Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73610
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วันเพ็ญ เจริญตระกูลปีติ | - |
dc.contributor.advisor | อัจฉรา วัฒนภิญโญ | - |
dc.contributor.author | พรรษวุฒิ นันทรัตน์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-07-10T06:42:57Z | - |
dc.date.available | 2022-07-10T06:42:57Z | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73610 | - |
dc.description.abstract | The research aimed to study an influence of physical structure on cooling effect of green space for urban heat island mitigation in Chiang Mai city. The research itself had objectives as follows: 1.) to study the interrelated patterns of both time and spatial changes on heat island 2.) to analyze the spatial relationship between land-cover and surface temperature 3.) to analyze the relationship of the physical structure towards both surrounding temperature and wind flow speed respectively, at its different potentials 4.) to explore the possible ways to enhance the cooling effect efficiency of green spaces through collecting data both in the fieldwork survey and statistic collection, along with the data from Landsat 8’s satellite image interpretation. The result had found that the urban heat island in Chiang Mai has greatly changed over 15 years during 2002 – 2016. To explain, the rural representative station occupied higher temperature of heat island than that of the city representative station, specifically in 2009. This was due to the fact that an expansion of hard surface which is being considered an important factor of surface temperature increased. Still, the expansion of hard surface also made the pattern of heat island grow instantly in accordance with urban expansion. This was considered the changes in terms of time and space. Moreover, the analysis of the spatial relationship between landcover and temperature of Chiang Mai had revealed that the physical structure affected temperature significantly. This proved through the hard-characteristic land use, such as high crowded urban---- while soft-characteristic land use was exemplified by moderate crowded areas related to its temperature. To simplify, higher temperature had found in downtown or center of the city. On the other hand, the lower temperature had found in the area that consisted of green land use which was able to create a cool island (Park Cool Island) for its surrounding areas. This was a result of the cooling effects onto green spaces in public green areas at different potentials which were as follows: mini park, neighborhood park, and community park. The result of their efficiencies was revealed that the cooling effects of mini park is less efficiency than the community garden. The railway park (community garden) with its size at 60.5 rai had the distance of cooling effects of 75 - 100 meters, while Nong Buak Haad Health Park (neighborhood park) with its size at 12.42 rai had the distance of cooling effects of 25 - 75 meters. In addition, the cooling effects also further generated the cool island of its surroundings up to 200 meters away in the area around the Baan Den Health Park. However, the efficiency of cooling effects still depended on the physical structure of the green area which was comprised of physical factors, urban geometry, and land use. The proper physical structure of the green area was able to further enhance the efficiency of cooling effects. The results of the study could suggest possible ways to increase the efficiency of cooling effects of urban green spaces. For example, increasing the soft surfaces in the park at different levels, expanding an existing park to a level as same as the neighborhood park to have more green areas in order to increase the cooling effects, adding soft surfaces inside and around both public and private buildings, or even adding green roof areas that could help reduce the surface temperature and produced cooling effects to alleviate the urban heat island. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | อิทธิพลของโครงสร้างทางกายภาพต่อการแพร่กระจายความเย็นของพื้นที่สีเขียวเพื่อบรรเทาปรากฏการณ์เกาะความร้อนในเมืองเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Aninfluence of physical structure on cooling effect of green space for urban heat island mitigation in Chiang Mai city | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | โดมความร้อนของเมือง -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | ภูมิอากาศวิทยาเมือง -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | การใช้ที่ดิน -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | แนวพื้นที่สีเขียว -- เชียงใหม่ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาอิทธิพลของโครงสร้างทางกายภาพต่อการแพร่กระจายความเย็นของพื้นที่สีเขียวเพื่อบรรเทาปรากฏการณ์เกาะความร้อนในเมืองเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงเชิงเวลา และเชิงพื้นที่ของปรากฏการณ์เกาะความร้อน 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระหว่างสิ่งปกคลุมดินและอุณหภูมิ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางกายภาพและอุณหภูมิบริเวณโดยรอบพื้นที่สีเขียวและความเร็วลมแยกตามลำดับศักดิ์ของพื้นที่สีเขียว 4) ศึกษาแนวทางในการเพิ่มศักยภาพในการแพร่กระจายความเย็น โดยรอบพื้นที่สีเขียว ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม และข้อมูลสถิติร่วมกับข้อมูลจากการแปลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 8 ผลการศึกษา พบว่าปรากฏการณ์เกาะความร้อนภายในเมืองเชียงใหม่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลา 15 ปี คือในช่วงพ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2559 พบว่าเกะความร้อนในปี พ.ศ. 2532 สถานีตัวแทนชนบทมีอุณหภูมิสูงกว่าสถานีตัวแทนเมือง เนื่องจากสถานีชนบทมีการเพิ่มขึ้นของพื้นผิวดาดแข็งซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิพื้นผิว และทำให้รูปแบบของเกาะความร้อนที่ขยายตัวตามการขยายตัวของเมืองซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงเวลาและเชิงพื้นที่ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่ระหว่างสิ่งปกคลุมดินและอุณหภูมิของเมืองเชียงใหม่พบว่า โครงสร้างทางกายภาพส่งผลต่ออุณหภูมิโดยการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีลักษณะพื้นผิวดาดแข็ง เช่น พื้นที่เมืองหนาแน่นมากและลักษณะพื้นผิวดาดอ่อนคือ พื้นที่สีเขียวหนาแน่นปานกลางมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิ โดยบริเวณที่อุณหภูมิสูงพบบริเวณใจกลางเมืองที่เมืองหนาแน่นมาก ในบริเวณที่อุณหภูมิต่ำพบบริเวณการใช้ที่ดินประเภทพื้นที่สีเขียวซึ่งทำให้เกิดเกาะความเย็น (Park Cool Isand) ในบริเวณ โดยรอบ เป็นผลมาจากการแพร่กระจายความเย็นของพื้นที่สีเขียวของพื้นที่สีเขียวสาธารณะที่มีลำดับศักดิ์ต่างกัน ได้แก่ พื้นที่สีเขียวประเภทสวนขนาดเล็ก สวนระดับย่าน และสวนชุมชน ผลการศึกษาศักยภาพพบว่าสวนขนาดเล็กมีศักยภาพในการแพร่กระจายความเย็นน้อยกว่าสวนชุมชน โดยสวนสาธารณะรถไฟมีขนาด 60.5 ไร่ (สวนชุมชน) มีระยะทางการแพร่กระจายความเย็นที่รัศมี โดยรอบ 75 - 100 เมตร ในขณะที่สวนสุขภาพหนองบวกหาดมีขนาด 12.42 ไร่ (สวนระดับย่าน) มีระยะทางแพร่กระจายความเย็นรัศมีโดยรอบ 25 - 75 เมตร นอกจากนี้การแพร่กระจายความเย็นยังส่งผลให้เกิดเกาะความเย็น โดยรอบพื้นที่สีเขียวออกไปเป็นระยะทาง 200 เมตรในบริเวณรอบสวนสุขภาพบ้านเด่น (สวนระดับย่าน) อย่างไรก็ตามศักยภาพของการแพร่กระจายความเย็นขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงสร้างทางกายภาพของพื้นที่สีเขียว ได้แก่ ปัจจัยทางกายภาพ เรขาคณิตเมือง และการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยโครงสร้างทางกายภาพภายในพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสมจะสามารถช่วยเพิ่มศักยภาพในการแพร่กระจายความเย็นได้มากยิ่งขึ้น จากผลการศึกษาสามารถสนอแนวทางในการเพิ่มศักยภาพในการแพร่กระจายความเย็นของพื้นที่สีเขียวภายในเมืองได้ เช่น เพิ่มพื้นผิวดาดอ่อนในพื้นที่สวนสาธารณะระดับต่างๆ และขยายสวนสาธารณะเดิมในระดับใกล้เคียงกับสวนระดับย่านให้มีพื้นที่สีเขียวมากขึ้นเพื่อเพิ่มการแพร่กระจายความเย็น การเพิ่มพื้นผิวดาคอ่อนภายในและโดยรอบอาคารทั้งในส่วนของภาครัฐ และภาคเอกชน หรือการเพิ่มพื้นที่หลังคาสีเขียว (Green Roof) ช่วยลดอุณหภูมิพื้นผิวและเป็นการสร้างการแพร่กระจายความเย็น ซึ่งช่วยบรรเทาปรากฏการณ์เกาะความร้อนภายในเมือง | en_US |
Appears in Collections: | SOC: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
590431021 พรรษวุฒิ นันทรัตน์.pdf | 16.23 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.