Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73960
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารยา ผลธัญญา-
dc.contributor.authorภัทรานิษฐ์ จิตสำรวยen_US
dc.date.accessioned2022-08-20T06:03:27Z-
dc.date.available2022-08-20T06:03:27Z-
dc.date.issued2022-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73960-
dc.description.abstractThis Qualitative research aimed to explores psychological experiences of older adults about lived amidst dynamics of change in the old communities of Mueang Chiang Mai District by using interpretative phenomenological analysis (IPA). Data was gathered from in-depth semi-structured interview with four key informants selected by purposive homogeneous sampling based on gate keeper and snowball sampling, who are older adults deemed to have had experiences of grown up and spent the life cycle in Charoen-Muang Road and Railway Station. The analysis revealed five main themes emerging from the data: (1) ‘Strong connections with others in the old communities’, (2) ‘Love and attachment to their own place in the old communities’, (3) ‘Creativity for existence of value in retirement life by work and lifestyle’, (4) Discord with the current situation in the old communities and (5) ‘Learning about change one's self and environment.’ The findings suggest that older adults have both positive and negative emotions and thoughts in experiences with lived amidst dynamics of change in the old communities as the result of development psychology, adaptation in aging process and their the old communities context. Also, older adults have adapted both internal and external and construct the elderly representations to positive by communities resource such as relationship, environment, and friendly activity for older adults. The study draws attention to emotions and thoughts experience in everyday life of older adults that are related with biological, psychological, social and spiritual dimensions, especially social and cultural context in their lived. The results of this study can be applied for positive outcome of the well-being amid urbanization and aging society in Thailand as appropriate.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectประสบการณ์ทางจิตใจen_US
dc.subjectสังคมสูงวัยen_US
dc.subjectการวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความen_US
dc.titleประสบการณ์ทางจิตใจของผู้สูงอายุในการดำเนินชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของย่านชุมชนเก่า ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativePsychological experiences of the elderly about lived amidst dynamics of Change in the old communities of Mueang Chiang Mai Districten_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต-
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอาย -- การดูแล-
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอาย -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashชุมชน -- เชียงใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของผู้สูงอายุเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของย่านชุมชนเก่า ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ใช้การวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันแบบเฉพาะเจาะจงผ่านผู้นำเข้าสู่แหล่งข้อมูลกับการบอกต่อแบบสุ่ม ซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่เกิด เติบโต และดำเนินชีวิตช่วงวัยสูงอายุในย่านการค้าถนนเจริญเมืองและสถานีรถไฟ เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 4 ราย ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์ทางจิตใจของผู้สูงอายุเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของย่านชุมชนเก่าฯ มีจำนวน 5 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1. ผู้สูงอายุกับสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้คนในย่านชุนชนเก่า 2. ผู้สูงอายุกับความรักและผูกพันต่อย่านชุมชนเก่า 3. ผู้สูงอายุกับความสร้างสรรค์ในการดำรงคุณค่าในวัยเกษียณผ่านงานและวิถีชีวิต 4. ผู้สูงอายุกับความไม่ลงรอยในการดำเนินชีวิตในย่านชุมชนเก่า และ 5. ผู้สูงอายุกับการเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงของตนเองและสภาพแวดล้อม จากสิ่งค้นพบในการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้สูงอายุมีอารมณ์ความรู้สึกและความคิดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของย่านชุมชนเก่าที่ตนเองอาศัยอยู่ทั้งด้านบวกและด้านลบ อาจเนื่องมาจากจิตวิทยาพัฒนาการและการปรับตัววัยสูงอายุ รวมถึงลักษณะเฉพาะเจาะจงของพื้นที่ นอกจากนี้จากสิ่งค้นพบในการวิจัยครั้งนี้มีข้อสังเกตน่าสนใจที่ว่าผู้สูงอายุปรับตัวทั้งภายในและภายนอกพร้อมกันโดยอาศัยทรัพยากรภายในพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในการทำให้การดำเนินชีวิตช่วงวัยสูงอายุเป็นไปในทิศทางบวก ทั้งสัมพันธภาพ สภาพแวดล้อม และกิจกรรมที่เป็นมิตร ผลการวิจัยครั้งนี้จึงนำไปสู่การทำความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกและความคิดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตช่วงวัยสูงอายุ โดยตระหนักว่าสภาวะดังกล่าวของบุคคลเกี่ยวข้องกับมิติด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริบททางสังคมและบริบททางวัฒนธรรมที่บุคคลนั้น ๆ เกิด เติบโต และกำลังใช้ชีวิตประจำวัน อันสามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ในการเอื้ออำนวยการมีสุขภาวะที่ดีแก่บุคคลท่ามกลางกระบวนการกลายเป็นเมืองและการกลายเป็นสังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ของประเทศไทยได้ตามความเหมาะสมen_US
Appears in Collections:HUMAN: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ID610132020_Patranit.pdfประสบการณ์ทางจิตใจของผู้สูงอายุในการดำเนินชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของย่านชุมชนเก่า ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่_Patranit6.38 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.