Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74172
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorSongsak Sriboonchitta-
dc.contributor.advisorJirakom Sirisrisakulchai-
dc.contributor.advisorJianxu Liu-
dc.contributor.authorDanhua Jiangen_US
dc.date.accessioned2022-10-02T01:16:06Z-
dc.date.available2022-10-02T01:16:06Z-
dc.date.issued2022-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74172-
dc.description.abstractThis dissertation aims to integrate non-traditional economic variables such as “tourism flow association, ecological footprint, and information and communication technology” with mainstream factors to re-interpret the impact of them on tourism from a new perspective. In terms of the Travel & Tourism Competitiveness Index (TTCI 2019), we know that overall the dependence on tourism, especially international tourism, of ASEAN Plus Three (China, Japan and South Korea) exceeds the global average. Given the active economic role of international tourism in this region, it is important to conduct future research on sustainable tourism development in it. First, we estimated the effect of tourism flow association on tourism demand in this region by performing unconstrained parameter optimization for copula-ARDL. The results show that there is a positive association between the tourism flows in East Asia group, which indicates that their tourism demand is influenced by common factors between each other's countries. However, both positive and negative associations exist in the Southeast Asian group. In specific, Laos has a negative tourism flow association on Malaysia and Singapore, which may be caused by the geographical distance of Laos from the other two countries, and it also confirms from another perspective that it is essential to include tourism flow dependence in tourism demand forecasting. Then, we used Threshold Vector Autoregression (TVAR) and Threshold Vector Error Correction (TVEC) models to verify the existence of high, medium, and low regimes between the non-traditional tourism influencing factor "ecological footprint" and tourism. We found a long-term balanced relationship between them. China and Japan have the strongest fluctuations and the most pronounced shocks under the high regime, but the opposite is a fact for Korea, where the impact is more shocks under the low regime. Next, we constructed the Total Energized Stochastic Frontier model to estimate a multiplier effect on labor and capital by the non-traditional influencing factor ICT, which is 27.92% and 8.82% respectively. This promotes tourism TFP. From the empirical results, there is a trend of growth in total factor productivity of the tourism of the eight sample countries. The technological progress and technical efficiency are the dominant factors that increase tourism TFP changes, which indicates that the development of tourism TFP in this region remains sustainable. Finally, we put forward some policy recommendations for the ASEAN Plus Three region based on the empirical results of this study. At the same time, we also provide implications for the region in the wake of COVID-19 based on empirical results.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleExploration of non-traditional factors in tourism demand of ASEAN Plus Three from new perspectivesen_US
dc.title.alternativeการศึกษาปัจจัยที่มิใช่แบบด้ังเดิมของความต้องการ การท่องเที่ยวในอาเซียนบวกสามจากมุมมองใหม่en_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshASEAN countries-
thailis.controlvocab.lcshTravel -- Southeast Asia-
thailis.controlvocab.lcshASEAN countries -- Description and travel-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อบูรณาการตัวแปรทางเศรษฐกิจที่ไม่ใช่ตัวแปรแบบดั้งเดิม เช่น "กระแสการเดินทางด้านการท่องเที่ยว รอยเท้าทางนิเวศวิทยา และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร" กับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมที่เป็นปัจจัยกระแสหลักเพื่อตีความผลกระทบของสิ่งเหล่านี้ที่มีต่อการท่องเที่ยวเพื่อให้ได้องค์ความรู้จากมุมมองใหม่ ดัชนีความสามารถในการแข่งขันการเดินทางและการท่องเที่ยว (TTCI 2019) ทำให้ทราบว่าการพึ่งพาการท่องเที่ยวโดยรวม โดยเฉพาะการท่องเที่ยวระหว่างประเทศของนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศอาเซียนบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) นั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ดังนั้น บทบาทอันมีพลังทางเศรษฐกิจของการท่องเที่ยวระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในภูมิภาคนี้ต่อไป อันดับแรก การศึกษานี้ได้ประเมินผลกระทบของการเชื่อมโยงกระแสการท่องเที่ยวต่ออุปสงค์การท่องเที่ยวโดยทำการปรับพารามิเตอร์ให้เหมาะสมด้วยแบบจำลอง copula-ARDL และ copula-ECM ที่ไม่ได้ระบุข้อจำกัดของพารามิเตอร์ ผลการวิจัยพบความสัมพันธ์กันระหว่างกระแสการเดินทางท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกที่อุปสงค์การท่องเที่ยวของประเทศเหล่านั้นได้รับอิทธิพลจากปัจจัยที่ต่างมีเหมือนๆกันในภูมิภาคนี้ อย่างไรก็ตาม ทั้งความสัมพันธ์เชิงบวกและเชิงลบเกิดขึ้นในกรณีของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสามารถอธิบายให้เฉพาะเจาะจงได้ว่า ประเทศลาวมีกระแสการเดินทางท่องเที่ยวที่เป็นผลลบต่อมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากระยะทางระหว่างลาวกับทั้งสองประเทศนั้น ดังนั้น แนวคิดเรื่องความไม่เป็นอิสระต่อกันของกระแสการเดินทางท่องเที่ยวสู่ประเทศปลายทางต่าง ๆ ควรนำมาพิจารณาในการพยากรณ์อุปสงค์การท่องเที่ยว จากนั้น การศึกษานี้ใช้โมเดล Threshold Vector Autoregression (TVAR) และ Threshold Vector Error Correction (TVEC) เพื่อตรวจสอบการมีอยู่ของสภาวะที่ตัวแปรอิสระมีผลต่อตัวแปรตามใน 3 สถานะ (regime) สูง ปานกลาง และต่ำ ระหว่างปัจจัยการท่องเที่ยวที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิมที่มีอิทธิพลต่อ "รอยเท้าทางนิเวศวิทยา" และการท่องเที่ยว การศึกษาได้พบความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างทั้งสองปัจจัย ประเทศจีนและญี่ปุ่นมีความผันผวนที่สูงที่สุดและเห็นผลดังกล่าวได้ชัดในสถานะสูง ตรงกันข้ามกับเกาหลีใต้ที่เกิดผลกระทบอย่างฉับพลันเกิดในขึ้นสถานะต่ำ การศึกษานี้ได้สร้างแบบจำลอง Total Energized Stochastic Frontier เพื่อประมาณผลทวีคูณจากปัจจัยไม่ดั้งเดิมต่อทุนและแรงงาน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 27.92% และ 8.82% ตามลำดับ สิ่งนี้ส่งเสริม TFP ด้านการท่องเที่ยว ผลค้นพบเชิงประจักษ์ได้แสดงถึงแนวโน้มการเติบโตทางผลิตภาพโดยรวมของทุกปัจจัยการท่องเที่ยวของ 8 ประเทศที่ศึกษาครั้งนี้ อีกทั้งยังพบว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและประสิทธิภาพทางเทคนิคเป็นปัจจัยสำคัญที่เพิ่มผลิตภาพโดยรวมของทุกปัจจัย (Total Factor Productivity: TFP) ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งบ่งชี้ว่าการพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้ยังคงยั่งยืน ผลค้นพบเชิงประจักษ์จากการศึกษานี้ เป็นที่มาของข้อเสนอแนะเชิงนโยบายบางข้อสำหรับภูมิภาคอาเซียนบวกสาม รวมทั้งนัยยะที่ควรพิจารณาภายใต้ภาวะระบาดของโคโรนาไวรัส 2019en_US
Appears in Collections:ECON: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611655802danhua jiang final .pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.