Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74215
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฤตินันท์ สมุทร์ทัย-
dc.contributor.authorปัทมา กุออen_US
dc.date.accessioned2022-10-15T08:06:06Z-
dc.date.available2022-10-15T08:06:06Z-
dc.date.issued2564-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74215-
dc.description.abstractThis research aimed to 1) synthesize factors leading to the success of managing home school education from related studies and 2) to study approaches of home school education which leads to successful education using cross-impact analysis. The population involved the studies concerning the management of home school education from 2000 to 2017. The research tool was a research characteristics recorder and a questionnaire for the experts regarding factors the management of home school education that leads to educational success. The data was then analyzed using descriptive statistics, content analysis, meta-ethnography, and cross impact analysis. It was found that there were 29 related studies. Most of the research was qualitative research done by master-degree students. The majority aimed to study the management and the development of home school education. Informants were mostly parents. The tools used to collect data were questionnaires and interview sheets. The data collected was analyzed both quantitatively and qualitatively. According to the synthesis, it was found that in the aspect of the educators two factors influenced the management of home school education: 1) the educators believe that their love and determination can manage home school education (7 approaches); and 2) the educator put all their effort in preparing lessons and activities for the learners (6 approaches). In the of the characteristics of the education, two factors impacted the management of home school education: 1) the curriculum and the content are flexible and respond to the development, the needs, and the interests of the learners (6 approaches); and 2) the curriculum aims for learners to be able to apply what they learn in real life according to their aptitudes and interests (4 approaches). Learners-wise, four factors influenced the management of home school education: 1) the learners demonstrate self-awareness, sympathy for others, and understanding of changes in situations and the environment (6 approaches); 2) the learners strive to improve themselves (6 approaches); 3) the learners demonstrate disciplines (5 approaches); and 4) the learners show responsible towards themselves and the society (5 approaches). In the aspect of the network and collaboration, one factor impacted the management of home school education: 1) a network of home school educators is established for exchanging information, for example, creating a home school website or a web board where parents can plan activities and lessons together (1 approach). Last but not least, in the aspect of the governmental agencies, one factor affected the management of home school education: 1) the governmental agencies are knowledgeable and understand how to manage home school education (22 approaches).en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยและแนวทางสู่ความสำเร็จในการจัดการศึกษาโดยครอบครัว: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ชาติพันธุ์วรรณนาอภิมานและการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้en_US
dc.title.alternativeFactors and approaches to success of home school education : application a meta-ethnography research and cross-impact analysisen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการจัดการศึกษาโดยครอบครัว-
thailis.controlvocab.thashการศึกษา -- การมีส่วนร่วมของบิดามารดา-
thailis.controlvocab.thashการศึกษา-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์ปัจจัยที่เป็นแนวทางสู่ความสำเร็จในการจัด การศึกษาโดยครอบครัวจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาโดย ครอบครัวเพื่อพัฒนาสู่ความสำเร็จ โดยการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้ ประชากร คืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการศึกษาโดยครอบครัว ที่จัดทำระหว่างปี พ.ศ.2543 - 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวทางการจัดการศึกษาโดย ครอบครัวเพื่อพัฒนาสู่ความสำเร็จในการจัดการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การ วิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน และการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้ พบว่ามี งานวิจัยทั้งหมด 29 เรื่อง ส่วนใหญ่เปืนงานวิจัยเชิงคุณภาพ และเป็นวิทยานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ระดับ ปริญญาโท ศึกษาในประเด็นการจัดการศึกษา และ การพัฒนารูปการจัดการศึกษาโดยครอบครัวมาก ที่สุด กลุ่มผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่คือผู้จัดการศึกษาได้แก่พ่อแม่ เก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม แบบ สัมภาษณ์ มีการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการสังเคราะห์ปัจจัยที่เป็นแนวทาง จัดการศึกษาโดยครอบครัวเพื่อพัฒนาสู่ความสำเร็จ ด้านผู้จัดการศึกษามี 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) การมีความ รัก มีความทุ่มเท และตั้งใจจริง ของผู้จัดการศึกษา ทำให้เกิดแนวทางอื่นตามมา 7 แนวทาง และ2) การ ที่ผู้จัดการศึกษามีเวลาที่จะใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมอื่นๆเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อย่าง เต็มที่ ทำให้เกิดแนวทางอื่นตามมา 6 แนวทาง ด้านลักษณะการจัดการศึกษามี 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) มีการ พัฒนาหลักสูตรและเนื้อหาสาระให้ยืดหยุ่น สอดคล้องกับพัฒนาการ ความต้องการ และความสนใจ ของผู้เรียน ทำให้เกิดแนวทางอื่นตามมา 6 แนวทาง และ2) การเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไป ประยุกต์ใช้ในชีวิตได้จริงตามความถนัดและความสนใจ ทำให้เกิดแนวทางอื่นตามมา 4 แนวทาง ด้าน คุณลักษณะของผู้เรียนมี 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) การเป็นผู้ที่รู้จักเข้าใจตนเอง เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น เข้าใจสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิดแนวทางอื่นตามมา 6 แนวทาง 2) การเป็นผู้ไฝ่รู้ไฝ่เรียน มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาดนเอง ทำให้เกิดแนวทางอื่นตามมา 6 แนวทาง 3) การมีระเบียบวินัย ทำให้เกิดแนวทางอื่นตามมา 5 แนวทาง และ4) การมีความรับผิดชอบ ต่อตนเองและ สังคม ทำให้เกิดแนวทางอื่นตามมา 5 แนวทาง ด้านเครือข่ายและความร่วมมือ มี 1 ปัจจัยคือ 1) การพัฒนาเครือข่ายผู้จัดการศึกษาโดยครอบครัวเพื่อรับและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เช่น การใช้เว็บไซต์ Home School การสร้างเว็บบอร์ดเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประชุมระหว่าง ผู้ปกครองในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้เกิดแนวทางอื่นตามมา 1 แนวทาง และด้านหน่วยงานภาครัฐ มี 1 ปัจจัยคือ 1) การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัด การศึกษาโดยครอบครัว ทำให้เกิดแนวทางอื่นตามมา 22 แนวทางen_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
590232009 ปัทมา กุออ.pdf5.34 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.