Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73936
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เสรี ใหม่จันทร์ | - |
dc.contributor.author | บรรหาร อินทร์แก้ว | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-08-20T00:36:04Z | - |
dc.date.available | 2022-08-20T00:36:04Z | - |
dc.date.issued | 2022-07 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73936 | - |
dc.description.abstract | The objective of this research was to examine the effects of individual counseling on self-care among people living with HIV. A single-case experimental design was employed with the purposive sampling method among four-volunteer participants. Data from a self-care behavior assessment before, during and at the end of the counseling along with the qualitative data. That is, the data were recorded in accordance with the eclectic approach of counseling between the person-centered counseling and behaviorism approach. The results illustrated that the self-care behavior scores of the four samples tended to increase in all three requisite aspects: the universal self-care, the developmental self-care, and the health deviation self-care. Moreover, the qualitative findings of the study revealed that behavior modification during the psychological counseling process raised the awareness of their own health conditions among the clients. As a result, the intrinsic need for self-care became the motivation and the actions in accordance with self-care activities to meet the mentioned need. Through the reinforcement that came in, it encouraged self-care actions to reach the set goals. Additionally, it also resulted in the clints learning to increase the stimulus and to continuously reinforce themselves to maintain self-regulation in self-care. The results of the data analysis revealed other findings beyond the conceptual framework. That is, the results could additionally generate four effects on the characteristics among the clients; namely psychological characteristics, self-acceptance, self-esteem and peer relationship. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ผู้ติดเชื้อเอชไอวี | en_US |
dc.subject | การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคล | en_US |
dc.subject | การกำกับตนเอง | en_US |
dc.subject | การดูแลตนเอง | en_US |
dc.title | ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลที่มีต่อการดูแลตนเองในผู้ติดเชื้อเอชไอวี | en_US |
dc.title.alternative | Efects of individual counseling on self-care among hiv infected persons | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | ผู้ติดเชื้อเอชไอวี | - |
thailis.controlvocab.thash | ผู้ติดเชื้อเอชไอวี -- การให้คำปรึกษา | - |
thailis.controlvocab.thash | โรคเอดส์ -- ผู้ป่วย | - |
thailis.controlvocab.thash | ความเครียด (จิตวิทยา) | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลที่มีต่อการดูแลตนเองในผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยใช้การวิจัยเชิงทดลองแบบกรณีเดี่ยว ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงเพื่อค้นหาผู้สมัครใจเข้าร่วม มีผู้สมัครใจเข้าร่วมจำนวน 4 คน อีกทั้งบันทึกข้อมูลจากแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองในช่วงก่อน ระหว่าง และสิ้นสุดการปรึกษา รวมทั้งบันทึกข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากกระบวนการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคล โดยการผสมผสานระหว่างแนวคิดยึดบุคคลเป็นศูนย์กลางร่วมกับแนวคิดพฤติกรรมนิยม ผลการวิจัยพบว่า ระดับคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 4 คน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การดูแลตนเองที่จำเป็นโดยทั่วไป การดูแลตนเองที่จำเป็นตามระยะพัฒนาการ และการดูแลตนเองที่จำเป็นเมื่อมีปัญหาทางด้านสุขภาพ นอกจากนี้ผลจากข้อมูลเชิงคุณภาพยังรายงานให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระหว่างกระบวนการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ที่ทำให้ผู้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเกิดการตระหนักในสภาวะสุขภาพของตนเอง จึงนำไปสู่ความต้องการที่จะดูแลตนเองจากภายในจนกลายเป็นแรงจูงใจและลงมือทำในกิจกรรมการดูแลตนเองเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว ผ่านการเสริมแรงที่เข้ามาช่วยกระตุ้นให้เกิดการกระทำการดูแลตนเองจนถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ และเกิดการเรียนรู้ในการเพิ่มสิ่งเร้าและเสริมแรงไปเรื่อย ๆ เพื่อให้คงไว้ซึ่งการกำกับตนเองในการดูแลตนเองต่อไป ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลยังสามารถพบข้อค้นพบอื่น ๆ นอกเหนือจากกรอบแนวคิดการวิจัยที่พบว่า ข้อค้นพบดังกล่าวยังมีผลต่อคุณลักษณะของผู้เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเพิ่มเติมอีกด้วย ได้แก่ คุณลักษณะทางจิตใจ การยอมรับตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเอง และสัมพันธภาพกับบุคคลรอบข้าง | en_US |
Appears in Collections: | HUMAN: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
610132019.pdf | 14.79 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.