Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73797
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณัฐพล แจ้งอักษร | - |
dc.contributor.author | ธัญพิสิษฐ์ มาใจ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-08-07T06:12:57Z | - |
dc.date.available | 2022-08-07T06:12:57Z | - |
dc.date.issued | 2021-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73797 | - |
dc.description.abstract | This research aimed to p) analyze the private training courses, 2) analyze the private training course process, and 3) analyze the characteristics of trained privates. The research was divided into 3 phases Phase 1: Studying 4 private training courses by document analysis to decompose course components for key information; Phase 2: Studying and analyzing the private training course process by 25 persons involved in the private training courses; and Phase 3: The characteristics of trained privates. The data was collected from 526 privates of Shift 2 in 2018, who had been on active service for 2 years from p November 2018 to 31 October 2020. The instruments included 1) a course report and analysis form, 2) an interview form about the private training course process, and 3) a questionnaire of the characteristics of privates. The descriptive statistics were used for data analysis, such as frequency, percentage, SD, skewness, kurtosis, and distribution coefficient. The inferential statistics were analyzed by paired samples t-test and content analysis. The findings can be concluded as follows. p. The private training courses consisted of 4 courses, New Soldiers Training Course, New Soldiers MOS Training Course, Operations and Living of Privates, and Professional Training Course Before Discharge, emphasizing on penitential development for basic knowledge and skills as a soldier. Training patterns, the use of media, and course evaluation are provided so that all privates will achieve the goal and outcomes of the training courses. 2. For the private training course process, the military units followed the training as suggested, from basic to advanced levels. The training included 3 procedures, 1) preparation: To prepare training plans, personnel, budgets, buildings, places, and coordination with other sections involved; 2) training process: To perform training step by step from basic to advanced levels, focusing on commanding, explanation, demonstration, individual and combined practice, unity, and accuracy; z) evaluation: To evaluate each individual private. The difference of the scenariobased training from the one suggested by the courses was the adjustment of training time, procedures, and subjects to be in accordance with trainees, situations, and contexts of the military units. 3. The characteristics of privates before discharge were high (M = 4.43, SD. = 0.48). When considering in each aspect, it was found that self-adjustment was highest (M = 4.69, SD. = 0.45), followed by volunteering (M = 4.65, SD. = 0.38). Patience was lowest (M = 3.96, SD. = 0.56). | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | กระบวนการและผลลัพธ์ของหลักสูตรการฝึกทหาร กองประจำการ: การวิจัยหลักสูตร | en_US |
dc.title.alternative | Processes and results of the private training course : curriculum research | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ทหาร -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | การทหาร | - |
thailis.controlvocab.thash | การฝึกวิชาทหาร | - |
thailis.controlvocab.thash | หลักสูตร | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์หลักสูตรการฝึกทหารกองประจำการ 2) วิเคราะห์กระบวนการฝึกทหารกองประจำการ และ 3) วิเคราะห์คุณลักษณะของทหารกองประจำการที่ได้รับจากการฝึกตามหลักสูดร การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการฝึกทหารกองประจำการ จำนวน 4 หลักสูตร โดยการวิเคราะห์เอกสารแยกองค์ประกอบของหลักสูตรการฝึกในแต่ละหลักสูตรให้ได้สารสนเทศที่สำคัญ ระยะที่ 2 ศึกษากระบวนการฝึกทหารกองประจำการ ทำการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฝึกทหารกองประจำการ จำนวน 25 คนและระยะที่ 3 คุณลักษณะของทหารกองประจำการที่ได้รับจากการฝึกตามหลักสูตร เก็บรวบรวมข้อมูลกับทหารกองประจำการผลัดที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2561 ซึ่งเข้าประจำการทหารตั้งแต่วันที่พฤศจิกายน พ.ศ.2561 ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2563 รวมระยะเวลารับราชการทหารจำนวน 2 ปีในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 526 คน โดยใช้เครื่องมือ 1) แบบบันทึกและวิเคราะห์หลักสูตร 2) แบบสัมภาษณ์กระบวนการฝึกทหารกองประจำการ 3) แบบสอบถามคุณลักษณะของทหารกองประจำการ ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าความเบ้ ค่าความโด่ง และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายของข้อมูล วิเคราะห์สถิติเชิงอ้างอิง คือ สถิติทดสอบ paired samples t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. หลักสูตรการฝึกทหารกองประจำการประกอบด้วย 4 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการฝึกทหารใหม่เบื้องต้นทั่วไป หลักสูตรการฝึกทหารใหม่เฉพาะหน้าที่ การปฏิบัติงานในหน้าที่และการใช้ชีวิตของทหารกองประจำการ และหลักสูตรการฝึกวิชาชีพก่อนปลดประจำการ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของทหารกองประจำการให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการเป็นทหารมีรูปแบบการฝึก การใช้สื่อ และการประเมินผลของหลักสูตร เพื่อให้ทหารกองประจำการสำเร็จตามความมุ่งหมายและผลลัพธ์ของหลักสูตร 2. กระบวนการฝึกทหารกองประจำการ หน่วยทหารมีการฝึกตามที่หลักสูตรแนะนำ โดยทำการฝึกจากง่ายไปหายาก ประกอบด้วยการฝึก 3 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นเตรียมการ เป็นการเตรียมแผนการฝึก บุคลากร งบประมาณ อาคาร สถานที่ ประสานส่วนต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อม 2. ขั้นกระบวนการฝึก เป็นการฝึกตามลำดับขั้นตอนฝึกจากง่ายไปหายาก โดยเน้นการออกคำสั่งอธิบาย สาธิต และให้ปฏิบัติ ทั้งการปฏิบัติแบบเป็นรายบุคคล และรวมการฝึก เน้นความพร้อมเพรียงและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง 3. ขั้นประเมินผล ทำการประเมินผลทหารกองประจำการเป็นรายบุคคล 4. ข้อแตกต่างของกระบวนการฝึกตามสถานการณ์จริงที่แตกต่างจากหลักสูตรแนะนำคือ การปรับเปลี่ยนของเวลาการฝึก ขั้นการฝึก และวิชาการฝึกให้เข้ากับสภาพของผู้รับการฝึกสถานการณ์และบริบทของหน่วยทหาร 3. คุณลักษณะของทหารกองประจำการที่ฝึกตามหลักสูตร ในระยะขณะใกล้พ้นทหารอยู่ในระดับมาก (M = 4.43, SD. = 0.48) ซึ่งพิจารณาในแต่ละคุณลักษณะ พบว่า คุณลักษณะการปรับตัว มากที่สุด (M = 4.69, SD. = 0.45) รองลงมาเป็นคุณลักษณะจิตอาสา (M = 4.65, SD. = 0.38) และคุณลักษณะความอดทน มีน้อยที่สุด (M = 3.96, SD. = 0.56) | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620232019 ธัญพิสิษฐ์ มาใจ.pdf | 7.51 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.