Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73847
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชูชีพ พุทธประเสริฐ-
dc.contributor.advisorยงยุทธ ยะบุญธง-
dc.contributor.authorมารุต ดารงวงษ์สุวินัยen_US
dc.date.accessioned2022-08-13T14:46:42Z-
dc.date.available2022-08-13T14:46:42Z-
dc.date.issued2020-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73847-
dc.description.abstractThe purposes of the research ”Developing the strategies for providing basic education for schools under the supervision of Chiang Mai Municipality” are twofold; (1) to study the conditions, problems, and factors conducive to providing basic education for schools under the supervision of Chiang Mai Municipality, and (2) to develop and scrutinize the strategies strategies for providing basic education for schools under the supervision of Chiang Mai Municipality. The research’s methodology consists of two steps; (1) the study of conditions, problems, and factors conducive to providing basic education for schools under the supervision of Chiang Mai Municipality and 2) The develop and scrutiny of the strategies for providing basic education for schools under the supervision of Chiang Mai Municipality. The tools employed in this research are 1) questionnaire 2) structured interviews 3) Focus Group and 4) Strategic Audit. The analysis of data was carried out via the categorization of findings and present the data in the essay form. Statistical analyses, namely mean and standard deviation analyses, were also carried out. The research results are as follows; 1. The promotion of basic education for schools under the supervision of Chiang Mai Municipality is largely practical, although not without problems. The main issues on the learners’ side is the students’ multiraciality and children with special conditions, thereby making the communication between the students and the teachers, and the parents and the teachers difficult. On the teachers’ side, they are overly preoccupied with non-teaching duties such as municipal work while some teachers are assigned to teach subjects they are not proficient with. The issues regarding education provision is the lack of classrooms and their dilapidated condition. As for the factors conducive to providing basic education for schools under the supervision of Chiang Mai, clear chain of command within schools resulted in efficient monitoring and feedback. In terms of product and service, school curricula caters to national educational context and local needs. In terms of personnel, the teachers and other education personnels are people of integrity with firm adherence to the civil servants’ code of conduct. In terms of financial performance, the development of advanced payment system resulted in timely and efficient budget disbursement. In terms of material, folk wisdom can be adapted to improve the quality of education. In terms of management, the school’s education administration is in line with Sufficiency Economy principle and strategic management is systematic. Regarding legal and political factors, the Pracharat Policy, whereby the state, the private sector, and Local Administration Organizations all place significant emphasis on education as evidenced by continuous allocation of budget to improve education administration and develop teachers and students. Conducive economic factor is the adoption of Sufficiency Economy Principle to improve the people’s livelihood. As for socio-cultural factors, unique culture and tradition serves as a tremendous learning source of folk wisdom. In terms of technological factors, technological advancement resulted in the learners being able to access a wide variety of information which in turn greatly aids self-learning. 2. The strategies for providing basic education for schools under the supervision of Chiang Mai Municipality consist of (1) Vision, that is, the schools are to provide education to an appropriate standard and in line with global context and vicissitudes. (2) The four missions (3) Shared values, that is, the school personnels are determined to develop the schools in line with Lanna civilization, culminating in sustainable development of Chiang Mai metropolis. (4) The four strategies and objectives and (5) The six objectives. In terms of possibility, veracity, and appropriateness, the strategies for providing basic education for schools under the supervision of Chiang Mai Municipality are at the highest level overall.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectกลยุทธ์en_US
dc.subjectการส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานen_US
dc.subjectโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่en_US
dc.subjectStrategiesen_US
dc.subjectpromotion of basic education provisionen_US
dc.subjectschools under the supervision of Chiang Mai Municipalityen_US
dc.titleการพัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeDeveloping the strategies for providing basic education for schools under the supervision of Chiang Mai municipalityen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการบริหารการศึกษา -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการศึกษาขั้นพื้นฐาน -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashผู้นำชุมชน -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashโรงเรียนเทศบาล -- เชียงใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัย เรื่อง การพัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เอื้อต่อการส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบกลยุทธ์การส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เอื้อต่อการส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ และ 2) การพัฒนาและตรวจสอบกลยุทธ์การส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาล นครเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 3) การประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) 4) แบบตรวจสอบกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดหมวดหมู่ สรุปข้อค้นพบตามประเด็น สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ มีการปฏิบัติและเป็นจริงมากที่สุด ส่วนปัญหาการส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ ด้านผู้เรียน คือ นักเรียนในโรงเรียนส่วนมากเป็นนักเรียนต่างด้าว หลากหลายชาติพันธุ์ และเด็กพิเศษ มีปัญหาการสื่อสารระหว่างนักเรียนกับครูและผู้ปกครองกับครู ด้านครู คือ ครูมีภาระงานอื่นนอกเหนือจากการสอนมากเกินไป ต้องรับผิดชอบกิจกรรมของเทศบาล อีกทั้งการสอนไม่ตรงกับความถนัด ด้านการจัดการศึกษา คือ สถานที่ของโรงเรียนขาดแคลน ห้องไม่เพียงพอ สภาพเก่าแก่และทรุดโทรม สำหรับปัจจัยที่เอื้อต่อการส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ ที่สำคัญ ด้านโครงสร้างและนโยบาย คือ การกำหนดโครงสร้างสายงานการบังคับบัญชาของโรงเรียนที่ชัดเจนส่งผลให้การส่งเสริมการนิเทศติดตาม ด้านผลผลิตและการบริการ คือ การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสอดคล้องหลักสูตร/บริบทการศึกษาของประเทศและตามความต้องการของท้องถิ่น ด้านบุคลากร คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในระเบียบวินัยของราชการเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านประสิทธิภาพทางการเงิน คือ การพัฒนาระบบการเบิกจ่ายเงินที่ทันสมัย ทำให้เบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ด้านวัสดุทรัพยากร คือ แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสามารถนำมาส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการบริหารจัดการ คือ การบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนที่สอดคล้องตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการบริหารเชิงกลยุทธ์อย่างเป็นระบบ ด้านปัจจัยทางการเมืองและกฎหมาย คือ นโยบายประชารัฐ ที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ความสำคัญต่อการศึกษาโดยสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาในการจัดการศึกษา พัฒนาครูบุคลากรและนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ด้านปัจจัยทางเศรษฐกิจ คือ การนำแนวปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ด้านปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม คือ ความมีเอกลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรมและ ประเพณีที่ดีงาม มีแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และด้านปัจจัยทางเทคโนโลยี คือ ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และสืบค้นข้อมูล ความรู้ ได้ด้วยตนเองอย่างหลากหลาย 2. กลยุทธ์การส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ คือ สถานศึกษาจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา สอดคล้องกับบริบทและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง พันธกิจ จำนวน 4 พันธกิจ ค่านิยมร่วม คือบุคลากรในสถานศึกษามุ่งมั่นพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพเคียงคู่อารยธรรมล้านนา สู่การพัฒนา มหานครเชียงใหม่อย่างยั่งยืน ประเด็นกลยุทธ์ จำนวน 4 ประเด็น เป้าประสงค์ จำนวน 4 ข้อ และกลยุทธ์ จำนวน 6 กลยุทธ์ ผลการตรวจสอบกลยุทธ์การส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ ด้านประเด็นความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดen_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
590232073 มารุต ดำรงวงษ์สุวินัย.pdf3.32 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.