Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74026
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อุบล พิรุณสาร | - |
dc.contributor.author | อภิรติ เกษมสันต์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-08-29T15:56:01Z | - |
dc.date.available | 2022-08-29T15:56:01Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74026 | - |
dc.description.abstract | The aim of this study was to investigate prevalence and factors associated with work-related musculoskeletal disorders (WRMSDs) in bus drivers. A cross-sectional descriptive study was conducted in 83 bus drivers. Data were collected using general information questionnaire, Nordic Musculoskeletal questionnaire to determine WRMSDs, Rapid Upper Limb Assessment (RULA) to determine ergonomic risk and Job Content Questionnaire (JCQ) to determine psychological risk. Disability of the back, neck and shoulder were assessed using Oswestry Disability Index (ODI), Neck Disability Index (NDI), and Shoulder Pain and Disability Index respectively (SPADI). The data were analyzed using descriptive statistic and presented in frequency, percentage and mean. Correlation between pain and associated risks was analyzed using Chi-square. The results showed that the top three areas of pain prevalence in the past 12 months were found at the neck, back and shoulders accounted for 81.9%, 80.7% and 72.3%, respectively and in the past 7 days were at the back, neck and shoulders accounted for 53.0%, 49.4% and 25.3%. Factors associated with back pain in the past week were ergonomic (X2 = 4.021, p= 0.045) and drug intake (X2=4.554, p =0.033). Neck pain in the past week was associated with drug intake (X2= 4.634, p = 0.031) and hazard at work (X2 = 4.595, p = 0.032). Neck pain in the past year was associated with smoking (X2 = 4.514, p = 0.034) and psychological job demand (X2 = 3.865, p = 0.049). Shoulder pain in the past week was associated with age (X2 = 7.895, p= 0.019), underlying disease (X2 = 4.278, p=0.039), drug intake (X2= 9.756, p = 0.002), driving experience (X2 = 7.513, p = 0.023) and job security (X2 = 6.769, p = 0.009) and shoulder pain in the past 12 months were found to be associated with age (X2 = 7.347, p = 0.025) and hand dominant (X2= 4.558, p = 0.033). In conclusion, the prevalence of work-related musculoskeletal disorders in bus drivers was relatively high and related to many factors. Work-related musculoskeletal disorders in bus drivers are a problem that should be addressed appropriately | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงานในพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง | en_US |
dc.title.alternative | Prevalence and associated factors of work-related musculoskeletal disorders among professional bus drivers | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | สมรรถภาพในการทำงาน | - |
thailis.controlvocab.thash | เออร์โกโนมิกส์ | - |
thailis.controlvocab.thash | การขับรถประจำทาง | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความผิดปกติทาง ระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงานในพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง โดยเป็นการศึกษา เชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานขับรถโดยสารประจำทางจำนวน 83 ราย ทำการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความผิดปกติทางระบบโครง ร่างและกล้ามเนื้อ The Nordic Musculoskeletal Questionnaire แบบประเมินความเสี่ยงทางการย ศาสตร์ Rapid Upper Limb Assessment แบบประเมินความเครียดจากการทำงาน The Job Content Questionnaire แบบสอบถามการจำกัดความสามารถจากอาการปวดหลัง The Oswestry Disability Index การจำกัดความสามารถจากอาการปวดคอ The Neck Disability Index และการจำกัด ความสามารถจากอาการปวดไหล่ The Shoulder Pain and Disability Index ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติเชิงพรรณนา แสดงค่าในรูปแบบความถี่ ร้อยละ และ ค่าเฉลี่ย ทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ สถิติ Chi square ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อใน รอบ 12 เดือน 3 อันดับแรกได้แก่ คอ หลัง และไหล่ คิดเป็นร้อยละ 81.9, 80.7 และ 72.3 ตามลำดับ และในรอบ 7 วัน ได้แก่ หลัง คอ และ ไหล่ คิดเป็นร้อยละ 53.0, 49.4 และ 25.3 ตามลำดับ และยังพบ ความสัมพันธ์ของอาการปวดหลังในรอบ 7 วันกับความเสี่ยงทางการยศาสตร์ (X2=4.021, p=0.045) และการรับประทานยา (X2 =4.554, p=0.033) ส่วนอาการปวดคอในรอบ 7 วันมีความสัมพันธ์กับปัจจัย ส่วนบุคคลด้านการรับประทานยา (X2 =4.634. p=0.031) และความเครียดจากการทำงานด้านอันตราย ในที่ทำงาน (X2 =4.595, p=0.032) อาการปวดคอในรอบ 12 เดือนมีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคล ด้านการสูบบุหรี่ (X2 =4.514, p=0.034) และความเครียดจากการทำงานด้านข้อเรียกร้องด้านจิตใจ (X2= 3.865, p=0.049) สำหรับอาการปวดไหล่ในรอบ 7 วัน พบว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคลด้าน อายุ (X2 =7.895, P=0.019) โรคประจำตัว (X2 =4.278, P=0.039) การรับประทานยา (X2 =9.756, p=0.002) ประสบการณ์ในการขับรถ (X2 =7.513, p=0.023) และความเครียดจากการทำงานด้านความมั่นคงใน การทำงาน (X2=6.769, P=0.009) และอาการปวดไหล่ในรอบ 12 เดือนพบว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัย ส่วนบุคคลด้าน อายุ (X2 =7.347, p=0.025) และมือข้างถนัด (X2 =4.558, p=0.033) โดยสรุปการศึกษานี้ พบความชุกของความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงานในพนักงานขับรถ ประจำทาง ในระดับค่อนข้างสูง และยังพบความสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆอีกหลายปัจจัย ซึ่งความ ผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงานในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางเป็น ปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | AMS: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
601131041 อภิรติ เกษมสันต์.pdf | 1.83 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.