Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73566
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุทธนา พิมลศิริผล-
dc.contributor.authorนรีกานต์ ไชยวงค์en_US
dc.date.accessioned2022-07-08T09:45:18Z-
dc.date.available2022-07-08T09:45:18Z-
dc.date.issued2020-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73566-
dc.description.abstractThis research aimed to investigate the effects of different ethanol concentrations (50%, 70%, and 95%) and extraction techniques including Soxhlet extraction, SE (SE50, SE70 and SE95) and ultrasonic extraction, UE (UE50, UE70 and UE95) on the physicochemical properties of mangosteen pericarp extracts (MPE). Total phenolic compounds, total tannin content, condensed tannin content and antioxidant activity of DPPH, ABTS radical scavenging activity, ferric reducing antioxidant power (FRAP) were examined and antibacterial activity of the MPE against Bacillus subtilis, Corynebacterium sp., Escherichia coli, Staphylococcus aureus, and Staphylococcus epidermidis. In addition, deodorizing activity was also evaluated against trans-2-Nonenal as odor components. Results showed that the MPE prepared by ultrasonic extraction with 50% ethanol (UE50) had the highest total phenolic compounds, total tannin content, condensed tannin content and antioxidant activity of DPPH, ABTS radical scavenging activity and FRAP. For antibacterial properties, the UE50 at the concentration of 5 mg/mL and 0.625 mg/mL for minimal inhibitory concentration (MIC) and minimum bactericidal concentration (MBC) could inhibit Corynebacterium sp. Deodorizing activity against trans-2-Nonenal odor of UE50 at concentrations of 1, 10, and 100 mg/mL in the range of 38.9-81.2% which was greater than the standard Epigallocatechin Gallate (EGCG), indicating a better deodorizing ability. For synthesizes of carboxymethyl chitosan (CMCH) from different molecular weights including low Mw (L, 50-190 kDa), medium Mw (M, 210-300 kDa) and high Mw (H, 310-375 kDa) of chitosan on the antioxidant and moisturizing properties. The L-CMCH, M-CMCH and H-CMCH improved the water solubility by about 96%, 90% and 89%, respectively when compared to native chitosan. Higher Mw resulted in more viscous of CMCH. For antioxidant properties, the L-CMCH had higher antioxidant properties by DPPH, ABTS and FRAP. IC50 values of DPPH and ABTS radical scavenging activity for L-CMCH were 1.70 and 1.37 mg/mL and 6.65 μmol Fe2+/g sample on FRAP assay, respectively. The moisturizing properties on pig skin using a Corneometer® showed that 0.5% H-CMCH was significantly (p<0.05) greater moisturizing effect than that of untreated-skin, distilled water, propylene glycol and native chitosan from three molecular weights. In deodorant cream development, 0.1% UE50 and 1% H-CMCH were used in the optimal formula. Sensory evaluation of the developed product was evaluated using 9-point hedonic scale in home use test for 7 days. The attributes of appearance, color, viscosity, moisturizing and overall liking score were in the range of like slightly to like moderately. The liking score of deodorizing performance was like moderately and no skin irritation of consumers after applying the developed product.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการผลิตสารระงับกลิ่นกายจากสารสกัดเปลือกมังคุด และสารคงความชุ่มชื้นจากคาร์บอกซีเมทิลไคโตซาน สำหรับครีมระงับกลิ่นกายen_US
dc.title.alternativeProduction of deodorant from mangosteen pericarp extract and moisturizer from carboxymethyl chitosan for deodorizing creamen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashมังคุด-
thailis.controlvocab.thashไคโตแซน-
thailis.controlvocab.thashแบคทีเรีย-
thailis.controlvocab.thashแอนติออกซิแดนท์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของตัวทำละลายเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 50, 70 และ 95 และวิธีการสกัด ได้แก่ คือ การสกัดด้วย Soxhlet extraction, SE (SE50, SE70 และ SE95) และการสกัดด้วย Ultrasonic extraction, UE (UE50, UE70 และ UE95) ต่อคุณภาพด้านเคมีกายภาพ การต้านอนุมูลอิสระและการต้านจุลินทรีย์ของสารสกัดเปลือกมังคุด (MPE) โดยตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก ปริมาณแทนนิน ปริมาณคอนเดนส์แทนนิน การต้านอนุมูลอิสระ DPPH, ABTS และ FRAP การยับยั้บแบคทีเรีย Bacillus subtilis, Corynebacterium sp., Escherichia coli, Staphylococcus aureus, และ Staphylococcus epidermidis และการยับยั้งกลิ่น trans-2-Nonenal ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดเปลือกมังคุดที่ได้จากตัวทำละลายเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 50 ด้วยการสกัดด้วยคลื่นเสียง (UE50) มีปริมาณสารประกอบฟีนอล ปริมาณแทนนิน คอนเดนส์แทนนิน และการต้านอนุมูลอิสระ DPPH, ABTS และ FRAP ดีที่สุด ในขณะที่ค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดการยับยั้งแบคทีเรีย (MIC) และค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดการฆ่าแบคทีเรีย (MBC) ต่อ Corynebacterium sp. เท่ากับ 5 และ 0.625 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ การยับยั้งกลิ่น trans-2-Nonenal ของ UE50 ความเข้มข้นร้อยละ 1, 10 และ 100 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร อยู่ในช่วงร้อยละ 38.9-81.2 โดยมีค่าสูงกว่าปริมาณ สารมาตรฐาน Epigallocatechin Gallate (EGCG) ซึ่งบ่งชี้ความสามารถในการยับยั้งกลิ่นที่ดี สำหรับการสังเคราะห์คาร์บอกซีเมทิลไคโตซานจากไคโตซาน (CMCH) ที่มีน้ำหนักโมเลกุลแตกต่างกัน 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดน้ำหนักโมเลกุลต่ำ (L, 50-190 กิโลดาลตัน) ชนิดน้ำหนักโมเลกุลกลาง (M, 210-300 กิโลดาลตัน) และชนิดน้ำหนักโมเลกุลสูง (H, 310-375 กิโลดาลตัน) เพื่อศึกษาสมบัติการต้านอนุมูลอิสระและการยับยั้งจุลินทรีย์ และสมบัติการคงความชุ่มชื้น พบว่า L-CMCH, M-CMCH และ H-CMCH ช่วยเพิ่มความสามารถในการละลายให้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับไคโตซานปกติ โดยการละลายน้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 96, 90 และ 89 ตามลำดับ และยังพบว่าเมื่อน้ำหนักโมเลกุลเพิ่มขึ้น มีผลทำให้ค่าความหนืดเพิ่มขึ้น สำหรับ L-CMCH แสดงค่า IC50 ของ DPPH, ABTS และ FRAP ที่ดีสุด เท่ากับ 1.70 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร, 1.37 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และ 6.65 μmol Fe2+/g sample (ไมโครโมลาร์สมมูลย์ของ Fe2+ ต่อน้ำหนักตัวอย่าง) ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จาการวิเคราะห์สมบัติการคงความชุ่มชื้นบนผิวหนังหมูด้วยเครื่อง Corneometer® พบว่า H-CMCH ความเข้มข้นร้อย 0.5 มีประสิทธิภาพในการคงความชุ่มชื้นผิวได้นานกว่าสิ่งทดลองอื่น ได้แก่ ผิวเปล่า น้ำเปล่า โพรพิลีน ไกลคอล และไคโตซานทั้ง 3 ชนิด อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) จากนั้นทำการพัฒนาสูตรครีมระงับกลิ่นกายที่มีการเติม UE50 ร้อยละ 0.1 และ H-CMCH ร้อยละ 1.0 พบว่า จากการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสกับผู้ทดสอบจำนวน 50 คน เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 7 วัน ด้วยวิธี home use test มีคะแนนความชอบด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น ความข้นหนืด ความชุ่มชื้นของผิวหลังใช้ และความชอบโดยรวม อยู่ในช่วงชอบเล็กน้อยถึงชอบปานกลาง ด้านชอบของผู้บริโภค ต่อความสามารถในการยับยั้งกลิ่นกาย อยู่ในช่วงชอบปานกลาง และผู้ทดสอบไม่พบอาการ ระคายเคืองของผิวหลังใช้ผลิตภัณฑ์en_US
Appears in Collections:AGRO: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601331020 นรีกานต์ ไชยวงค์.pdf8.74 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.