Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73738
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรัญญา กันตะบุตร-
dc.contributor.authorปัทมพร อิ่มวิทยาen_US
dc.date.accessioned2022-07-31T02:46:47Z-
dc.date.available2022-07-31T02:46:47Z-
dc.date.issued2021-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73738-
dc.description.abstractThe purpose of this study is to examine the motivation of Thai generation Y tourists towards wellness tourism in Chiang Mai. For a data collection, the researcher collected questionnaires completed by a sample of 385 Thai tourists visiting Chiang Mai province and analyzed them by using descriptive statistics comprising frequency, percentage, mean and inferential statistics including statistical test (t-test). The results were summarized as follow: The findings showed that most respondents are 28-year-old single females with bachelor’s degrees. Most respondents are government officials, state enterprise employees and government employees, with a monthly income of approximately 15,000 - 30,000 baht. These respondents live in Bangkok and surrounding areas. They highly value consuming healthy foods and working out in daily life. However, they encounter a high level of anxiety in their work and study in daily life. The findings regarding the respondents’ behavior revealed that they took a trip to Chiang Mai by airplane and then used cars as a main vehicle throughout the trip with their friends. They preferred staying at hotels or resorts. They searched for wellness tourism via the search engine, Google. They took the one-to-three-day trip with the expense around 8,001-11,000 baht. Apart from wellness tourism, they preferred to do bird-watching or animals-watching activities. The opinions toward providing importance on healthy food consumption together with wellness tourism appeared to be at an uncertain level. The overall satisfaction of wellness tourism service in Chiang Mai was tremendously satisfied. Moreover, they not only would revisit wellness tourism in the future but also suggest their friends or acquaintances to visit there. The findings regarding the respondents' motivation indicated that the most significant push factors included physical and mental relaxation; they needed natural therapy; they rewarded themselves after studying hard and working hard; they needed to strengthen body, in addition to avoiding monotony and stress, or to overcoming dreadful situations. For the most crucial pull factors, there were service places with cleanliness and hygiene; there was a need to have skillful staff and reliability in the service places; the price of products and services should be appropriate, and the service places should be private The data of the respondent’s motivation shows that the top 3 activities that most of the respondents participated on are Traditional Thai Massage, Spa and Foot Massage. The mean of the push factors based on the respondents who participate on Traditional Thai Massage indicated that the most significant 3 factors included physical and mental relaxation; they need natural therapy; they rewarded themselves after working or studying hard. For the mean of the pull factor included 3 crucial factors, there were a reliable service places, cleanliness and hygiene of the services places and a skillful staff. The mean of the push factors based on the respondents who participated on Spa indicated that the most significant 3 factors included physical and mental relaxation; they need natural therapy; they rewarded themselves after working or studying hard. For the mean of the pull factor included 3 crucial factors, there were cleanliness and hygiene of the services places, a skillful staff and the beautiful scenery of the service places. The mean of the push factors based on the respondents who participated on Foot Massage indicated that the most significant 3 factors included physical and mental relaxation; meeting new society or places to improving their appearances; they need natural therapy. For the mean of the pull factor based on the respondents who participated on Foot Massage included 3 crucial factors were about the price of products and services should be appropriate, skillful staff and the service places with a uniqueness style.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยเจเนอเรชันวายต่อการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeMotivation of Thai generation Y tourists towards wellness tourism in Chiang Mai provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการท่องเที่ยว -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashพฤติกรรมผู้บริโภค-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยเจนเนอเรชั่นวายที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยเจเนอเรชั่นวายที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 385 คน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติอนุมาน ได้แก่การทดสอบก่สถิติ t (t-test) ซึ่งสามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังต่อไปนี้ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 28 ปี สถานภาพ โสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/ลูกจ้างหน่วยงานราชการ/พนักงานของรัฐ มีรายได้ต่อเดือน ระหว่าง 15,000 -30,000 บาท สถานที่ทำงานหรือสถานศึกษาในปัจจุบันจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้ความสำคัญต่อการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายในชีวิตประจำวันอยู่ในระดับมาก และมีระดับความเครียดที่พบเจอในการทำงานหรือการเรียนในชีวิตประจำวันอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาด้านพฤติกรรมพบว่า พาหนะที่ผู้ตอบแบบสอบถามใช้เดินทางท่องเที่ยวมายังจังหวัดเชียงใหม่คือ เครื่องบิน และใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางท่องเที่ยวภายในจังหวัดเชียงใหม่ โดยท่องเที่ยวร่วมกับกลุ่มเพื่อน นิยมเลือกพักที่ โรงแรมหรือรีสอร์ท มีการค้นหาแหล่งท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพผ่านทาง Google ใช้เวลาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่โดยเฉลี่ย 1-3 วัน มีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉลี่ย 8,001 -11,000 บาท มีการเข้าร่วมทำกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ คือ การดูนกหรือการส่องสัตว์ มีระดับความคิดเห็นต่อการให้ความสำคัญกับการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ อยู่ในระดับไม่แน่ใจ มีความพอใจโดยรวมต่อการใช้บริการเชิงส่งเสริมสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด มีความคิดเห็นที่จะกลับมาท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพอีกครั้งในอนาคตอย่างแน่นอน และจะแนะนำเพื่อนหรือคนรู้จักให้มาท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่อย่างแน่นอน ผลการศึกษาด้านแรงจูงใจ พบว่าด้าน ปัจจัยผลักที่มีระดับความสำคัญมากที่สุดได้แก่ ความต้องการผ่อนคลายร่างกาย และพักผ่อนหย่อนใจ ความต้องการใช้ธรรมชาติบำบัดร่างกาย เช่น น้ำ อากาศ แสงแดด สมุนไพร เป็นต้น ความต้องการให้รางวัลตนเองจากการเรียนหรือการทำงานอย่างหนัก ความต้องการพัฒนาร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง และความต้องการหลีกหนีความจำเจ ความเครียด หรือทำใจจากเรื่องร้ายๆ ส่วนด้านปัจจัยดึงที่มีระดับความสำคัญมากที่สุดคือ สถานที่บริการมีความสะอาดและมีบรรยากาศที่ถูกสุขอนามัย พนักงานให้บริการมีความเชี่ยวชาญชำนาญ สถานที่ให้บริการมีความน่าเชื่อถือ สินค้าและบริการมีราคาที่เหมาะสม และสถานที่ให้บริการมีความเป็นส่วนตัว ผลการศึกษาด้านแรงจูงใจ จำแนกตามประเภทกิจกรรมเชิงส่งเสริมสุขภาพที่มีผู้เข้าร่วมมากที่สุด 3 อันดับได้แก่ การนวดแผนไทย สปา และการนวดฝ่าเท้า พบว่าปัจจัยผลักของผู้ตอบแบบสอบถามที่เข้าร่วมทำกิจกรรมนวดแผน ไทย ที่มีค่าเฉลี่ยระดับความสำคัญสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ความต้องการผ่อนคลายร่างกาย และพักผ่อนหย่อนใจ ความต้องการใช้ธรรมชาติบำบัดร่างกาย และความต้องการให้รางวัลตนเองจากการเรียนหรือการทำงานอย่างหนัก และปัจจัยดึงที่มีค่าเฉลี่ยระดับความสำคัญสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สถานที่ให้บริการมีความน่าเชื่อถือ สถานที่บริการมีความสะอาดและมีบรรยากาศที่ถูกสุขอนามัย และพนักงานให้บริการมีความเชี่ยวชาญชำนาญ ปัจจัยผลักของผู้ตอบแบบสอบถามที่เข้าร่วมทำกิจกรรมสปาที่มีค่าเฉลี่ยระดับความสำคัญสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ต้องการผ่อนคลายร่างกาย และพักผ่อนหย่อนใจ ต้องการใช้ธรรมชาติบำบัดร่างกาย และต้องการให้รางวัลตนเองจากการเรียนหรือการทำงานอย่างหนัก และปัจจัยดึงที่มีค่าเฉลี่ยระดับความสำคัญสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สถานที่บริการมีความสะอาดและมีบรรยากาศที่ถูกสุขอนามัย พนักงานให้บริการมีความเชี่ยวชาญชำนาญ และสถานที่ให้บริการมีความสวยงาม ปัจจัยผลักของผู้ตอบแบบสอบถามที่เข้าร่วมทำกิจกรรมนวดฝ่าเท้าที่มีค่าเฉลี่ยระดับความสำคัญสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ความต้องการผ่อนคลายร่างกาย และพักผ่อนหย่อนใจ ความต้องการพบสิ่งแปลกใหม่ หรือสถานที่ใหม่ๆในการปรับปรุง ส่งเสริมสุขภาพของตนเอง และความต้องการใช้ธรรมชาติบำบัดร่างกาย และ ปัจจัยดึงที่มีค่าเฉลี่ยระดับความสำคัญสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สินค้าและบริการมีราคาที่เหมาะสม พนักงานให้บริการมีความเชี่ยวชาญชำนาญ และสถานที่ให้บริการมีความเป็นเอกลักษณ์en_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601532040 ปัทมพร อิ่มวิทยา.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.