Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73904
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุทธิกัญจน์ ทิพยเกษร | - |
dc.contributor.author | กนกรัตน์ ปันทา | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-08-16T16:00:48Z | - |
dc.date.available | 2022-08-16T16:00:48Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73904 | - |
dc.description.abstract | The Purpose of this research were 1) to study scientific knowledge in local wisdom. This was used in the management of additional science learning about chilli paste. 2) To study the awareness of local wisdom values of Mathayomsuksa 2 students who were taught by applying science knowledge in local wisdom related to chilli paste. Ta-Dang Chilli Paste were used to manage additional science courses. 3) To study the learning achievement of Mathayomsuksa 2 students who were managed to leamn additional science subjects on Ta-Dang Chilli Paste. The population used in this research was students studying in Mathayom Suksa 2 at Ban Pong Noi School, Suthep Subdistrict, Mueang Chiang Mai District. Chiang Mai Province, Semester 2, Academic Year 2021, total 36 people. The research instruments consisted of Interview form for villagers To analyze scientific knowledge in local wisdom about Ta-Dang Chilli Paste. A learning management plan that brings science knowledge in local wisdom related to Ta-Dang Chilli Paste. Used in learning management according to the concept of science, technology and society in the local wisdom about Ta-Dang Chilli Paste, an achievement measurement model that brings scientific knowledge in local wisdom related to Ta-Dang Chilli Paste Used in leaming management according to the concept of science, technology and society in the local wisdom about Ta-Dang Chilli Paste and the measurement of awareness of local wisdom values related to Ta-Dang Chilli Paste. The findings were as follows: 1. The study of scientific knowledge in local wisdom. Which is used in learning management Additional scientific subjects on Ta-Dang Chilli Paste found that Chilli Paste contains the following ingredients: chilli, garlic, shallot, shrimp paste, fermented fish, peanut, and fishmeal. Found knowledge of science It is divided into 4 steps, which is the first step. Exposure is the scientific knowledge of thermal energy. Matter and transformation (evaporation) solar energy the second step of heating energy. Toasting, toasting, or to grilling is a scientific body of knowledge in the area of knowledge transfer. Substance and transformation (evaporation) Step 3 Roasting is the scientific knowledge of heat transfer. And step 4 making Ta-Dang Chilli Paste It is scientific knowledge of gravity. 2. The results of the study on the awareness of local wisdom value of Mathayomsuksa 2 students who were taught by applying science knowledge in local wisdom related to Ta-Dang Chilli Paste. It was found that the students who were taught by applying science knowledge in local wisdom related to Ta-Dang Chilli Paste were used in the management of additional science courses, the awareness after learning was 2.49 in Response process 3. The results of the study on the academic achievement of Mathayomsuksa 2 students who received additional science learning management on "Ta-Dang" paste showed that students who were taught using local wisdom in organizing science learning activities In addition, the subject had an average post-study score of 16.16, or 53.8% | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ตามแนว เอส ที เอส เรื่อง น้ำพริกตาแดง ที่มีต่อความตระหนักในภูมิปัญญาท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 | en_US |
dc.title.alternative | Effects of S-T-S based science learning in the topic of Ta-Dang Chilli paste on the local wisdom awareness of grade 8 students | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | โรงเรียนบ้านโป่งน้อย | - |
thailis.controlvocab.thash | น้ำพริกตาแดง | - |
thailis.controlvocab.thash | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) | - |
thailis.controlvocab.thash | ภูมิปัญญาชาวบ้าน | - |
thailis.controlvocab.thash | อาหารไทย -- ไทย (ภาคเหนือ) | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาความรู้วิทยาศาสตร์ที่มีในภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมเกี่ยวกับ น้ำพริกตาแดง 2) เพื่อศึกษา ความตระหนักในคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยการนำ ความรู้วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับน้ำพริกตาแดงมาใช้ในการจัดการเรียนรู้รายวิชา วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม และ 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง น้ำพริกตาแดง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้าน โป่งน้อย ตำบลสุเทพ อำเกอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อวิเคราะห์ความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ที่มีในภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับน้ำพริกตาแดง แผนการจัดการเรียนรู้ที่นำความรู้วิทยาศาสตร์ ในภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับน้ำพริกตาแดง มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังดมในภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง น้ำพริกตาแดง แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่นำ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับน้ำพริกตาแดง มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ตาม แนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมในภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง น้ำพริกตาแดง และแบบวัดความ ตระหนักในกุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับ เรื่อง น้ำพริกตาแดง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการศึกษาความรู้วิทยาศาสตร์ที่มีในภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมเกี่ยวกับ น้ำพริกตาแดง พบว่า น้ำพริกตาแดงมีส่วนประกอบ ดังนี้ พริก กระเทียม หอมแดง กะปิ ปลาร้า ถั่วเน่าแผ่น และปลาป่น จากการศึกษาและวิเคราะห์ขั้นตอนการทำน้ำพริกตาแดง ได้พบองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การตาก เป็นองค์ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ในรื่องของพลังงานความร้อน สารและการเปลี่ยนแปลง (ระเหย) พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อน ขั้นตอนที่ 2 การหมก การจี่ การปิ้ง หรือการย่าง เป็นองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใน เรื่องของการถ่ายโอนความรู้ สารและการเปลี่ยนแปลง (ระเหย) ขั้นตอนที่ 3 การคั่ว เป็นองค์ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องของการถ่ายโอนความร้อน และขั้นตอนที่ 4 การทำน้ำพริกตาแดง เป็นองค์ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องของแรงโน้มถ่วง 2. ผลการศึกษาความตระหนักในคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอน โดยการนำความรู้วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับน้ำพริกตาแดง มาใช้ใน การจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม พบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอน โดยการนำความรู้ วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับน้ำพริกตาแดงมาใช้ในการจัดการเรียนรู้รายวิชา วิทยาศาสตร์เพิ่มเติมมีความตระหนักหลังเรียน เท่ากับ 2.49 อยู่ในขั้นตอนการตอบสนอง 3. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการ เรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง น้ำพริกตาแดง พบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ภูมิปัญญา ท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง น้ำพริกตาแดง มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน เท่ากับ 16.16 คิดเป็น 53.8% | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
590231001 กนกรัตน์ ปันทา.pdf | 3.36 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.