Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73598
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิติมา ดิศกุลเนติวิทย์-
dc.contributor.authorกันตินันท์ กวินพีรนันท์en_US
dc.date.accessioned2022-07-09T10:55:59Z-
dc.date.available2022-07-09T10:55:59Z-
dc.date.issued2020-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73598-
dc.description.abstractThis independent study aimed to investigate relationship between managerial confidence and capital structure of companies listed on the Stock Exchange of Thailand (SET) and the Market for Alternative Investment (MAI). In this study, sources of secondary data were financial information and company profiles presented during B.E. 2557 – B.E. 2561. Data obtained were analyzed by the Multiple Regression Analysis. In order to measure the corporate capital structure, two variables i.e. the ratio of book value of total liabilities per book value of total assets (LBV); and the ratio of book value of total liabilities per the sum of book value of total liabilities and market value of stockholders (LMV) were discussed. The findings indicated that the ratio of book value of total liabilities per book value of total assets (LBV) did not correlate with managerial confidence; but the ratio of book value of total liabilities per the sum of book value of total liabilities and market value of stockholders (LMV) did in opposite direction. This incident could imply that the capital structure of the past liabilities did not affect the managerial confidence on capital structure determination because the affordability ratio could be calculated by the book value of existing fixed assets. In the meanwhile, the debt capacity as measured by the ratio of book value of total liabilities per the sum of book value of total liabilities and market value of stockholders (LMV) affected the managerial confidence on capital structure determination. If the companies had high debt capacity, the level of managerial confidence towards debt capacity would decrease because the administrators must be aware of risks on loan interests and corporate liquidity that might affect the firm value in the future. In addition, firm size and its property, buildings, and equipment positively correlated to the capital structure. This incident implied that if a company had large firm size with a large number of properties, buildings, and equipment which could be used as collaterals for loaning. In doing so, it allowed the company to access external sources of funding, resulted to the increase of managerial confidence and the increase of ratio of total liabilities per market value of stockholders. The findings also revealed that growth opportunity and profitability of a company correlated to the capital structure negatively. This incident implied that if a company had better performance, the administrators shall work up the internal sources of financing prior to the external ones, resulted to the decrease of external debt and the decrease of ratio of total liabilities per market value of stockholders.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมั่นของผู้บริหาร และโครงสร้างเงินทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอen_US
dc.title.alternativeRelationship between managerial confidence and capital structure of companies listed on the stock exchange of Thailand and the market for alternative investmenten_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย-
thailis.controlvocab.thashการวิเคราะห์การถดถอย-
thailis.controlvocab.thashเงินทุน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมั่นของผู้บริหารและโครงสร้างเงินทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ โดยเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากข้อมูลทางการเงินของบริษัท ระหว่างปี พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2561 และได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ซึ่งการวัดค่าโครงสร้างเงินทุนจะใช้ 2 ตัวแปร ได้แก่ อัตราส่วนของมูลค่าทางบัญชีของหนี้สินรวมต่อมูลค่าทางบัญชีของสินทรัพย์รวม (LBV) และ อัตราส่วนของมูลค่าทางบัญชีของหนี้สินรวมต่อผลรวมของมูลค่าทางบัญชีของหนี้สินและมูลค่าตลาดของส่วนของผู้ถือหุ้น (LMV) ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนของมูลค่าทางบัญชีของหนี้สินรวมต่อมูลค่าทางบัญชีของสินทรัพย์รวม (LBV) ไม่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อมั่นของผู้บริหาร แต่อัตราส่วนของมูลค่าทางบัญชีของหนี้สินรวมต่อผลรวมของมูลค่าทางบัญชีของหนี้สินและมูลค่าตลาดของส่วนของผู้ถือหุ้น (LMV) มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับความเชื่อมั่นของผู้บริหาร สามารถอธิบายได้ว่าโครงสร้างเงินทุนที่เกิดจากการก่อหนี้ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตไม่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริหารในการกำหนดโครงสร้างเงินทุนเนื่องจากสามารถคำนวณความสามารถในการชำระหนี้ด้วยมูลค่าทางบัญชีของสินทรัพย์ถาวรที่มีอยู่ ในขณะที่ความสามารถในการก่อหนี้ในอนาคต ที่วัดจากอัตราส่วนของมูลค่าทางบัญชีของหนี้สินรวมต่อผลรวมของมูลค่าทางบัญชีของหนี้สินและมูลค่าตลาดของส่วนของผู้ถือหุ้น (LMV) มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริหารในการกำหนดโครงสร้างเงินทุน เมื่อบริษัทมีความสามารถในการก่อหนี้ในอนาคตสูง ผู้บริหารจะมีความมั่นใจในการก่อหนี้ลดลง เนื่องจากต้องระมัดระวังความเสี่ยงเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้และสภาพคล่องของกิจการ ซึ่งจะมีผลกระทบกับมูลค่าของกิจการในอนาคตนั่นเอง นอกจากนี้ยังพบว่าขนาดของกิจการและที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับโครงสร้างเงินทุน อธิบายได้ว่าเมื่อบริษัทมีขนาดที่ใหญ่และมีที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ จำนวนมาก สามารถนำมาใช้เป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินได้ จึงทำให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากภายนอกได้ง่าย ผู้บริหารจึงมีความมั่นใจที่จะก่อหนี้จากภายนอกสูงขึ้น ทำให้อัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูงขึ้น ส่วนโอกาสการเติบโตของกิจการและความสามารถในการทำกำไรมีความสัมพันธ์เชิงลบกับโครงสร้างเงินทุน สามารถอธิบายได้ว่าเมื่อบริษัทมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น ผู้บริหารย่อมจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนภายในก่อนจัดหาเงินทุนจากแหล่งภายนอก จึงทำให้การก่อหนี้ภายนอกลดลง จึงทำให้อัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.