Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73595
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจามะรี เชียงทอง-
dc.contributor.advisorอริยา เศวตามร์-
dc.contributor.advisorไพบูลย์ เฮงสุวรรณ-
dc.contributor.authorนิรันตรี สุขดีen_US
dc.date.accessioned2022-07-09T10:16:28Z-
dc.date.available2022-07-09T10:16:28Z-
dc.date.issued2021-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73595-
dc.description.abstractThis thesis is a study to understand the practices of everyday life of women traders; their trading tactics and their informal social networking to accumulate capital to raise their position to become large entrepreneurs. Moreover, this study pays attention to the status of women in the domestic space by trying to understand negotiation and management of domestic relations of women traders. This study wants to examine if women have gained better status, and how they negotiated power relations in the domestics space. The study has found that though there are a lot of small-scale women traders; only a few can raise their status into large entrepreneurs. Chiang Mai University (1) This study found that women faced a problem of access to production resources and capital; including revolving funds which are necessary for the success and the sustenance of the trade. Women traders tried to solve problems of the lack of revolving funds by daily engagement in rotating saving and credit association (ROSCA) lending on the side of small-scale trades from large entrepreneurs. The lending was made possible through social networking. (2) This study found that, apart from face-to-face networking, large entrepreneurs learned of the experience of modern trading, through working outside of their hometown to learn about new technology, business expansion, through expansion of production lines. (3) As for the status of women in the domestic space, this study found that when working as traders outside of homes, women encountered changes in gender relation; both in the kind of conflicts and cooperation. Many women still had the ideologies of motherhood and wife behind them which made them accept the burden of domestic chores as well as outside trading. This study; however, found that different economic status produces different bargaining power in the domestic sphere, that is, women with better economic status had more bargaining power.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแม่ค้ารายย่อยและกระบวนการกลายเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์en_US
dc.title.alternativeWomen vendors and the process of becoming large entrepreneurs in Chon Dan Market, Phetchabun Province.en_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashแม่ค้า -- เพชรบูรณ์-
thailis.controlvocab.thashสตรี -- การค้า-
thailis.controlvocab.thashสตรี -- ผู้ประกอบการ-
thailis.controlvocab.thashสตรี -- ภาวะสังคม-
thailis.controlvocab.thashสตรี -- เพชรบูรณ์-
thailis.controlvocab.thashตลาด -- เพชรบูรณ์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์นี้ เป็นการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิบัติการการค้าในชีวิตประจำวันของแม่ค้าผู้หญิง โดยให้ความสำคัญกับการสร้างกลยุทธ์การค้า และการสร้างเครือข่ายทางสังคมแบบไม่เป็นทางการของผู้หญิง เพื่อสะสมทุนและเพื่อขยับฐานะตนเองไปเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่นอกจากนั้น งานศึกษานี้ยังให้ความสำคํญกับสถานภาพของผู้หญิงในพื้นที่ครัวเรือน โดยทำความเข้าใจการต่อรอง และการจัดการกับความสัมพันธ์ในครัวเรือนของผู้หญิงที่ประกอบการค้า เพื่อค้นหาว่าเมื่อผู้หญิงออกมามีบทบาททางเศรษฐกิจ ผู้หญิงมีสถานภาพที่ดีขึ้นหรือไม่ และพวกเธอมีวิธีการต่อรองกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจในพื้นที่ครัวเรือนอย่างไร จากผลการศึกษาพบว่า ถึงแม้ว่าจะมีแม่ค้ารายย่อยจำนวนมากในตลาดชนแดน แต่กลับมีแม่ค้าบางคนเท่านั้นที่จะสามารถขยับฐานะของตนไปเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ได้ ซึ่งจากการศึกษาในครั้งนี้สามารถสรุปกระบวนการกลายเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ในพื้นที่ตลาดชนแดนได้ดังนี้ (1) ในวิทยานิพนธ์นี้ค้นพบว่า การเข้าสู่การค้าผู้หญิงต้องเผชิญกับปัญหาการเข้าถึงทรัพยากรในการผลิต และการขาดแคลนเงินทุน ซึ่งเงินทุนหมุนเวียนเป็นหัวใจสำคัญของการประกอบกิจการค้าขายในพื้นที่ เป็นตัวชี้วัดความอยู่รอดของกิจการ และเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้กิจการสามารถดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง และพบว่าผู้หญิงแก้ไขปัญหาเรื่องการขาดเงินทุนหมุนเวียนด้วยการหาแหล่งเงินทุนระยะสั้น เพื่อนำมาใช้ในการประกอบการค้ารายวัน เช่น การเล่นแชร์ และการกู้เงินนอกระบบของแม่ค้ารายย่อย และการปล่อยเงินกู้ของผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งเป็นการระดมงินทุนเพื่อใช้ในการประกอบการค้า โดยใช้เครือข่ายความสัมพันธ์กับแม่ค้าด้วยกัน (2) ในวิทยานิพนธ์นี้ค้นพบว่า นอกจากเครือข่ายความสัมพันธ์แบบเห็นหน้าค่าตากัน ที่ผู้หญิงได้ใช้ในการประกอบการค้าแล้ว ผู้หญิงใช้กลยุทธ์การค้าแบบสมัยใหม่ ซึ่งได้เรียนรู้จากการไปหาประสบการณ์นอกพื้นที่ทำให้ได้สะสมประสบการณ์การค้าขายที่ทันสมัย เช่น การใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้การขยายธุรกิจ โดยการขยายกระบวนการการผลิต (3) สำหรับสถานภาพของผู้หญิงในพื้นที่ครัวเรือน พบว่า เมื่อผู้หญิงเข้าสู่การค้า ผู้หญิงต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างเพศในพื้นที่ครัวเรือน ซึ่งประกอบไปด้วยความสัมพันธ์ที่ทั้งขัดแย้งและช่วยเหลือกัน ผู้หญิงหลายคนมีอุคมการณ์ความเป็นแม่และเมียมากำกับอยู่เบื้องหลังโดยไม่รู้ตัว ทำให้ผู้หญิงต้องแบกรับภาระในบ้าน ไปพร้อมกับการประกอบการค้าขายนอกจากนั้นในงานศึกษานี้ยังแสดงให้เห็นว่า ฐานะทางเศรษฐกิจของผู้หญิงที่ต่างกัน ทำให้สามารถต่อรองในครัวเรือนได้ต่างกัน ผู้หญิงที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจมากกว่า จะสามารถต่อรองได้มากกว่าen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610431006 นิรันตรี สุขดี.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.