Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73585
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิมพ์ชนก เครือสุคนธ์-
dc.contributor.authorพิชชา สุขุมวัฒนะen_US
dc.date.accessioned2022-07-08T15:32:51Z-
dc.date.available2022-07-08T15:32:51Z-
dc.date.issued2021-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73585-
dc.description.abstractThe purposes of this research were (1) to investigate the relationships of perceived innovation self-efficacy, perceived transformational leadership and perceived organizational support on innovative work behavior of engineers in the various company, (2) to examine the predictive power of perceived innovation self-efficacy, perceived transformational leadership and perceived organizational support on innovative work behavior of engineers in the various company. The correlational research design was used. The sample was 404 registered engineers, who working in the various company more than 6 months. Research instruments consisted of demographic questionnaire, perceived innovation self-efficacy scale, perceived transformational leadership scale, perceived organizational support scale and innovative work behavior scale. Data was analyzed by using Descriptive Statistic, Pearson Product Moment Correlation and Multiple Regression Analysis.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleอำนาจการพยากรณ์ของการรับรู้ความสามารถในด้านนวัตกรรมของตนเอง การรับรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของวิศวกรen_US
dc.title.alternativePredictive power of perceived innovation self-efficary, perceived transformational leadership and perceived organizational support on innovative work behavior of engineersen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashวิศวกร-
thailis.controlvocab.thashนวัตกรรม-
thailis.controlvocab.thashการสร้างสรรค์ทางเทคโนโลยี-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ความสามารถในด้านนวัตกรรมของตนเอง การรับรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของวิศวกรในองค์การเอกชน และ (2) เพื่อศึกษาอำนาจการพยากรณ์ของการรับรู้ความสามารถในด้านนวัตกรรมของตนเอง การรับรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์ นวัตกรรมของวิศวกรในองค์การเอกชน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ พนักงานประจำตำแหน่งวิศวกร จำนวน 404 คน ที่ปฏิบัติงานในองค์การเอกชนมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามคุณลักษณะส่วนบุคคล 2) แบบวัดการรับรู้ความสามารถในด้านนวัตกรรมของตนเอง 3) แบบวัดการรับรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 4) แบบวัดการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร และ 5) แบบวัดพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรม ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่ใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยผลการวิจัยพบว่า 1. การรับรู้ความสามารถในด้านนวัตกรรมของตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของวิศวกร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โคยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเท่ากับ .48 2. การรับรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของวิศวกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเท่ากับ .37 3. การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของวิศวกร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเท่ากับ .35 4. การรับรู้ความสามารถในด้านนวัตกรรมของตนเอง การรับรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การร่วมกันทำนายพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของวิศวกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์การถดถอยเท่ากับ .42, .11 และ .18 ตามลำดับen_US
Appears in Collections:HUMAN: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
590132009 พิชชา สุขุมวัฒนะ.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.