Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73979
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์-
dc.contributor.authorฮัรตีนี จารงen_US
dc.date.accessioned2022-08-21T00:39:55Z-
dc.date.available2022-08-21T00:39:55Z-
dc.date.issued2022-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73979-
dc.description.abstractGranting access to Halal services for MICE is another way to increase the potential of MICE businesses in Thailand and expand the availability of MICE for Muslim MICE travelers. The objective of this study is to: 1) Study the availability components of Halal services in the meeting businesses and specifically the details of Halal service in each component. 2) Formulate the measurement scale of the availability of Halal services in meeting businesses. 3) Measure the availability of Halal services in meeting businesses by using Chiang Mai province as a case study. The sample group for this study consists of service providers that related meeting businesses nationally, which the sample group contains 550 examples. From the aforementioned objective, the researchers divided the study into 4 steps. First, in order to formulate the primary measurement scale, we started by literature reviewing related studies to examine the concept of a “MICE destination” and Halal services. We have also interviewed experts on meeting service providers and Halal services. The Halal service in meeting business measurement scale is composed of 10 components as follows: Accessibility, Amenity, Activity, Attraction, Area/venue, Accommodation, Agency, Accountability, Award, and Advance in business opportunity. Including Halal-related questions in each component. Second, validating the content validity of the measurement scale by experts, and giving questionnaires to try-out groups to adjust the Halal questions, in order to formulate the valid and applicable measurement scale which consists of 39 Halal-related questions. Third, assessing the scale validity and reliability after collected data from the sample groups. The researchers used R software to analyze the data provided by applying the confirmatory factor analysis (CFA) method. We have found that the factor loading of the 10 components at a tolerable degree, and the questionnaire has 36 Halal items left in total. Moreover, we use the measurement scale to assess the composite reliability, construct validity (both convergent validity and discriminant validity), all are at an acceptable degree. The final section of the study, the researchers apply the measurement scale of the availability of Halal services. We studied the meeting businesses in Chiang Mai and assessed the availability rate of Halal services in meeting businesses in each component and the overall readiness result. The researchers have found that Amenity was the highest-rated component of availability of Halal services in meeting businesses in Chiang Mai, which scored 2.87. While the component with the least score is the Advance in business opportunity which rated 0.32. And the overall readiness result of the availability of halal services in meeting businesses in Chiang Mai was rated 3.45. The availability development of Halal services in the Meeting businesses in Chiang Mai in various aspects still need to be improved and develop simultaneously, especially for providing information or knowledge about Halal services, basic principles, and guidelines for service providers related to the Meeting businesses. The public and private organizers that are responsible for driving the MICE in Chiang Mai must cooperatively study and plan to support the market of Muslim travelers and Muslim MICE business groups in the future.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนามาตรวัดความพร้อมของจุดหมายปลายทางการจัดประชุมฮาลาลในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeScale development of halal meeting destinations readiness in Chiang Maien_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashอาหารฮาลาล-
thailis.controlvocab.thashอาหารมุสลิม-
thailis.controlvocab.thashมุสลิม-
thailis.controlvocab.thashการประชุม -- เชียงใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการพัฒนาธุรกิจไมซ์ให้มีการบริการในรูปแบบฮาลาลเป็นอีกวิธีการหนึ่งในการพัฒนาไมซ์ในประเทศไทยให้มีความหลากหลาย และสามารถรองรับนักเดินทางไมซ์มุสลิมได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ คือ 1) ศึกษาองค์ประกอบสำหรับการบริการฮาลาลของจุดหมายปลายทางการจัดประชุม และรายละเอียดของการให้บริการฮาลาลในแต่ละองค์ประกอบ เพื่อนำมาสร้างเป็นตัวชี้วัดในมาตรวัดความพร้อมของจุดหมายปลายทางการจัดประชุมฮาลาล 2) สร้างและพัฒนามาตรวัด เพื่อวัดความพร้อมของจุดหมายปลายทางการจัดประชุมฮาลาล 3) สามารถวัดความพร้อมของจุดหมายปลายทางการจัดประชุมฮาลาลในจังหวัดเชียงใหม่ สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ กลุ่มผู้ให้บริการที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจการจัดประชุมภายในประเทศ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีจำนวนรวมทั้งหมด 550 ตัวอย่าง จากวัตถุประสงค์ข้างต้นผู้วิจัยได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่หนึ่ง การสร้างมาตรวัดในเบื้องต้น เริ่มจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาแนวคิดของการเป็นเมืองจุดหมายปลายทางไมซ์ และการให้บริการฮาลาลในด้านต่าง ๆ พร้อมทั้งสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการจัดงานประชุม และการบริการฮาลาล มาตรวัดความพร้อมของการให้บริการฮาลาลในธุรกิจการจัดประชุมประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 10 ด้าน ได้แก่ การเข้าถึง สิ่งอำนวยความสะดวก กิจกรรม สิ่งดึงดูดใจ สถานที่จัดงาน สถานที่พักแรม ผู้จัดงาน ความพร้อมของคนท้องถิ่น รางวัลและความสำเร็จ และการผลักดันโอกาสทางธุรกิจ และทำการสร้างข้อคำถามฮาลาลในแต่ละองค์ประกอบ ขั้นตอนที่สอง การประเมินความตรงเชิงเนื้อหาของมาตรวัดโดยผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการนำแบบสอบถามไปใช้ในกลุ่มทดลอง ทำการปรับปรุงข้อคำถามฮาลาลเพื่อให้ได้มาตรวัดที่พร้อมใช้งานซึ่งประกอบด้วยข้อคำถามฮาลาลทั้งหมด 39 ข้อ ขั้นตอนที่สาม การทดสอบความตรง และความเชื่อมั่นของมาตรวัดหลังจากนำไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจริง ผู้วิจัยใช้โปรแกรม R ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วีธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการศึกษาพบว่า มาตรวัดที่สร้างขึ้นมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบทั้ง 10 ด้านอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ และเหลือข้อคำถามฮาลาล จำนวน 36 ข้อ นอกจากนั้นค่าความเชื่อมั่นเชิงองค์ประกอบ ค่าความตรงเชิงเหมือน และความตรงเชิงจำแนกของมาตรวัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ขั้นตอนสุดท้าย การนำมาตรวัดไปใช้ในการวัดความพร้อมของจุดหมายปลายทางการจัดประชุมฮาลาลโดยทำการศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสามารถคำนวณหาค่าคะแนนความพร้อมของการให้บริการฮาลาลในแต่ละองค์ประกอบ และความพร้อมโดยรวม ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดเชียงใหม่มีค่าความพร้อมของจุดหมายปลายทางการจัดประชุมฮาลาลมากที่สุดในด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มีค่าคะแนนความพร้อมเท่ากับ 2.87 คะแนน ส่วนด้านที่มีความพร้อมของของจุดหมายปลายทางการจัดประชุมฮาลาลน้อยที่สุดคือ ด้านการผลักดันโอกาสทางธุรกิจ มีค่าคะแนนความพร้อมเท่ากับ 0.32 คะแนน และค่าความพร้อมของของจุดหมายปลายทางการจัดประชุมฮาลาลในจังหวัดเชียงใหม่โดยรวมมีค่าเท่ากับ 3.45 คะแนน การพัฒนาความพร้อมของของจุดหมายปลายทางการจัดประชุมฮาลาลในจังหวัดเชียงใหม่ในองค์ประกอบด้านต่าง ๆ ยังคงต้องได้รับการปรับปรุง และพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะการให้ข้อมูล หรือองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการให้บริการฮาลาล หลักการ และแนวทางในการปฏิบัติในเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการจัดประชุม ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนธุรกิจไมซ์ในจังหวัดเชียงใหม่ต้องร่วมกันศึกษาและวางแผนเพื่อรองรับกลุ่มนักเดินทางไมซ์มุสลิมในอนาคตen_US
Appears in Collections:ECON: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.