Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73938
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปีดิเทพ อยู่ยืนยง | - |
dc.contributor.advisor | พรชัย วิสุทธิศักดิ์ | - |
dc.contributor.author | ชิดชนก ชูสกุลนิติสินธ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-08-20T00:49:47Z | - |
dc.date.available | 2022-08-20T00:49:47Z | - |
dc.date.issued | 2022-06 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73938 | - |
dc.description.abstract | An Independent study entitled “Political Economy Study on Legal Problem of Marijuana Control in Thailand”, this issue, has the following objectives: 1) to investigate the history and framework of marijuana-related drugs using a political economic analysis framework that incorporates critical analysis, a holistic perspective, historical analysis, and conflict and conflict analysis, 2) to investigate the evolution of marijuana regulation in Thailand, including how it came about and who benefited or suffered as a result, and 3) to investigate the issues and impediments that marijuana-related law enforcement faces. A qualitative research technique was used, which included document research as well as in-depth interviews with 22people, including the official office of the narcotics control board (ONCB), The official of food and drug administration (FDA), or provincial public health office, Thai traditional medicine or applied Thai traditional medicine, pharmacists, nurses, agricultural professionals, community enterprise groups, drug suppression police, lawyers, patients, experienced cannabis users, and others related. The researcher examined Antonio Gramsci's leadership through the lens of political economics and Neo-Marxist theory including the notions of historical groups, power, and interest groups, as well as Roland Barthes' mythic theory, which the researcher employed as a springboard for thought. Marijuana regulation in Thailand is tied to political economics, owing to medicinal marijuana regulations, and it is related to power and the distribution of interests, according to the findings of the study. Numerous parties, including the governmental sector, the corporate sector, and the public, have been discovered to play a role, producing a power triangle in which many parties influence policy choices, the formation of stakeholders, and several important interest groups 4 big groupings. They are: 1. medical marijuana interest groups, 2. recreational cannabis interest groups, 3. political cannabis interest groups, and 4. cannabis interest groups in the field of economic crops. It has been discovered that the roles and activities of some organizations are inextricably linked to political power and are defined by overlaps between group interests and public interest. Even after the drug code of 2021 takes effect, marijuana remains a category 5 substance, according to the Ministry of Public Health's notification about the name of a category 5 drug for the year 2020. However, beginning on June 9, 2022, when the Ministry of Public Health announced that the whole cannabis plant and extract containing tetrahydrocannabinol, but not more than 0.2 percent, it shall be deemed not to be a category 5 narcotic. However, if the tetrahydrocannabinol content of an extract of the cannabis plant or the seeds of the said cannabis plant exceeds 0.2 percent or more, it is considered illegal because it is classified as a category 5 narcotic under the law, even if the cannabis plant is licensed for domestic cultivation. In terms of law enforcement concerns and impediments relating to marijuana, it was discovered that, from the perspective of law enforcement or officials engaged, it was a problem of avoiding the law by ostensibly being a patient, the issue of drug law fragmentation (The findings in the early stages of the study which is currently amended with the existence of the drug code of 2021), problems with marijuana's legal status when the new drug code takes effect in 2021, as well as concerns with law enforcement and officer performance. According to doctors and healthcare experts, there are issues with the regulation of medical cannabis usage, issues with the marijuana supply chain, and a lack of proof for the treatment of sickness. However, from the perspective of the patient, a lack of knowledge about medical cannabis, which has been linked to a lack of judgment when reading the news and listening to information about cannabis, has resulted in issues with its use and access to medicinal cannabis that were later proven to be incorrect. As a result, the Narcotics Act of 2019 (No.7) and Cannabis-Related Laws are vital instruments for the governing or elite to defend their control. In which the law is considered part of the upper social structure according to Karl Marx, and this cannabis law is also regarded as a public policy in terms of the country's medical and public health components, it arises from the influences of economy, law, politics, society, and culture, etc. that are interconnected with each other. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | Political Economy | en_US |
dc.subject | Narcotics | en_US |
dc.subject | Marijuana | en_US |
dc.subject | Cannabis | en_US |
dc.title | เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมกัญชาในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | Political economy study on legal problem of Marijuana control in Thailand | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | - |
thailis.controlvocab.thash | กัญชา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | - |
thailis.controlvocab.thash | กัญชา -- การควบคุม | - |
thailis.controlvocab.thash | ยาเสพติด -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | - |
thailis.controlvocab.thash | เศรษฐศาสตร์การเมือง | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง “เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมกัญชาในประเทศไทย” ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและกรอบกฎหมายยาเสพติดให้โทษเกี่ยวกับกัญชา ผ่านกรอบการวิเคราะห์แบบเศรษฐศาสตร์การเมือง ซึ่งประกอบไปด้วย การวิเคราะห์แบบวิพากษ์ การมองภาพในลักษณะแบบองค์รวม การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ และการวิเคราะห์ความขัดแย้งและการขัดกัน 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการการควบคุมกัญชาในประเทศไทยว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ใครได้ประโยชน์หรือเสียผลประโยชน์ และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคจากการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับกัญชาดังกล่าว มีรูปแบบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การค้นคว้าจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 22 ท่าน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) แพทย์แผนไทยหรือการแพทย์แผนไทยประยุกต์ เภสัชกร พยาบาล ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำรวจชุดปราบปรามยาเสพติด ทนายความ ผู้ป่วย ผู้มีประสบการณ์การใช้กัญชา และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยผู้ศึกษาได้นำแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมือง ทฤษฎีนีโอมาร์กซิสต์ในแนวคิดการครองอำนาจนำของอันโตนิโอ กรัมชี แนวคิดกลุ่มทางประวัติศาสตร์ แนวคิดเรื่องอำนาจ และกลุ่มผลประโยชน์ ตลอดจนทฤษฎีมายาคติของโรล็องด์ บาร์ตส์ มาใช้เป็นฐานคิด ผลการศึกษาพบว่า การควบคุมกัญชาในประเทศไทยมีความเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์การเมือง เนื่องจากกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ มีความเกี่ยวพันกับเรื่องของอำนาจและการจัดสรรผลประโยชน์ โดยพบว่ามีหลายฝ่ายเข้ามีบทบาททั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เกิดพื้นที่ของความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่หลายฝ่ายเข้ามามีผลต่อการตัดสินใจเชิงนโยบาย เกิดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและกลุ่มผลประโยชน์หลัก 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1. กลุ่มผลประโยชน์กัญชาทางการแพทย์ 2. กลุ่มผลประโยชน์กัญชาเพื่อสันทนาการ 3. กลุ่มผลประโยชน์กัญชาในแง่การเมือง และ 4. กลุ่มผลประโยชน์กัญชาในแง่พืชเศรษฐกิจ โดยพบว่าบทบาทและการดำเนินการของกลุ่มบางอย่างที่มีความสัมพันธ์และมีจุดร่วมกันบางอย่างกับอำนาจทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง และเป็นลักษณะการทับซ้อนกันระหว่างผลประโยชน์ของกลุ่มและผลประโยชน์ของสาธารณะ โดยกัญชายังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 อยู่เหมือนเดิม ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563 แม้ในภายหลังประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 จะใช้บังคับ แต่หลังจาก 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป เมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับ ส่วนประกอบของพืชกัญชาทั้งหมดและสารสกัดที่มีปริมาณสารสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก ไม่ถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 แต่หากสารสกัดที่ได้จากพืชกัญชาหรือเมล็ดของพืชกัญชาดังกล่าว แม้จะมาจากพืชกัญชาที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกภายในประเทศก็ตาม หากปรากฎว่ามีปริมาณสารสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก ขึ้นไป ถือว่าผิดกฎหมาย เพราะถูกจัดอยู่ในยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามกฎหมายดังกล่าว ส่วนประเด็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคจากการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาพบว่า ในมุมมองของผู้บังคับใช้กฎหมายหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัญหาการหลีกเลี่ยงกฎหมายโดยการแอบแฝงเป็นผู้ป่วย ปัญหาการกระจัดกระจายของกฎหมายยาเสพติด (ข้อค้นพบในช่วงแรกของการศึกษา ซึ่งปัจจุบันได้รับการแก้ไขด้วยการมีประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564) ปัญหาสถานะทางกฎหมายของกัญชาเมื่อประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มีผลบังคับใช้ และปัญหาการบังคับใช้กฎหมายตลอดจนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ส่วนมุมมองของแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์พบปัญหาเกี่ยวกับการกำกับดูแลการใช้กัญชาทางการแพทย์ ปัญหาห่วงโซ่อุปทานของกัญชาในตลาด และ ปัญหาการขาดหลักฐานทางการรักษาโรคที่เป็นประจักษ์ และในมุมมองของผู้ป่วย ได้แก่ ปัญหาขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับปัญหาการขาดวิจารณญาณในการอ่านข่าวและรับฟังข้อมูลข่าวสารที่ได้รับเกี่ยวกับกัญชา อันนำไปสู่ปัญหาการใช้และเข้าถึงการใช้กัญชาในทางที่ผิดในเวลาต่อมา ดังนั้น พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชา จึงมีความสำคัญในฐานะที่เป็นเครื่องมือของชนชั้นปกครองหรือชนชั้นนำเพื่อปกป้องอำนาจของตน ซึ่งกฎหมายถือเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างสังคมส่วนบนตามทัศนะของคาร์ล มาร์กซ์ และกฎหมายเกี่ยวกับกัญชานี้ยังถือเป็นนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางด้านการแพทย์และมิติสุขภาพของประชาชนในประเทศ โดยเกิดจากอิทธิพลด้านเศรษฐกิจ กฎหมาย การเมือง สังคมและวัฒนธรรม ฯลฯ ที่ต่างมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน | en_US |
Appears in Collections: | SOC: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมกัญชาในประเทศไทย.pdf | 40.88 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.