Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74024
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศิริตรี สุทธจิตต์ | - |
dc.contributor.advisor | พักตร์วิภา สุวรรณพรหม | - |
dc.contributor.author | สุนิสา สัจจวิโส | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-08-29T15:50:01Z | - |
dc.date.available | 2022-08-29T15:50:01Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74024 | - |
dc.description.abstract | Water is an essential factor for life. However, after the state launched the Pracharath drinking water policy to stimulate the foundation economy in 2016, more than half of bottled water did not meet the quality criteria. This research aimed to analyze Pracharath drinking water through a concept of "Health in All Polices (HiAP)" in order to provide feedback to policymakers for developing health- conscious public policies. This qualitative study was conducted through a documentary research and in-depth interview using the framework of 3 key HiAP components: promote health and equality in policy process, opportunity for change, and the stakeholders. The interview was conducted with 5 groups of stakeholders of Pracharath drinking water in Lamphun Province including chief executive of relevant departments, operational level personnel, Pracharath drinking water operator, village committee and villagers, a total of 39 people during March 2019 to February 2020. The results revealed incomplete HiAP components of the Pracharath drinking water policy. First, health consideration was not yet embed as part of policy processes across sectors: situation of community drinking water problems and the need for clean and safe drinking water of the people led to the village community resolution in implementing the Pracharath drinking water project. However, even though the National Village and Urban Community Fund Office knows that Pracharath drinking water was related to health and that the application for production permission and the assessment of production sites must meet the standards, but information on health problems was not required in their budget approval criteria. Second, opportunities for a policy change to HiAP were not yet clear: the government saw an opportunity to solve the drinking water problem in the community along with stimulating the grassroots economy created an opportunity for the formation of Pracharath drinking water policy. However, as health factors had not been linked to the policy's economic goals, there were no opportunity to transform it to HiAP. Finally, stakeholders were not yet comprehensive and lack of participation: the absence of health agencies in the Provincial Civil-State Policy Coordinating and Driving Committee, together with the lack of existing capital ties between health agencies and village fund offices, had resulted in the implementation of each agency separately Therefore, the involvement of health agencies was at a low level, the "inform" level. Even if this study would only be conducted in Lamphun province and may not cover the view of the private sector, this analysis of Pracharath drinking water policy in Lamphun was one example that reflected the vulnerabilities of the link between the health and economic goals of national public policy affecting the health of local people. Provincial administrators could support the provincial government's drinking water policy to be more HiAP, both by directing (e.g. providing health goals and assessing health impact as fundamental issues in policy-making, adjusting committee structure to include health agencies), promoting awareness and empowering of stakeholders' capacity (e.g. HiAP training, develop data analysis skills for evidence-based policymaking and skills for creating policy change opportunities), as well as fostering cross-sector collaboration. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | น้ำดื่มประชารัฐ | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์นโยบายน้ำดื่มประชารัฐผ่านกรอบแนวคิดทุกนโยบายใส่ใจสุขภาพ: กรณีศึกษาจังหวัดลำพูน | en_US |
dc.title.alternative | Analysis of Pracharath drinking water policy with health in all policies framework: a case study of Lamphun Province | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | น้ำดื่ม -- ลำพูน | - |
thailis.controlvocab.thash | น้ำดื่ม -- นโยบายของรัฐ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | น้ำเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต อย่างไรก็ตาม หลังจากรัฐออกนโยบายน้ำดื่มประชารัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิงฐานรากในปี พ.ศ. 2559 พบว่าเกินครึ่งของน้ำดื่มน้ำบรรจุขวดไม่ผ่านเกณฑ์ คุณภาพ งานวิจัยนี้มีวัดถุประสงค์ในการวิเคราะห์น้ำดื่มประชารัฐผ่านมุมมองแนวคิด "ทุกนโยบาย สุขภาพใส่ใจสุขภาพ (Health in All Polices: HiAP)" เพื่อเป็นข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้กำหนดนโยบายใน การพัฒนานโยบายสาธารณะที่คำนึงถึงสุขภาพยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โคยวิจัยเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกตามกรอบแนวคิด องค์ประกอบความเป็น HiAP ของนโยบายน้ำดื่มประชารัฐ 3 องค์ประกอบหลัก คือการคำนึงถึงมิติ ด้านสุขภาพและความเท่าเทียมในกระบวนการนโยบาย โอกาสการเปลี่ยนแปลง และผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีขของน้ำดื่มประชารัฐ จังหวัดลำพูน 5 กลุ่ม คือ ผู้บริหาร สูงสุดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บุคลากรระดับปฏิบัติงานในหน่วยงาน ผู้ประกอบการน้ำดื่มประชารัฐ คณะกรรมการหมู่บ้าน และประชาชน รวม 39 คน ระหว่าง มีนาคม 2562 ถึงกุมภาพันธ์ 2563 ผลการศึกษาความเป็น HiAP ของนโยบายน้ำดื่มประชารัฐ 3 องค์ประกอบ พบว่า 1) การ คำนึงถึงมิติด้านสุขภาพที่ยังไม่ครอบคลุมในทุกภาคส่วน: ปัญหาสถานการณ์ปัญหาน้ำดื่มในชุมชน และความต้องการน้ำดื่มที่สะอาดปลอดภัยของประชาชน เป็นที่มาของมติประชาคมหมู่บ้านในการทำ โครงการน้ำดื่มประชารัฐ อย่างไรก็ตาม แม้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติผู้ให้ งบประมาณ จะทราบว่าน้ำดื่มประชารัฐเกี่ยวข้องกับสุขภาพ และทราบว่าการขออนุญาตผลิตและการ ประเมินสถานที่ผลิตต้องเป็นไปตามมาตรฐาน แต่ประเด็นข้อมูลปัญหาสุขภาพมิได้ถูกกำหนดใน หลักเกณฑ์การอนุมัติงบประมาณ 2)โอกาสการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายให้เป็น HiAP ยังไม่ชัดเจน: การที่รัฐเห็นถึงโอกาสแก้ไขปัญหาน้ำดื่มในชุมชนพร้อมกับการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากไปพร้อมกัน เป็นโอกาสให้เกิดนโยบายน้ำดื่มประชารัฐ แต่ด้วยยังไม่พบการนำปัจจัยด้านสุขภาพเชื่อมโยงเข้ากับ เป้าหมายทางเศรษฐกิจของนโยบาย จึงยังไม่เกิดโอกาสการเปลี่ยนแปลงให้เป็น HiAP 3) ผู้มีส่วนได้ เสียที่ยังไม่ครอบคลุมและขาดการมีส่วนร่วม: การที่หน่วยงานด้านสุขภาพไม่ถูกกำหนดใน คณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบายประชารัฐจังหวัด ร่วมกับการไม่มีสายสัมพันธ์เป็น ทุนเดิมระหว่างหน่วยงานด้านสุขภาพและสำนักงานกองทุนหมู่บ้าน ทำให้การดำเนินงานของแต่ละ หน่วยงานเป็นแบบแยกส่วน และการมีส่วนร่วมของหน่วยงานด้านสุขภาพจึงอยู่ในระดับที่น้อย คือ รับรู้ข้อมูลข่าวสารเท่านั้น แม้การศึกษานี้จะดำเนินการเฉพาะในจังหวัดลำพูน และอาจยังไม่ครอบคลุมมุมมองของ ภาคเอกชน แต่การวิเคราะห์นโยบายน้ำดื่มประชารัฐจังหวัดลำพูนนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็น ถึงช่องโหว่ของการเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายด้านสุขภาพและเป้าหมายทางด้านเศรษฐกิจของ นโยบายสาธารณะระดับประเทศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนระดับท้องถิ่น ผู้บริหารในระดับจังหวัดสามารถสนับสนุนให้นโยบายน้ำดื่มประชารัฐของจังหวัดเป็น HiAP มากขึ้น ทั้งโดยการสั่งการ (เช่น การให้กำหนดเป้าหมายด้านสุขภาพและการประเมินผลกระทบทาง สุขภาพเป็นประเด็นพื้นฐานในการพิจารณากำหนดนโยบาย, การปรับโครงสร้างคณะกรรมการฯ ให้มี หน่วยงานด้านสุขภาพ) และสนับสนุนการสร้างความตระหนัก และศักยภาพของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (เช่น อบรมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ HiAP, พัฒนาทักษะการจัดการข้อมูลด้านสุขภาพเพื่อใช้ในการ กำหนดนโยบาย, เพิ่มพูนทักษะการสร้างโอกาสเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย) และส่งเสริมการทำงาน ร่วมกันแบบบูรณาการอย่างมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | en_US |
Appears in Collections: | PHARMACY: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
601031008 สุนิสา สัจจวิโส.pdf | 4.71 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.