Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73980
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิยตา กาวีวงศ์-
dc.contributor.authorสกุลกาญจน์ สุริยะคฑาวัฒน์en_US
dc.date.accessioned2022-08-21T00:43:32Z-
dc.date.available2022-08-21T00:43:32Z-
dc.date.issued2022-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73980-
dc.description.abstractThis independent study aimed to investigate the patterns of personal financial planning of operational employees-level in Mueang Chiang Mai District. The data were collected through the questionnaires from a total of 400 operational employees, aged 21-60 years, working in department stores, banks, and government offices in Mueang Chiang Mai District. Data analysis was undertaken by the descriptive statistics e.g. frequency, mean, and percentage. The study results of the patterns of personal financial planning of operational-level employees in Mueang Chiang Mai District showed that the respondents planned for most savings and investment, followed by the asset purchasing or possessing plan, debt plan, retirement plan, tax plan, employee benefit plan, and no plan, respectively. Upon the study of the patterns of personal financial planning and the variables, ages, average monthly income, and occupations, it was found that the asset purchasing or possessing plan, savings and investment, and tax plan would increase based on the ages due to the relation with increased income. With regard to the debt plan and the age, it was mostly found among the respondents aged 21-30 years due to a lower level of income, increasing the need for loans and debt planning, accounted for 54.4 percent. With respect to the savings and investment and the age, most of the respondents, aged 41-50 years, had more savings and investment than other age ranges due to their high income, enabling greater savings and investment than the early periods of working. Regarding the relation of the patterns of personal financial planning with the average monthly income, it showed that the respondents with their average monthly income exceeding 60,000 Baht would mostly have the asset purchasing or possessing plan. In terms of the debt plan and the average monthly income, it was mainly identified among the respondents with their income ranges between 45,001-60,000 Baht whereas most of their debts were leased cars or motorcycles, leased goods, and credit cards. Regarding the relation of the patterns of the employee benefit plan with the occupations, it was mainly found among the respondents as private employees, followed by the government employees, mostly due to the need for welfares from their employers. The results of this study disclosed that upon the increased ages of the samples, the monthly income was assumed to be higher and the debts would be likely to decrease until their retirement phase. The results were congruent with the personal financial planning concepts proposed by Gitman and Joehnk (2005), describing that the income would likely increase and decrease at the last stage of the cycle whereby the following phases of age would be fully planned in a continuous manner and the last stage of age was the retirement phase regarded as the time to gain the benefits from personal financial planning.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการวางแผนการเงินส่วนบุคคลen_US
dc.titleการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของพนักงานระดับปฏิบัติการในอำเภอเมืองเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativePersonal financial planning of operational-level employees in Mueang Chiang Mai Districten_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashการเงินส่วนบุคคล-
thailis.controlvocab.thashการเงินส่วนบุคคล -- การวางแผน-
thailis.controlvocab.thashการเงินส่วนบุคคล -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการเงิน -- การวางแผน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของพนักงานระดับปฏิบัติการในอำเภอเมืองเชียงใหม่ เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากพนักงานระดับปฏิบัติการในห้างสรรพสินค้า ธนาคาร หน่วยงานของรัฐ ในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 400 คน อายุตั้งแต่ 21 ปี ถึง 60 ปี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ ผลการศึกษารูปแบบการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของพนักงานระดับปฏิบัติการในอำเภอเมืองเชียงใหม่ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีการวางแผนในด้านการออมและการลงทุนมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การวางแผนการซื้อหรือครอบครองสินทรัพย์ การวางแผนในด้านของหนี้สิน การวางแผนการเกษียณ การวางแผนทางภาษี การวางแผนผลประโยชน์ของพนักงาน และ ไม่มีการวางแผนใดๆ ตามลำดับ เมื่อศึกษาถึงรูปแบบการวางแผนการเงินส่วนบุคคลกับตัวแปร อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ อาชีพ ทำให้ทราบว่าการวางแผนการซื้อหรือครอบครองสินทรัพย์ การออมและการลงทุน และ การวางแผนภาษี เพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น การวางแผนของหนี้สินกับอายุ ส่วนใหญ่พบในผู้ตอบแบบสอบถามมีอายุ 21 – 30 ปี เนื่องจากยังมีรายได้ไม่มาก ทำให้ต้องมีการกู้ยืม และ วางแผนในด้านของหนี้สินมาก คิดเป็นร้อยละ 54.4 การวางแผนการออมและการลงทุนกับอายุ ส่วนใหญ่พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามช่วงอายุ 41-50 ปี มีการออมและการลงทุนมากกว่าช่วงอายุอื่น เนื่องจากมีรายได้สูง ทำให้สามารถออมและลงทุนได้มาก กว่าช่วงที่เริ่มต้นทำงานแรกๆ ส่วนในด้านความสัมพันธ์ของรูปแบบการวางแผนการเงินส่วนบุคคล กับ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ทำให้ทราบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 60,000 บาทขึ้นไป จะมีการวางแผนการซื้อหรือครอบครองสินทรัพย์มากที่สุด การวางแผนของหนี้สิน กับ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ส่วนใหญ่พบในผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้ 45,001 – 60,000 บาท ประเภทหนี้สินที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ ได้แก่ สินเชื่อเพื่อซื้อรถยนต์ หรือ จักรยานยนต์ การเช่าซื้อสินค้า และ บัตรเครดิต เป็นต้น ส่วนในด้านความสัมพันธ์ของรูปแบบการวางแผนผลประโยชน์ของพนักงาน กับ อาชีพ ส่วนใหญ่พบในผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นพนักงานเอกชน รองลงมา คือ ลูกจ้างรัฐ เนื่องจากมีความต้องการสวัสดิการจากหน่วยงานที่ทำงานมากที่สุด เป็นต้น ผลการศึกษานี้พบว่า เมื่อกลุ่มตัวอย่างมีอายุเพิ่มขึ้น สามารถอนุมานได้ว่ารายได้ต่อเดือนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นด้วย และ หนี้สินมีแนวโน้มลดลงจนถึงช่วงเกษียณอายุ ซึ่งสอดคล้องกับ แนวคิดการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของ Gitman and Joehnk (2005) ที่ได้กล่าวว่า รายได้จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และ ลดลงในช่วงสุดท้ายของวัฏจักร ซึ่งอายุในช่วงถัดไปจะดำเนินการวางแผนทุกอย่างต่อจากช่วงก่อน เพื่อเข้าสู่ช่วงวัยเกษียณอายุ และช่วงอายุสุดท้ายคือช่วงเกษียณอายุ ซึ่งจะเป็นช่วงที่สามารถเก็บเกี่ยวผลของการวางแผนการเงินส่วนบุคคลได้en_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ISป.โท_611532105_watermark.pdfการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของพนักงานระดับปฏิบัติการในอำเภอเมืองเชียงใหม่1.65 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.