100% which presented lower task mastery than expected. After the intervention, every participant had higher scores of the post-test percentage scores of Stage One of the PRPP System for at least 1 activity even though still had scores below 100%. Most of them (5 out of 8) showed higher scores in both activities but some participants indicated lower scores after the intervention in one out of two activities, and one participant showed equal pre-test and post-test scores. The analytic results from the Wilcoxon signed-rank test showed no significant difference between the pre-test and post-test scores in all activities (p>0.05). However, the descriptive-analytic results of the post-test percentage scores of Stage Two of the PRPP System, 4 out of 8 participants had higher scores for at least 1 activity even if still had scores below 100%. Two participants presented higher scores in both activities. Nevertheless, one participant indicated lower scores after the intervention in one out of two activities, and some participants also showed equal pre-test and post-test scores. The tendency of increased performance of the participants after the intervention despite the significant difference was found.en_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.subjectCognitive trainingen_US
dc.subjectStrategy trainingen_US
dc.subjectCognitive strategy trainingen_US
dc.subjectStroke patientsen_US
dc.subjectCognitive impairment in Strokeen_US
dc.titleEffect of cognitive strategy training protocol on cognitive performance in stroke patients: a preliminary studyen_US
dc.title.alternativeผลของโปรโทคอลฝึกกลยุทธ์ความคิดความเข้าใจต่อความสามารถด้านความคิดความเข้าใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง: การศึกษานำร่องen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshOccupational therapy-
thailis.controlvocab.lcshCerebrovascular disease -- Patients-
thailis.controlvocab.lcshBrain -- Blood-vessels-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractบทนำ: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาด้านความคิดความเข้าใจมีความยากลำบากในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ได้แก่ กิจวัตรประจำวันพื้นฐาน กิจวัตรประจำวันขั้นสูง การทำงาน กิจกรรมยามว่าง และการมีส่วนร่วมทางสังคม ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยพัฒนาโปรโทคอลฝึกกลยุทธ์ความคิดความเข้าใจเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านความคิดความเข้าใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผ่านการทำกิจวัตรประจำวันขั้นสูงโดยใช้การผสมผสานการระหว่างเทคนิคของ PRPP System of Intervention และ Multicontext Approach วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสามารถในการทำกิจกรรมขณะทำกิจวัตรประจำวันขั้นสูงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และทดสอบผลของโปรโทคอลฝึกกลยุทธ์ความคิดความเข้าใจต่อความสามารถด้านความคิดความเข้าใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มโดยวัดผลจากคะแนนก่อนและหลังได้รับโปรโทคอลฝึกกลยุทธ์ความคิดความเข้าใจในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีความบกพร่องด้านความคิดความเข้าใจจำนวน 8 คน โดยอาสาสมัครที่เข้าร่วมวิจัยมีเกณฑ์การคัดเข้าคือ ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองเป็นครั้งแรกและป่วยมาแล้วระหว่าง 6 ถึง 24 เดือน มีความบกพร่องด้านความคิดความเข้าใจจากการประเมินด้วยแบบคัดกรอง MoCA หรือ MoCA-B และมีคะแนนระดับภาวะซึมเศร้า ระดับ 0 ถึงระดับเล็กน้อยจากการทดสอบด้วยแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า พีเอชคิวไนท์ (PHQ-9) ฉบับภาษาไทย และไม่มีภาวะบกพร่องทางการสื่อความทุกประเภท ในการศึกษาครั้งนี้ อาสาสมัครทุกคนจะได้รับโปรโทคอลฝึกกลยุทธ์ความคิดความเข้าใจผ่านการทำกิจวัตรประจำวันขั้นสูงที่คัดเลือกจากความต้องการของอาสาสมัครแต่ละราย 5 กิจกรรมด้วยแบบประเมิน Canadian Occupational Performance Measure (COPM) โดยความถี่ในการฝึก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ จำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ หลังจากนั้น อาสาสมัครทำกิจกรรม 3 กิจกรรมแรกจากรายการกิจกรรมและมีการบันทึกคลิปวิดิโอขณะทำกิจกรรม เพื่อนำไปใช้ในการวัดผลระดับคะแนนทั้งก่อนและหลังได้รับโปรโทคอลด้วยแบบประเมิน PRPP System: Thai version โดยที่คะแนนจาก Stage One ของแบบประเมิน PRPP System: Thai version ถูกนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ส่วนคะแนนจาก Stage Two ถูกมาคำนวณโดยใช้การทดสอบของ วิลคอกซัน ซายน์-แรงค์ เทส ผลการศึกษา: ผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า คะแนนก่อนเริ่มโปรโทคอลใน Stage One ของอาสาสมัครทุกคนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ หลังจากได้รับโปรโทคอล คะแนนความสามารถในการทำกิจกรรมของอาสาสมัครทุกคนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 กิจกรรม แม้ว่าคะแนนที่ได้ยังต่ำกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ อาสาสมัคร 5 คน มีคะแนนความสามารถในการทำกิจกรรมเพิ่มขึ้นทั้ง 2 กิจกรรม ในขณะที่อาสาสมัครบางคนมีคะแนนความสามารถในการทำกิจกรรมลดลง 1 กิจกรรม สำหรับผลการวิเคราะห์ด้วย วิลคอกซัน ซายน์-แรงค์ เทส ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างคะแนนก่อนและหลังได้รับโปรโทคอลฝึกกลยุทธ์ความคิดความเข้าใจ อย่างไรก็ตาม คะแนนจากผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา พบว่า คะแนนหลังได้รับโปรโทคอลใน Stage Two ของอาสาสมัคร 4 คน มีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 กิจกรรม แม้ว่าคะแนนที่ได้ก็ยังต่ำกว่า 100 เปอร์เซ็นต์จากเกณฑ์ที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ อาสาสมัคร 2 คน มีคะแนนที่เพิ่มขึ้นทั้ง 2 กิจกรรม และมีอาสาสมัครหนึ่งคนที่มีคะแนนเท่าเดิมทั้งก่อนและหลังได้รับโปรโทคอล ในขณะที่อาสาสมัครหนึ่งคนมีคะแนนความสามารถในการทำกิจกรรมลดลงหนึ่งกิจกรรม อย่างไรก็ตาม การค้นพบในการศึกษาครั้งนี้ บ่งชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของคะแนนความสามารถในการทำกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นของอาสาสมัครหลังจากได้รับโปรโทคอลฝึกกลยุทธ์ความคิดความเข้าใจ แม้ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติen_US
Appears in Collections:AMS: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621131004-CHUTIMON VATTANAPHAN.pdfE-Thesis Chutimon Vattanaphan5.15 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.