Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73790
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเรนัส เสริมบุญสร้าง-
dc.contributor.authorปรัชญาภรณ์ วงศ์ใหญ่en_US
dc.date.accessioned2022-08-07T03:47:46Z-
dc.date.available2022-08-07T03:47:46Z-
dc.date.issued2021-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73790-
dc.description.abstractThe purpose of this independent study was to study service marketing mix affecting Consumers in Chiang Rai province towards selecting animal hospitals. The data were collected from 420 samples by questionnaires. The questionnaires were collected from 10 customers of 42 animal hospitals in Chiang Rai province by nonprobability sampling method. The data were analyzed by descriptive statistics, via frequency, percentage and mean. Also, more than 2 groups of data were analyzed by inferential statistics: analysis of variance (ANOVA) were tested different average monthly income and animal hospital service expense per time. The different averages were compared by Scheffe’ method. The results of the study revealed that the majority of the respondents were female, aged 21-30, Bachelor’s degree holder, company employee, average monthly income 10,001- 20,000 Bath. The purpose of having pet was to be companion, and got their pets from friends or acquaintances, averaged expense for pet 1000-3000 Bath per month. The purpose to go to animal hospital is to cure disease, get vaccination and get rid of parasite. Mostly they consume the service Monday-Friday. The averaged expense spent into the service per 1 animal was about 201- 400 Bath. The problem regards to consuming service raised from the respondents was the unsuitable treatment expense. They decided to choose the animal clinic with no accommodations. There were service marketing mix factors affected the respondents at the very high level were people and process, while the other factors affected the respondents at the high level were price, physical evidence, place, product, and promotion. The results of the study revealed that the respondents decided top 3 sub factors of product are antiseptic clinical equipment, reliability of animal hospital, and good reputation of animal hospital. In term of price, top 3 sub factors are service expense suitable with treatment quality, service expense reasonable for symptom, and showing clearly service rate. In term of place, top 3 sub factors are animal hospital located nearby their area, located on convenient transportation area, and longer opening period than other animal hospitals. In term of promotion, top 3 sub factors are word of mouth, seasonal discount, and information notice by electronic ways; phones, e-mail, Facebook and Line application. In term of people, top 3 sub factors are the veterinarian give clearly consultation and answers, skill and expertise of veterinarian, and veterinarian and assistant treat pets by gentleness. In term of process, top 3 sub factors are fast service process, paying attention before and after service, and clearly explain about treatment process. In term of physical evidence, top 3 sub factors are clean place and good ventilation, safe and clean service equipment, and enough waiting area. The respondents who have different average monthly income and animal hospital service expense per time had different effect on service marketing mix at 0.05 significant level.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้บริโภค ในจังหวัดเชียงรายในการเลือกสถานพยาบาลสัตว์en_US
dc.title.alternativeService Marketing Mix Affecting Consumers in Chiang Rai Province Towards Selecting Animal Hospitalsen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashโรงพยาบาลสัตว์ -- เชียงราย-
thailis.controlvocab.thashโรงพยาบาลสัตว์ -- การตลาด-
thailis.controlvocab.thashสัตว์ -- การเลี้ยง-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสถานพยาบาลสัตว์ ในจังหวัดเชียงราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างคือลูกค้าของสถานพยาบาลสัตว์ในจังหวัดเชียงราย ผู้ศึกษากำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 420 ราย โดยการเก็บแบบสอบถามจากสถานพยาบาลสัตว์ 42 แห่ง แห่งละ 10 ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และใช้สถิติเชิงอนุมาน ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ค่าใช้จ่ายในการใช้สถานพยาบาลสัตว์ต่อครั้ง ต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสถานพยาบาลสัตว์ เมื่อพบความแตกต่าง จึงศึกษาระดับความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’ method) ผลการศึกษา พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 21-30 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานเอกชนและมีรายได้เฉลี่ย 10,001-20,000 บาท ต่อเดือน มีวัตถุประสงค์ในการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นเพื่อนแก้เหงา ส่วนใหญ่เลี้ยงสุนัขที่ได้มาจากเพื่อน หรือคนรู้จักให้มา มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่ใช้ไปกับการเลี้ยงสัตว์เลี้ยง ตั้งแต่ 1,000-3,000 บาท มีเหตุผลในการไปใช้สถานพยาบาลสัตว์เพื่อรักษาโรค เมื่อสัตว์เลี้ยงมีอาการเจ็บป่วย รองลงมาได้แก่ ฉีดวัดซีน และกำจัดเห็บ หมัดและถ่ายพยาธิ จะใช้บริการสถานพยาบาลสัตว์ วันจันทร์-วันศุกร์ โดยการไปใช้บริการพยาบาลสัตว์ต่อครั้ง มีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 201-400 บาทต่อสัตว์เลี้ยง 1 ตัว ปัญหาที่พบมากที่สุดในการใช้สถานพยาบาลสัตว์ คือค่าใช้จ่ายในการรักษาไม่เหมาะสมและนิยมใช้สถานพยาบาลสัตว์รูปแบบคลินิกรักษาสัตว์ แบบไม่มีที่พักสัตว์ป่วยไว้ค้างคืนส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อผู้บริโภคในจังหวัดเชียงรายในการเลือกสถานพยาบาลสัตว์ พบว่าปัจจัยที่มีผลอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ รองลงมาได้แก่ ด้านกระบวนการให้บริการ และปัจจัยที่มีผลอยู่ในระดับมากได้แก่ ด้านราคา ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ผลการศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7 ด้าน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับการมีผลต่อการเลือกสถานพยาบาลสัตว์ ปัจจัยย่อย 3 ลำดับแรก ด้านผลิตภัณฑ์ คือ อุปกรณ์ที่ใช้มีความสะอาดปลอดภัยในการตรวจรักษา ความน่าเชื่อถือของสถานพยาบาลสัตว์ มีเอกสารรับรองและสถานพยาบาลสัตว์มีชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดี ตามลำดับ ด้านราคา คือ เรื่องค่าบริการเหมาะสมกับคุณภาพในการรักษา ค่าบริการเหมาะสมกับอาการของโรค และมีการแสดงอัตราค่าบริการทั่วไปอย่างชัดเจน ตามลำดับ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย คือ เรื่องสถานพยาบาลสัตว์อยู่ใกล้บ้านหรือที่พักของตนเอง สถานพยาบาลสัตว์ตั้งอยู่ในที่การคมนาคมสะดวก และจำนวนวันเปิดทำการต่อสัปดาห์ของสถานพยาบาลสัตว์มากกว่าที่อื่น ตามลำดับ ด้านการส่งเสริมการตลาด คือ เรื่องการบอกต่อแบบปากต่อปาก อาทิ คนรู้จักแนะนำ โปรโมชั่นลดราคาในช่วงเทศกาลต่าง ๆ และการแจ้งข่าวสารของสถานพยาบาลสัตว์ให้ทราบทางอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ โทรศัพท์ อีเมล์ เว็บไซต์ เฟซบุ๊กและไลน์ เป็นต้น ตามลำดับ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ คือ เรื่องสัตวแพทย์สามารถให้คำปรึกษาและตอบข้อสงสัยของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ทักษะและความชำนาญของสัตวแพทย์ ในการวินิจฉัยโรคและรักษาสัตว์เลี้ยง และสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่สถานพยาบาลสัตว์ปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงของผู้มาใช้บริการด้วยความรักและทะนุถนอม ตามลำดับ ด้านกระบวนการให้บริการ คือ เรื่องกระบวนการให้บริการของสถานพยาบาลสัตว์มีความรวดเร็ว การดูแลเอาใจใส่ผู้ใช้บริการทั้งก่อนและหลังการให้บริการ อาทิ การโทรเตือน เมื่อใกล้ถึงกำหนดวันนัดหมาย และมีการชี้แจงรายละเอียดในการรักษาอย่างชัดเจน ตามลำดับ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ คือ เรื่องสถานพยาบาลสัตว์สะอาด อากาศถ่ายเทดีและไม่มีกลิ่นเหม็นมีผลมากที่สุด อุปกรณ์และเครื่องมือในการรักษาสัตว์และให้บริการมีความสะอาด ปลอดภัย และมีสถานที่พักและนั่งรอรับบริการอย่างเพียงพอ ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้ฉลี่ยต่อเดือนและค่าใช้จ่ายในการใช้สถานพาบาลสัตว์ต่อครั้ง แตกต่างกัน มีผลต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดต่อการเลือกใช้บริการสถานพยาบาลสัตว์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05en_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611532079 ปรัชญาภรณ์ วงศ์ใหญ่.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.