Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74070
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอิสระ บุญญะฤทธิ์-
dc.contributor.authorณัฐธกรณ์ กีรติวัฒนธรณ์en_US
dc.date.accessioned2022-09-02T11:28:53Z-
dc.date.available2022-09-02T11:28:53Z-
dc.date.issued2022-08-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74070-
dc.description.abstractThe purposes of this research were (1) to investigate the relationships among empowering leadership, well-being, and meaningful work of employees in financial and banking companies, and (2) to examine the mediating role of meaningful work in the relationship between empowering leadership and well-being of employees in financial and banking companies. The sample in the study was 324 employees working in financial and banking companies. The selection by convenience sampling. The research instrument consisted of (1) respondents' demographic data (2) the Well-Being Scale (3) the Empowering Leadership Scale, and (4) the Meaningful Work Scale. Data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficient, and regression analysis applying for the Causal Steps of Baron and Kenny (1986) and the Sobel’s test was conducted to test a significance of indirect effect. The results of the study were as follows: 1. Empowering leadership could significantly predict well-being among employees in financial and banking companies (b = .440, p < .01, R2 = .253). . 2. Empowering Leadership could significantly predict meaningful work among employees in financial and banking companies (b = .443, p < .01, R2 = .332). 3. Meaningful work could significantly predict well-being among employees in financial and banking companies (b = .495, p < .01, R2 = .386). 4. The relationship between empowering leadership and well-being of employees in financial and banking companies was statistically partially mediated by meaningful work (p < .01) with indirect effect of .219.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectภาวะผู้นำแบบเสริมสร้างพลังอำนาจen_US
dc.subjectความผาสุกen_US
dc.subjectงานที่มีความหมายen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเสริมสร้างพลังอำนาจกับความผาสุกของพนักงานบริษัทเอกชนด้านการเงินและการธนาคาร: บทบาทการเป็นตัวแปรสื่อของงานที่มีความหมายen_US
dc.title.alternativeRelationship between empowering leadership and well-being of employees in financial and banking companies: mediating role of meaningful worken_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashภาวะผู้นำ-
thailis.controlvocab.thashจิตวิทยาองค์การ-
thailis.controlvocab.thashบริษัทเอกชน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเสริมสร้างพลังอำนาจ งานที่มีความหมาย และความผาสุกของพนักงานบริษัทเอกชนด้านการเงินและการธนาคาร (2) เพื่อศึกษาบทบาทการเป็นตัวแปรสื่อของงานที่มีความหมาย ในความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเสริมสร้างพลังอำนาจและความผาสุกของพนักงานบริษัทเอกชนด้านการเงินและการธนาคาร กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานบริษัทเอกชนด้านการเงินและการธนาคาร จำนวน 324 คน โดยการสุ่มตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบสอบถามคุณลักษณะส่วนบุคคล (2) แบบวัดความผาสุก (3) แบบวัดภาวะผู้นำแบบเสริมสร้างพลังอำนาจ และ (4) แบบวัดงานที่มีความหมาย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอย และใช้วิธี Causal Steps ของ Baron and Kenny (1986) ในการวิเคราะห์ตัวแปรสื่อและการคำนวณค่าสถิติของโซเบล (Sobel’s test) เพื่อทดสอบนัยสำคัญของอิทธิพลทางอ้อม ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำแบบเสริมสร้างพลังอำนาจสามารถทำนายความผาสุกของพนักงานบริษัทเอกชนด้านการเงินและการธนาคารได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 25.30 และมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ .440 2. ภาวะผู้นำแบบเสริมสร้างพลังอำนาจสามารถทำนายงานที่มีความหมายของพนักงานบริษัทเอกชนด้านการเงินและการธนาคารได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 32.20 และมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ .443 3. งานที่มีความหมายสามารถทำนายความผาสุกของพนักงานบริษัทเอกชนด้านการเงินและการธนาคารได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 38.60 และมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ .495 4. งานที่มีความหมายมีบทบาทการเป็นตัวแปรสื่อบางส่วนในความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเสริมสร้างพลังอำนาจและความผาสุก (Z = 6.852, p < .01) และมีอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ .219en_US
Appears in Collections:HUMAN: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ณัฐธกรณ์_Final Copyrights.pdfเอกสารเล่ม IS ฉบับสมบูรณ์2.12 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.