Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73986
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเชษฐภูมิ วรรณไพศาล-
dc.contributor.advisorจารุณี ทิพยมณฑล-
dc.contributor.authorอานนท์ ไชยฮั่งen_US
dc.date.accessioned2022-08-22T09:33:35Z-
dc.date.available2022-08-22T09:33:35Z-
dc.date.issued2020-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73986-
dc.description.abstractThere are 3 objectives of this research represents; (1) The study of the active learning education plan of the Secondary students (Mattayomsuksa 4). (2) The development of social innovation based on active learning education plan. (3) The satisfactory of students onto the active learning education plan for social innovation. The results of the research are as follows; (1) The survey result of the active learning education plan for the social innovation of the secondary school students of Sarapi Pittayakom Chiang Mai school has the average mean score as 3.20 whilst the standard deviation is 0.74. The evaluation of the active learning education plan for Social Innovation is highly appropriate when applying the active learning for Social Innovation activity to the student learning plan. (2) The result of Develop proactive learning management to encourage social innovation of the Secondary students (Mattayomsuksa 4) has the average mean score as 4.37 whilst the standard deviation is 0.33. This indicates the students of the Sarapi Pittayakom Chiang Mai school have highly skill on the active learning for Social Innovation. The students have the collaboration skill by following their own objectives, procedures, disciplines and evaluation. (3) The satisfactory of students of Sarapi Pittayakom school onto the active learning education plan for Social Innovation results 3.30 for average mean and 0.78 for the standard deviation which means high satisfactory.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectActive Learningen_US
dc.subjectSocial Innovationen_US
dc.subjectCreationen_US
dc.subjectSocialen_US
dc.titleการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสารภีพิทยาคมen_US
dc.title.alternativeActive learning management to encourage social innovation of Mathayomsuksa 4 Students Saraphi Phitthayakhom Schoolen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashโรงเรียนสารภีพิทยาคม-
thailis.controlvocab.thashสังคมศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)-
thailis.controlvocab.thashการเรียนแบบมีส่วนร่วม -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการเรียนรู้-
thailis.controlvocab.thashกิจกรรมการเรียนการสอน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการส่งเสริมนวัตกรรมทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการส่งเสริมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย แบบสอบถามแนวทางการการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคม ของนักเรียนโรงเรียนสารภีพิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่และนำไปจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ทางสังคมจาการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก และแบบความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรู้เชิงรุกสำหรับนวัตกรรมทางสังคมที่สร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการใช้แบบสอบถามแนวทางการการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคม ของนักเรียนโรงเรียนสารภีพิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.74 ผลการประเมินแนวทางการการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคม อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านข้อพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 6 อันดับแรกด้านผู้เรียน (μ = 3.28) ด้านครูผู้สอน (μ = 3.25) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน(μ = 3.24) ด้านเนื้อหาวิชา (μ = 3.22) ด้านสื่อและสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน (μ = 3.20) และด้านการวัดผลและประเมินผล (μ = 3.04) ตามลำดับ เมื่อนำข้อมูลแบบสอบถามแนวทางมาจัดกิจกรรมกรรมการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคม ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าแผนการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสม ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน โดยแผนการการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคม ของนักเรียนโรงเรียนสารภีพิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้พบว่า การประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้แบบการใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้(Community-based learning) และดำเนินการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 12 ชั่วโมง 2) ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการส่งเสริมนวัตกรรมทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.33 ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นขั้นตอนพบว่า ด้านการประเมินความคิดสร้างสรรค์กลุ่มเวียงกุมกามและต้นยางนาได้ค่าคะแนนอยู่ที่ 7 อยู่ในเกณฑ์ผ่าน ส่วนฝายพญาคำมีค่าคะแนนอยู่ที่ 8 อยู่ในเกณฑ์การปฏิบัติได้ดี ด้านทักษะกระบวนการทำงานเป็นการวัดกระบวนการกลุ่มเวียงกุมกามและต้นยางนาได้ค่าคะแนนอยู่ที่ 12 อยู่ในเกณฑ์ผ่าน ส่วนฝายพญาคามีค่าคะแนนอยู่ที่ 13 อยู่ในเกณฑ์การปฏิบัติได้ดี ด้านประเมินผลผลิตกลุ่มเวียงกุมกามได้ค่าคะแนนอยู่ที่ 13 กลุ่มต้นยางนาได้ค่าคะแนนอยู่ที่ 12 และกลุ่มฝายพญาคำได้ค่าคะแนนอยู่ที่ 13 ทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์ทำได้ดี ด้านประเมินการคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ผลงานกลุ่มเวียงกุมกามได้ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.33 อยู่ในเกณฑ์มีความสามารถมาก กลุ่มต้นยางนาได้ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.22 อยู่ในเกณฑ์มีความสามารถมาก และกลุ่มฝายพญาคำได้ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.56 อยู่ในเกณฑ์มีความสามารถมากมากที่สุด ด้านประเมินตนเองเป็นการประเมินผู้เรียนด้วยตัวกลุ่มเวียงกุมกามได้ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.69 อยู่ในเกณฑ์มีคุณภาพ กลุ่มต้นยางนาได้ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.69 อยู่ในเกณฑ์มีคุณภาพ และกลุ่มฝายพญาคำได้ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.56 อยู่ในเกณฑ์มีคุณภาพมาก 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรู้เชิงรุกสำหรับนวัตกรรมทางสังคมที่สร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.78 ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นขั้นตอนพบว่า ขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบเชิงรุก (μ = 3.35) ด้านนวัตกรรมที่ผู้เรียนได้หลังจากเรียนรู้แบบเชิงรุก (μ = 3.31) ด้านบรรยากาศที่ใช้ในการเรียนรู้ (μ = 3.26) นักเรียนสามารถนำความรู้ในการเรียนรู้เชิงรุกไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้ (μ = 3.28) ตามลำดับen_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600232072 อานนท์ ไชยฮั่ง.pdf3.86 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.