Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73648
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศรัญญา กันตะบุตร | - |
dc.contributor.author | กุมารี อุทิตสาร | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-07-17T08:09:03Z | - |
dc.date.available | 2022-07-17T08:09:03Z | - |
dc.date.issued | 2021-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73648 | - |
dc.description.abstract | The purpose of this independent study was to study factors affecting Thai tourists towards travelling to Chae Son National Park, Lampang Province. The data was collected by using a questionnaire from sample group of 400 Thai tourists who travelled and stayed at Chae Son National Park, Lampang Province within 6 months. The data was analyzed by using the descriptive statistics which consist of frequency, percentage and mean and using inferential statistics which was one-way ANOVA. The result of this study revealed that most respondents are male. They are 30-49 years old. Their education is bachelor's degree. Their hometown is in the northern part of Thailand. They are bureaucrat/government/or officer/state enterprise employee. Their income is between 10,001 - 20,000 Baht. Most of them travelled by their own car and used to travel to National Park once. Their travel expenses were between 2,001 - 3,000 Baht. Most of them travelled with family and relatives. They got information about National Park from website. They came to travel during weekend and travelled for 1 day. They searched information for booking accommodation through National park's website and they also made a reservation through National park's website. The study of factors affecting Thai tourists towards travelling to Chae Son National Park, Lampang Province indicated that overall components were high impact level. The results when sorting in descending order were 1) Activity, with the first subcomponent was activity expenses that were reasonable. 2) Attraction, with the first subcomponent was Chae Son Hot Spring. 3) Accommodation, with the first subcomponent was clean and beautiful accommodation. 4) Amenity, with the first subcomponent was warning signs or giving advice to tourists at various travel points. 5) Accessibility, with the first subcomponent was clear road signs to the National Park, 6) Ancillary Service, with the first subcomponent was providing staff for advising/taking care of tourists. When analyzing data by separating data based on travel frequency, it was found that travel expenses, information sources, travel period, accommodation booking sources and method of booking are different according to travel frequency of respondents. Moreover, they have some different subcomponents of Attraction, Accessibility, Amenity, Ancillary Service, Accommodation, and Activity. When analyzing data by separating data based on age, it was found that travel frequency, travel expenses, information sources, travel period, accommodation booking sources and method of booking are different according to age of respondents. Moreover, they have different in some subcomponents of Attraction, Accessibility, Amenity, Ancillary Service, Accommodation, and Activity. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยในการมาท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน จังหวัดลำปาง | en_US |
dc.title.alternative | Factors affecting thai tourists towards travelling to Chae Son National Park, Lampang Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | นักท่องเที่ยว -- ไทย | - |
thailis.controlvocab.thash | พฤติกรรมผู้บริโภค | - |
thailis.controlvocab.thash | ความพอใจของผู้ใช้บริการ | - |
thailis.controlvocab.thash | ลำปาง -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว | - |
thailis.controlvocab.thash | อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน (ลำปาง) | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การค้นคว้าแบบอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยในการมาท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน จังหวัดลำปาง โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวและพักแรมที่อุทยานแห่งชาติเจ้ซ้อนภายในเวลาไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 400 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ยและใช้สถิติอนุมาน ประกอบด้วยการวิเคราะห์ความแปร ปรวนแบบจำแนกทางเดียว (One – way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 30-49 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีภูมิลำเนาอยู่ที่ภาคเหนือ มีอาชีพข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีรายได้ระหว่าง 10,001 - 20,000 บาท ส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวด้วยรถยนต์ส่วนตัว เคยมาท่องเที่ยวที่อุทยานฯ แล้ว 1 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวระหว่าง 2,001 - 3,000 บาท ส่วนใหญ่เดินทางมากับครอบครัวและญาติ ทราบข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานมาจากเว็บไซด์ เดินทางมาท่องเที่ยววันเสาร์ - อาทิตย์ ระยะเวลาในการมาท่องเที่ยวคือ 1 วัน หาแหล่งข้อมูลในการจองที่พักจากเว็บไซต์ของอุทยานฯ และดำเนินการจองที่พักโดยจองผ่านเว็บไซต์ของอุทยานฯ การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยในการมาท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนพบว่า องค์ประกอบในการท่องเที่ยวที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยในการมาท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนในภาพรวมอยู่ในระดับมีผลมาก โดยเรียงลำดับการมีผลคือ 1) ด้านกิจกรรม โดยมีปัจจัยย่อยอันดับแรกคือค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมมีความเหมาะสม 2) ด้านสิ่งดึงดูดใจในการท่องเที่ยว โดยมีปัจจัยย่อยอันดับแรกคือบ่อน้ำพุร้อนแจ้ซ้อน 3) ด้านที่พัก โดยมีปัจจัยย่อยอันดับแรก คือสถานที่พักมีความสะอาดสวยงาม 4) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก โดยมีปัจจัยย่อยอันดับแรกคือมีป้ายเตือนหรือป้ายให้คำแนะนำแก่นักท่องเที่ยวในจุดต่างๆ 5) ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว โดยมีปัจจัยย่อยอันดับแรกคือมีป้ายบอกทางไปอุทยานฯ ชัดเจน 6) ด้านการบริการการท่องเที่ยว โดยมีปัจจัยย่อยอันดับแรกคือมีเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ให้คำแนะนำ/ดูแลในการท่องเที่ยว เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแยกตามจำนวนครั้งที่เคยมาท่องเที่ยว พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีจำนวนครั้งที่เคยมาท่องเที่ยวแตกต่างกัน มีค่าใช้ง่ายในการมาท่องเที่ยว แหล่งที่ทราบข้อมูล ระยะเวลาในการมาท่องเที่ยว แหล่งข้อมูลในการจองที่พักและวิธี การในการจองที่พักแตกต่างกัน และแตกต่างกันในบางองค์ประกอบย่อยของด้านสิ่งดึงดูดใจในการท่องเที่ยว ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการบริการการท่องเที่ยว ด้านที่พัก และด้านกิจกรรมเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแยกตามช่วงอายุ พบว่าจำนวนครั้งที่เคยมาท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายในการมาท่องเที่ยว แหล่งที่ทราบข้อมูล ระยะเวลาในการมาท่องเที่ยว แหล่งข้อมูลในการจองที่พักและวิธีการในการจองที่พักแตกต่างกันตามอายุของผู้ตอบแบบสอบถาม และแตกต่างกันในบางองค์ประกอบย่อยของด้านสิ่งดึงดูดใจในการท่องเที่ยว ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการบริการการท่องเที่ยว ด้านที่พัก และด้านกิจกรรม | en_US |
Appears in Collections: | BA: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
611532042 กุมารี อุทิตสาร.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.