Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73953
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสร้อยสุดา วิทยากร-
dc.contributor.authorภรณ์รัชต์ บุญมากen_US
dc.date.accessioned2022-08-20T05:26:46Z-
dc.date.available2022-08-20T05:26:46Z-
dc.date.issued2022-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73953-
dc.description.abstractThis research is mixed methods research in which the data was collected qualitatively and descriptively. The purpose is to apply the art-making process to pave the career path for students with low vision and multiple disabilities. This case study utilized purposive sampling with four conditions. 1) Being a student with low vision and multiple disabilities at The Northern School for The Blind under patronage of the Queen. 2) Being in the 3rd group of curriculum planning which consists of students with multiple disabilities who cannot study in academic programs. 3) Being capable of and interested in art works. 4) Over 15 years old and about to graduate from school. Based on these conditions, the selected case study is a 20-year-old female student with an ID card for persons with disabilities type 1.2.5 (low vision, hearing impairment, and deaf.) The case study suffers from low vision. Despite that, she can see with the aid of glasses and can communicate with sign language. Additionally, she shows sign of obsessive-compulsive disorder and inflexibility, including doing repeated activities and playing with electrical appliances while also being creative, specializing in a certain skill, like drawing, and communicating her favorite experiences through painting. She can illustrate a story or convey her desire. through drawing are three Tools applied in this research were 1) Curriculum planning consisted of 1.1) individual implementation plans. (IIP) The first plan, “Do you Know Me?”, comprised two activities (basic knowledge about the definition of printing and the characteristics of printing blocks and patterns). The second plan, My Duties, comprised one activity (materials and tools). The third plan, Who I am, what is more than flowers, comprises two activities (creation techniques and procedure). 2) An assessment form to evaluate the preparation to step into the professional world for students with low vision and multiple disabilities. 3) An evaluation form assess for productive artwork of printing on a canvas bag according to the use of art-making process. The lessons were implemented privately according to the plans, each plan was taught six times, and the total lessons were 18 times. The researcher noted down the student’s behavior during activities. Data were analyzed in terms of mode, quality levels, and descriptive analysis. The results revealed that 1) The preparation for the career path of students with low vision and multiple disabilities based on mode and quality levels in terms of 1. insight, 2. working skills: 2.1 the knowledge of materials and tools and 2.2 creation techniques, and 3. pride of the artwork indicate that the mode is at level 3 implying good quality. 2) The artwork on a canvas bag produced by the art-making process showed that 1. creative artwork, 2. artwork based on composition principle, 3. the neatness of the artwork, and 4. attention on the artwork indicate the mode of level 2 implying average quality. For the second criterion which is the artwork based on composition principle in terms of 2.1 procedure, the case study could create the artwork of the first and second patterns correctly based on composition principle, position, colors, shapes, gaps, and harmony. She could use story, colors, shapes, positions, and harmony correctly by herself in every step. The result of the third pattern (the creative artwork of the case study) which was the flower printing based on composition principle showed that the case study implemented artwork by herself. However, the product was imitated from the first and second patterns (assigned by the researcher). It was not produced or adjusted by her own creativity and did not show the outstanding novelty.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectศิลปะen_US
dc.subjectงานภาพพิมพ์en_US
dc.subjectอาชีพen_US
dc.subjectนักเรียนสายตาเลือนรางen_US
dc.subjectพิการซ้อนen_US
dc.titleการใช้กระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะ ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาชีพสำหรับนักเรียนสายตาเลือนรางพิการซ้อนen_US
dc.title.alternativeUsage of creative art process in career preparation for a student with low vision and multiple disabilitiesen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา-
thailis.controlvocab.thashคนพิการทางสายตา-
thailis.controlvocab.thashศิลปะ -- การศึกษาและการสอน-
thailis.controlvocab.thashการพัฒนาอาชีพ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงแบบผสม (Mixed Methods Research) กล่าวคือ มีกระบวนการเก็บข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ การใช้กระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะ ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาชีพ สำหรับนักเรียนสายตาเลือนรางพิการซ้อน ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบรายกรณี ได้คัดเลือกแบบเจาะจง โดยมีเงื่อนไข คือ 1. เป็นกลุ่มนักเรียนสายตา เลือนรางพิการซ้อน ในโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่ 2. อยู่ในกลุ่มที่ต้องจัดการเรียนการสอนในกลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มนักเรียนฝึกอาชีพสำหรับนักเรียนที่มี ความพิการซ้อน และไม่สามารถศึกษาในสายสามัญได้ 3. มีความถนัด ความสนใจ และความสามารถพิเศษในงานศิลปะ 4.อายุมากกว่า 15 ปี และใกล้จะจบการศึกษาของโรงเรียน จากเงื่อนไขที่กำหนดดังกล่าว ได้กรณีศึกษา เพศหญิง วัย 20 ปี มีการจดทะเบียนคนพิการ ประเภทความพิการที่ระบุในบัตรประจำตัวคนพิการ คือ 1.2.5 (ตาเลือนราง สื่อความหมาย หูหนวก) ลักษณะที่พบเห็นคือ กรณีศึกษา มีสายตาเลือนรางสามารถมองเห็น แต่ต้องใช้แว่นตาช่วย ใช้ภาษามือในการสื่อสาร มีพฤติกรรมย้ำคิด ย้ำทำ ไม่ยืดหยุ่น การทำกิจกรรมต่างๆ ซ้ำๆ ชอบเล่นเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคโทรนิค มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความสามารถพิเศษ ชอบวาดภาพ สื่อสารด้วยภาพวาด จากประสบการณ์ที่ ตนเองชอบ โดยการวาดภาพ เป็นเรื่องราว หรือสื่อสารด้วยภาพวาดให้ผู้อื่นได้ทราบถึงความต้องการได้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการเรียนการสอน ดังนี้ 1.1) แผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan : IIP) แผนที่ 1 เรื่อง รู้จักฉันไหม มี 2 กิจกรรม (ความรู้พื้นฐาน เรื่อง ความหมายภาพพิมพ์ และ ลักษณะของแม่พิมพ์ รูปแบบการพิมพ์) แผนที่ 2 เรื่อง หน้าที่ของฉัน มี 1 กิจกรรม (วัสดุ-อุปกรณ์) แผนที่ 3 เรื่อง ฉันคือใคร มีอะไรมากกว่าดอกไม้ มี 2 กิจกรรม (เทคนิคการสร้างสรรค์ และขั้นตอนการปฏิบัติงาน ) 2) แบบประเมิน การเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาชีพ สำหรับนักเรียนสายตาเลือนรางพิการซ้อน 3) แบบประเมิน ผลงานตามกระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะ ภาพพิมพ์บนกระเป๋าผ้า ผู้วิจัยดำเนินแผนการสอนเฉพาะบุคคล แผนละ 6 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 18 ครั้ง พร้อมกับการบันทึกพฤติกรรมกรณีศึกษาขณะทำกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลในค่าฐานนิยม ระดับคุณภาพ และเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาชีพ สำหรับนักเรียนสายตาเลือนรางพิการซ้อน โดยรวม ตามองค์ประกอบ โดยค่าฐานนิยม และระดับคุณภาพ ดังนี้ 1. ด้านความรู้ความเข้าใจ 2. ด้านทักษะการทำงาน 2.1 การรู้จักวัสดุเครื่องมือ 2.2 เทคนิคการสร้างสรรค์ 3. ด้านความภาคภูมิใจในผลงาน ค่าฐานนิยม อยู่ระดับ 3 ระดับคุณภาพ ดี 2) ผลงานตามกระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะภาพพิมพ์บนกระเป๋าผ้า พบว่า 1. ความคิดสร้างสรรค์ของผลงาน 2. ผลงานตามหลักองค์ประกอบศิลป์ 3. ความสะอาดประณีตของผลงาน 4. ความตั้งใจในการปฏิบัติงาน ค่าฐานนิยม อยู่ระดับ 2 ระดับคุณภาพ พอใช้ ในหัวข้อ 2. ผลงานตามหลักองค์ประกอบศิลป์ 2.1 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน กรณีศึกษาสามารถสร้างผลงานได้อย่างถูกต้องตามหลักองค์ประกอบศิลป์ การจัดวาง สี รูปร่าง ช่องว่าง ความกลมกลืน ทั้ง 2 รูปแบบ ทั้งการใช้เรื่อง สี รูปร่าง การจัดวาง ความกลมกลืน ได้ถูกต้อง ได้ด้วยตนเองทุกขั้นตอน แต่เมื่อพิจารณาถึงการสอนรูปแบบที่ 3 (ผลงานตามความคิดสร้างสรรค์ของกรณีศึกษา) การกดดอกไม้ตามหลักการองค์ประกอบศิลป์ กรณีศึกษาสามารถปฏิบัติเองโดยใช้ความจำและปฏิบัติผลงานออกมาตามรูปแบบที่ 1และรูปแบบที่ 2 (ผู้วิจัยกำหนดให้) ซึ่งเป็นการเลียนจากแบบตัวอย่างเดิม ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยน หรือเพิ่มเติมที่แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่อย่างเด่นชัดขึ้นen_US
Appears in Collections:EDU: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.