Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73822
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สายนที เฉินบำรุง | - |
dc.contributor.author | พุฒิรักษ์ สอาดล้วน | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-08-12T01:15:12Z | - |
dc.date.available | 2022-08-12T01:15:12Z | - |
dc.date.issued | 2022-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73822 | - |
dc.description.abstract | The study entitled “Service Quality as Perceived by Customers of The Balcony Chiang Mai Village Hotel” was conducted by using questionnaires as the tool to collect data from 200 Thai customers who stay at The Balcony Chiang Mai Village hotel over the past year. Acquired data were, then, analyzed by the descriptive statistics i.e. frequency, percentage, and mean. The findings presented that most respondents were males between the age of 30-39 years old and single. Their educational background was a bachelor's degree. They worked as private company employees and earned monthly income in the amount of 40,001-60,000 Baht. Results of the study on the behavior of The Balcony Chiang Mai Village Hotel’s customers showed that most of them resided in the northern region and traveled to Chiang Mai alone. Up to the time when they answered the questionnaire, they had been in Chiang Mai more than 7 times with uncertain months. Most of them had stayed at The Balcony Chiang Mai Village Hotel before and had stayed there 1-2 times. They learned about The Balcony Chiang Mai Village Hotel from the suggestion made by their acquaintance. The service that they took from the studied hotel was food and beverage. The results revealed that the respondents paid the highest concern towards elements of each service quality factor as follows. In the tangibility factor, the highest concern was on the neat dressing of the hotel staff. In the reliability factor, the highest concern was on the high privacy offered to the customers. In the responsiveness factor, the highest concern was on the availability of the hotel staff to accommodate customer demand or assist them whenever they needed. In the assurance factor, the highest concern was on the pleasant courtesy that the hotel staff always provided to its customers. In the empathy factor, the highest concern was on the pleasant tendance of the hotel staff. The results also indicated that the respondents had the highest satisfaction towards elements of each service quality factor as follows. In the tangibility factor, the highest satisfaction was in the clean and comfortable guest room. In the reliability factor, the highest satisfaction was in the high privacy offered to the customers. In the responsiveness factor, the highest satisfaction was in the availability of the hotel staff to accommodate customer demand or assist them whenever they needed. In the assurance factor, the highest satisfaction was in the pleasant manner and politeness of the hotel staff when serving the customers. In the empathy factor, the highest satisfaction was in the attention of the hotel to individual customers as well as the pleasant tendance of the hotel staff. According to the Important-Performance Analysis: IPA, the results suggested that elements listed in Quadrant A, which signified an element that needed to be improved urgently, were the comfortable room furniture and equipment; the availability of health care facilities such as Sauna room, and fitness room; the useful and understandable advice from the hotel staff to the customers; the accurate service being provided by the hotel staff in the first place; the accurate and reliable service information; the readiness and willingness of the hotel staff to serve customers; the notice on a certain length of service time to be spent for each service; the safety of hotel environment; and the intention of the hotel to provide the best service for its customers. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | คุณภาพบริการ | en_US |
dc.subject | ลูกค้า | en_US |
dc.subject | โรงแรมเดอะบาลโคนี่ เชียงใหม่ วิลเลจ | en_US |
dc.title | คุณภาพบริการตามมุมมองของลูกค้าโรงแรมเดอะบาลโคนี่เชียงใหม่วิลเลจ | en_US |
dc.title.alternative | Service quality as perceived by customers of The Balcony Chiang Mai Village Hotel | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | โรงแรมเดอะบาลโคนี่เชียงใหม่วิลเลจ -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ | - |
thailis.controlvocab.thash | ความพอใจของผู้ใช้บริการ | - |
thailis.controlvocab.thash | โรงแรม -- เชียงใหม่ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาเรื่อง คุณภาพบริการตามมุมมองของลูกค้าโรงแรมเดอะบาลโคนี่เชียงใหม่ วิลเลจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากลูกค้ากลุ่มคนไทยที่เคยเข้าพักในโรงแรมเดอะบาลโคนี่เชียงใหม่วิลเลจย้อนหลังไม่เกิน 1 ปี จำนวน 200 ราย ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย จากการศึกษา พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 30-39 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาคือ ปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกเชน มีรายได้ต่อเดือน 40,001-60,000 บาท ผลการศึกษาข้อมูลพฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้าต่อโรงแรมเดอะบาลโคนี่วิลลเลจ เชียงใหม่ พบว่าส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ เดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่ คือ มาคนเดียว การเดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่ครั้งนี้คือ มากกว่า 7 ครั้ง ช่วงเดือนที่เดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่ คือ ไม่แน่นอน ส่วนใหญ่เคยเข้าพักที่โรงแรมเดอะบาลโคนี่วิลลเลจ เชียงใหม่มาก่อน การเข้าพักที่โรงแรมเดอะบาลโคนี่วิลลเลจ เชียงใหม่ครั้งนี้ 1-2 ครั้ง โดยรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรงแรมเดอะบาลโคนี่วิลลเลจ เชียงใหม่ จากคนรู้จักแนะนำ บริการของโรงแรมเดอะบาลโคนี่วิลลเลจ เชียงใหม่ที่ใช้บริการ คือ อาหารและเครื่องดื่ม ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญสูงสุดต่อปัจจัยย่อยคุณภาพการให้บริการในแต่ละด้านดังนี้ ด้านลักษณะทางกายภาพ ได้แก่พนักงานของโรงแรมแต่งกายประณีตเรียบร้อย ปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือของบริการ ได้แก่ ทางโรงแรมสามารถให้ความเป็นส่วนตัวแก่ลูกค้าที่เข้าพักที่โรงแรมได้เป็นอย่างมาก ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ ได้แก่ พนักงานของโรงแรมมีเวลาที่จะให้บริการหรือช่วยเหลือเมื่อแขกร้องขอเสมอ ด้านความไว้วางใจ ได้แก่ พนักงานของโรงแรมให้บริการด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดีต่อแขกที่มาพักในโรงแรมอย่างสม่ำเสมอ ปัจจัยด้านการเข้าถึงจิตใจ ได้แก่ พนักงานมีการดูแลเอาใจใส่ต่อการบริการที่ดี ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความพึงพอใจสูงสุดต่อปัจจัยย่อยคุณภาพการให้บริการในแต่ละด้านดังนี้ ด้านลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ ห้องพักของโรงแรมสะอาดและสะดวกสบาย ปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือของบริการ ได้แก่ ทางโรงแรมสามารถให้ความเป็นส่วนตัวแก่ลูกค้าที่เข้าพักที่โรงแรมได้เป็นอย่างมาก ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ พนักงานของโรงแรมมีเวลาที่จะให้บริการหรือช่วยเหลือเมื่อแขกร้องขอเสมอ ด้านความไว้วางใจ ได้แก่ พนักงานให้บริการอย่างมีมารยาท และสุภาพอ่อนโยน ปัจจัยด้านการเข้าถึงจิตใจ ได้แก่ พนักงานของโรงแรมสามารถให้ความสนใจและบริการเฉพาะบุคคลแก่ผู้มาใช้บริการได้ และ พนักงานมีการดูแลเอาใจใส่ต่อการบริการที่ดี การวิเคราะห์โดยใช้เทคนิค IPA (Important-Performance Analysis: IPA) พบว่า ปัจจัยย่อยที่อยู่ใน Quadrant A ซึ่งเป็นปัจจัยย่อยที่ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ในห้องพักมีความสะดวกสบาย มีสิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับสุขภาพเช่น ห้องซาวน่า และห้องออกกำลังกาย พนักงานให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์และเข้าใจง่ายแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการ โดยทั่วไปพนักงานของโรงแรมสามารถให้บริการได้อย่างถูกต้องตั้งแต่แรก โดยทั่วไปการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริการถูกต้องและเชื่อถือได้ พนักงานมีความพร้อมและเต็มใจในการให้บริการแก่ผู้มาเข้าพักและผู้ใช้บริการเสมอ พนักงานของโรงแรมสามารถแจ้งเวลาที่ใช้ในการให้บริการที่แน่นอนแก่ผู้มาใช้บริการได้ โรงแรมมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และทางโรงแรมมีความตั้งใจที่จะให้บริการที่ดีที่สุดแก่ผู้มาใช้บริการในโรงแรม | en_US |
Appears in Collections: | BA: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
รวมไฟล์ พุฒิรักษ์.pdf | 1.99 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.