Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73775
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Weerapan Srichan | - |
dc.contributor.author | Pitch Atayos | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-08-06T04:08:25Z | - |
dc.date.available | 2022-08-06T04:08:25Z | - |
dc.date.issued | 2022-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73775 | - |
dc.description.abstract | Cenozoic volcanic rocks in Thailand distribute in the Inthanon zone, Sukhothai fold belt, and Khorat Plateau. The important Cenozoic basaltic rocks are along the southern margin of the Khorat Plateau and divide into 12 areas that trend in an east-west direction from Nakhon Ratchasima province to Ubon Ratchathani province. The study of the variation and relationship of these basaltic rocks is impressive and brings an understanding of their tectonic evolution in Khorat Plateau. In this study, the occurrences of basaltic rocks had studied in Nakhon Ratchasima, Phu Phra Angkhan, Khao Prai Bat, Khao Phanom Rung, Khao Kradong, Khao Phanom Sawai, Phu Ngoen, Phu Khmint, Phu Kom, Phu Fai, and Nam Yun area. Fifty-three at least altered basaltic samples were collected from each volcanic mass to study rock textures, mineral assemblages, whole-rock chemical composition, trace elements, and rare earth element compositions. This study consists of a petrographic method, X-ray fluorescence spectrometer (XRF) analysis, and multiple collector inductively coupled plasma spectrometry (MC-ICP-MS) analysis. The Cenozoic basaltic rocks in Khorat Plateau occurred as a subaerial lava flow. The occurrence of basalt is a lava mound that is found mainly on the western and eastern margins. In comparison, the central basalt appears like a lava cone. Porphyritic-microporphyritic texture is the typical texture of these basalts. Phenocrysts mainly consist of olivine and minor clinopyroxene. Plagioclases phenocryst is observed in some areas. Groundmass is fine-grained, consisting of lath-plagioclase, clinopyroxene, magnetite, and glass. In some areas, such as Nakhon Ratchasima, Phu Fai, Nam Yuen, Etc., nepheline was observed in the groundmass by intergranular between the plagioclase lath. In addition, diabasic textures were found only in the Phu Fai area, and seriate texture is observed in basalt around Nam Yuen and Phu Fai. The disequilibrium feature of phenocrysts and Mg-numbers between 0.40 and 0.61 suggest that these basalts have been solidified from evolved magma mainly by fractional crystallization of olivine. The clinopyroxene or plagioclase are partially crystallized in some regions. Enriched in light-rare earth and depleted in heavy-rare earth, these characteristics are similar to those of OIB-like basaltic magma. The study of petrography and geochemistry of Cenozoic basalts in the Khorat Plateau can be divided these basalts into 5 groups with distribution in 3 areas: the western margin in Nakhon Ratchasima area (Group A); The central consists of Phu Phra Ang Khan- Khao Prai Bat - Khao Phanom Rung - Khao Kradong - Khao Phanom Sawai (Group B) and the eastern margin can be divided into 3 groups, namely Phu Kom - Nam Yun (Group C-1), Phu Ngoen - Phu Khmint (Group C-2) and Phu Fai (Group C-3). Group A consists of basalt and trachybasalt (46.5-48.9wt% SiO2); Group B consists of trachybasalt and basaltic-trachyandesite that have high silica content (49.3-52.9wt% SiO2), low MgO and more medium-rare earth (MREE: Sm, Eu, Gd) than other groups; Group C-1 consists of basalt and trachybasalt (46.9-51.2wt% SiO2); Group C-2 consists of basanite and trachybasalt that low silica content (42.5-47.8wt% SiO2) indicates a low degree of partial melting; Group C-3 consists of basaltic trachyandesite (49.8-51.1wt% SiO2). The relationship of Zr-Ti-Y-Nb supports that the eruptions of Cenozoic basaltic rocks in the southern margin of the Khorat Plateau are within-plate tectonic. Basaltic magma is possibly derived from two different magmatic sources. OIB-like basaltic magma, which exhibited enriched LREE and depleted HREE has been observed in western and eastern marginal basalts (Group A, Group C-1, Group C-2, and Group C-3). After that, the enriched MREE magmatic source was melted into the first magmatic group. They exhibited similar characteristics to the basalt group found at the margins but with more enriched in MREE. These characteristics were found in basalt rocks in the central area (Group B). | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | Chiang Mai : Graduate School, Chiang Mai University | en_US |
dc.title | Petrography and petrochemistry of cenozoic volcanic rocks in southern margin of khorat plateau | en_US |
dc.title.alternative | ศิลาวรรณนาและศิลาเคมีของหินภูเขาไฟอายุซีโนโซอิกบริเวณขอบทางใต้ของที่ราบสูงโคราช | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.lcsh | Basalt | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Petrology | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Volcanism | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Mines and mineral resources | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | หินภูเขาไฟอายุซีโนโซอิกในประเทศไทยมีการกระจายตัวทั้งในแนวอินทนนท์ แนวสุโขทัยและบริเวณที่ราบสูงโคราช โดยหินบะซอลต์ในบริเวณตอนใต้ของที่ราบสูงโคราชแบ่งออก 12 บริเวณ กระจายตัวอยู่ในแนวตะวันออก-ตะวันตกจากจังหวัดนครราชสีมาจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาลักษณะทางศิลาวิทยาของหินบะซอลต์ในบริเวณดังกล่าวสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของหินบะซอลต์ซึ่งมีความน่าสนใจ และทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของเปลือกโลกหรือเนื้อโลกในบริเวณพื้นที่ศึกษา งานวิจัยนี้ได้ศึกษาลักษณะปรากฎของหินบะซอลต์บริเวณขอบทางใต้ของที่ราบสูงโคราช ได้แก่ บริเวณนครราชสีมา ภูพระอังคาร เขาไปรบัท เขาพนมรุ้ง เขากระโดง เขาพนมสวาย ภูเงิน ภูขมิ้น ภูก้อม ภูฝ้าย และน้ำยืน โดยเก็บตัวอย่างหินบะซอลต์จำนวน 53 ตัวอย่าง จากมวลหินภูเขาไฟแต่ละแห่ง เพื่อศึกษาลักษณะเนื้อหิน ชนิดแร่ประกอบหิน ส่วนประกอบทางเคมีของหินซึ่งได้แก่ ธาตุหลัก ธาตุร่องรอยและธาตุหายาก โดยวิธีการทางศิลาวรรณนา การวิเคราะห์ด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนส์สเปกโตรมิเตอร์และการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมัลติเปิลคอลเลคเตอร์ อินดัคทิฟลี คัพเปิลพลาสมาสเปกโตรมิเตอร์ หินบะซอลต์อายุซีโนโซอิกบริเวณที่ราบสูงโคราชมีการปะทุแบบหลากบนผิวดิน ลักษณะปรากฏของหินบะซอลต์เป็นแบบเนินลาวาซึ่งพบบริเวณขอบด้านตะวันตกและด้านตะวันออกเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่หินบะซอลต์บริเวณตอนกลางมีลักษณะปรากฏแบบกรวยลาวา เนื้อหินโดยทั่วไปเป็นแบบผลึกสองขนาดหรือแบบจุลผลึกสองขนาด แร่ดอกประกอบด้วยกลุ่มของโอลิวีนเป็นส่วนใหญ่ ไคลโนไพรอกซีนรองลงมา และแพลจิโอเคลสพบในบางพื้นที่ โดยฝังประในเนื้อพื้นขนาดละเอียดซึ่งประกอบด้วยแพลจิโอเคลสแสดงลักษณะแท่ง แทรกด้วยไคลโนไพรอกซีน แมกนีไทต์และเนื้อแก้ว ในบางบริเวณ เช่น นครราชสีมา ภูฝ้าย น้ำยืน เป็นต้น พบเนฟีลีนในเนื้อพื้นโดยแทรกระหว่างแท่งแพลจิโอเคลส นอกจากนี้ยังพบลักษณะเนื้อหินแบบไดอะเบสิกเฉพาะบริเวณภูฝ้าย และแบบเซริเอตบริเวณน้ำยืนและภูฝ้าย ลักษณะขอบของแร่ดอกที่แสดงความไม่สมดุลกับหินหนืดและค่า Mg-number อยู่ระหว่าง 0.40 ถึง 0.61 ชี้ให้เห็นว่าหินบะซอลต์เหล่านี้แข็งตัวจากหินหนืดผ่านการวิวัฒนาการแล้ว โดยการตกผลึกลำดับส่วนของโอลิวีนเป็นหลัก ส่วนไคลโนไพรอกซีนและ/หรือแพลจิโอเคลสเกิดการตกผลึกลำดับส่วนในบางบริเวณ ลักษณะของกลุ่มธาตุหายากเบาที่ปริมาณมากและกลุ่มธาตุหายากหนักที่มีปริมาณน้อยมีความคล้ายกับลักษณะของหินหนืดที่มีธรณีแปรสัณฐานแบบหินบะซอลต์ปะทุบนพื้นมหาสมุทร (OIB-like) ผลการศึกษาศิลาวรรณนาและธรณีเคมีของหินบะซอลต์อายุซีโนโซอิกบริเวณที่ราบสูงโคราชสามารถแบ่งเป็น 5 กลุ่ม โดยมีการกระจายตัวอยู่ใน 3 บริเวณ ได้แก่ บริเวณขอบด้านตะวันตกในพื้นที่นครราชสีมา (กลุ่มเอ) บริเวณตอนกลางประกอบด้วยภูพระอังคาร-เขาไปรบัท-เขาพนมรุ้ง-เขากระโดง-เขาพนมสวาย (กลุ่มบี) และบริเวณขอบด้านตะวันออกสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ภูก้อม-น้ำยืน (กลุ่มซี-1) ภูเงิน-ภูขมิ้น (กลุ่มซี-2) และภูฝ้าย (กลุ่มซี-3) กลุ่มเอประกอบด้วยหินบะซอลต์ หินทราคีบะซอลต์ (46.5-48.9wt% SiO2); กลุ่มบีประกอบด้วยหินทราคีบะซอลต์ หินบะซอลติกทราคีแอนดีไซต์ มีปริมาณซิลิกาสูง (49.3-52.9wt% SiO2) MgO ต่ำ และมีธาตุหายากปานกลาง (MREE: Sm, Eu, Gd) มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ; กลุ่มซี-1 ประกอบด้วยหินบะซอลต์ หินทราคีบะซอลต์ (46.9-51.2wt% SiO2); กลุ่มซี-2 ประกอบด้วยหินบาซาไนต์และหินทราคีบะซอลต์ มีปริมาณซิลิกาต่ำ (42.5-47.8wt% SiO2) แสดงถึงระดับการหลอมบางส่วนมีค่าต่ำ; กลุ่ม C-3 ประกอบด้วยหินบะซอลติกทราคีแอนดีไซต์ (49.8-51.1wt% SiO2) ความสัมพันธ์ของธาตุ Zr-Ti-Y-Nb สนับสนุนว่า การปะทุของหินบะซอลต์อายุซีโนโซอิกบริเวณตอนใต้ของที่ราบสูงโคราชมีลักษณะการปะทุภายในบริเวณแผ่นเปลือกโลก โดยหินหนืดบะซอลต์อาจหลอมจากหินต้นกำเนิดที่แตกต่างกัน 2 ชนิด ได้แก่ หินต้นกำเนิดซึ่งหลอมให้หินหนืดที่คล้ายกับหินบะซอลต์ปะทุบนพื้นมหาสมุทร (OIB) แสดงลักษณะธาตุหายากเบา (LREE) ที่มีปริมาณมากแต่แสดงลักษณะธาตุหายากหนัก (HREE) ปริมาณน้อย พบลักษณะดังกล่าวจากหินบะซอลต์ในบริเวณขอบด้านตะวันตกและตะวันออก (กลุ่มเอ, กลุ่มซี-1, กลุ่มซี-2 และกลุ่มซี-3) หลังจากนั้นเกิดการหลอมหินต้นกำเนิดที่มีลักษณะธาตุหายากปานกลาง (MREE) ที่ปริมาณมากขึ้นเข้ามาในหินต้นกำเนิดเดิม ซึ่งแสดงลักษณะคล้ายกลุ่มหินบะซอลต์ที่พบบริเวณขอบแต่มีปริมาณธาตุหายากปานกลางมากขึ้น ซึ่งพบลักษณะดังกล่าวจากหินบะซอลต์ในบริเวณตอนกลาง (กลุ่มบี) | en_US |
Appears in Collections: | SCIENCE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
610535909.pdf | 16.97 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.