Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73554
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอกสิทธิ ธราวิจิตรกุล-
dc.contributor.advisorวรรณภา นบนอบ-
dc.contributor.authorธัญญารัตน์ วงศ์เก๋en_US
dc.date.accessioned2022-07-07T10:28:09Z-
dc.date.available2022-07-07T10:28:09Z-
dc.date.issued2020-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73554-
dc.description.abstractThis study is a prospective study. Daily Cone-Beam Computed Tomography (CBCT) images data of 21 patients with pelvic cancer were used to simulate five non-daily imaging protocols (Alternate day: AD, First 5 + Weekly: FF+WL, Weekly: WL, First 5 fractions: FF and Alternate week: AW protocol). To determine the feasibility of non-daily image-guided radiotherapy (RT) with volumetric modulated arc therapy for pelvic cancer. The residual errors in the lateral (X) , longitudinal (Y), and vertical (Z) directions and 3D vector shifts of each non-daily imaging protocol were explored. The planning target volume (PTV) margins were calculated. Finally, the average time of each process from the start to stop of the treatment was used to calculate the number of patients treated per day to assess the treatment delivery capacity for different imaging protocols. The 3D Vector shift for the FF+WL protocol produced the greatest proportion of residual error ≤ 0.5 cm and showed the smallest random error in all three directions. However, the FF protocol produced the greatest proportion of residual error > 0.5 cm and revealed the largest magnitudes of systematic error in all three directions. Only the AD protocol can explore the PTV margin of less than 0.5 cm in all three directions. The AW protocol showed the maximum capacity of the treatment delivery, showed the highest number of patients treated per day. In contrast, the AW protocol also affects the treatment accuracy, showed the large residual error and PTV margin. This study suggested that the WL image-guided was the appropriate protocol for the Division of Radiation Oncology, Faculty of Medicine, ChiangMai University when considered the average of patient’s number with PTV margin for X, Y and Z were 0.52, 0.40, and 0.59 cm, respectively. Regarding the results of this study, non-daily image-guided RT strategies for pelvic irradiation should apply more than 0.5 cm margins. The number of patients treated per day, residual error, and PTV margin are information to determine non-daily protocol applications that balance treatment delivery capacity and treatment accuracy.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการหาความถี่ที่เหมาะสมของการใช้ระบบภาพนำในการรักษาด้วยเทคนิครังสีปรับความเข้มเชิงปริมาตร สำหรับผู้ป่วยมะเร็งบริเวณอุ้งเชิงกรานen_US
dc.title.alternativeOptimizing Image Guidance Frequency for Patients Treated with Volumetric Modulated Arc Therapy for Pelvic Canceren_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการรักษาด้วยรังสี-
thailis.controlvocab.thashรังสีวิทยาทางการแพทย์-
thailis.controlvocab.thashการสร้างภาพด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อการวินิจฉัยโรค-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า โดยนำข้อมูลค่าความคลาดเคลื่อนในการจัดท่าผู้ป่วย จากการใช้ระบบภาพนำแบบรายวันของผู้ป่วยมะเร็งบริเวณอุ้งเชิงกราน จำนวน 21 ราย มาจำลองรูปแบบการใช้ระบบภาพนำแบบน้อยกว่ารายวันจำนวน 5 รูปแบบ ได้แก่ การใช้ระบบภาพนำแบบสลับวัน การใช้ระบบภาพนำแบบ 5 ครั้งแรกหลังจากนั้นสัปดาห์ละครั้ง การใช้ระบบภาพนำแบบสัปดาห์ละครั้ง การใช้ระบบภาพนำแบบ 5 ครั้งแรก และการใช้ระบบภาพนำแบบทุก 10 ครั้ง เพื่อหารูปแบบการใช้ระบบภาพนำที่มีความถี่เหมาะสม ในการทวนสอบตำแหน่งการจัดท่าผู้ป่วยมะเร็งบริเวณอุ้งเชิงกราน ที่ฉายรังสีเทคนิคปรับความเข้มเชิงปริมาตร โดยพิจารณาจากค่าความคลาดเคลื่อนคงเหลือจากการจัดท่าผู้ป่วย (residual errors) ในแนว lateral (X) แนว longitudinal (Y) และแนว vertical (Z) และในรูปแบบ 3 มิติ (3D Vector) รวมทั้งค่าระยะขยายจากปริมาตรเป้าหมายเพื่อใช้วางแผนรังสีรักษา (PTV margin) ของการใช้ระบบภาพนำแบบน้อยกว่ารายวันจำนวน 5 รูปแบบ โดยพิจารณาร่วมกับระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในแต่ละกระบวนการฉายรังสี เพื่อนำมาคำนวณจำนวนผู้ป่วยที่สามารถฉายรังสีได้ต่อวัน เมื่อใช้ระบบภาพนำในแต่ละรูปแบบ เพื่อประเมินประสิทธิภาพการให้บริการผู้ป่วยของห้องฉายรังสีเทคนิคปรับความเข้มเชิงปริมาตร ผลการวิจัยพบว่า การใช้ระบบภาพนำรูปแบบ 5 ครั้งแรกหลังจากนั้นสัปดาห์ละครั้ง มีร้อยละความคลาดเคลื่อนคงเหลือจากการจัดท่าผู้ป่วยในรูปแบบสามมิติ ที่มีค่า ≤ 0.5 ซม. จำนวนมากที่สุด และมีค่าความคลาดเคลื่อนแบบสุ่ม (Random error) น้อยที่สุดทั้งสามแนวแกน ในขณะที่ การใช้ระบบภาพนำรูปแบบ 5 ครั้งแรก พบร้อยละของความคลาดเคลื่อนคงเหลือ ที่มีค่า > 0.5 ซม. จำนวนมากที่สุด และ มีค่าความคลาดเคลื่อนแบบระบบ (Systematic error) มากที่สุดทั้งสามแนวแกน ซึ่งการใช้ระบบภาพนำน้อยกว่ารายวันรูปแบบสลับวัน เป็นรูปแบบเดียวที่สามารถคำนวณ PTV margin ได้น้อยกว่า 0.5 ซม. ในทั้งสามแนวแกน เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพการให้บริการผู้ป่วยของห้องฉายรังสีเทคนิคปรับความเข้มเชิงปริมาตร พบว่าการใช้ระบบภาพนำแบบทุก 10 ครั้ง สามารถฉายรังสีผู้ป่วยต่อวันได้มากที่สุด อย่างไรก็ตามการใช้ระบบภาพนำแบบทุก 10 ครั้ง ส่งผลต่อความถูกต้องของตำแหน่งในการฉายรังสี เนื่องจากความคลาดเคลื่อนคงเหลือจากการจัดท่าผู้ป่วย และค่า PTV margin มีค่ามาก งานวิจัยนี้พบว่า การใช้ระบบภาพนำรูปแบบสัปดาห์ละครั้ง มีความเหมาะสมมากที่สุดสำหรับหน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื่องจากสามารถฉายรังสีผู้ป่วยต่อวันได้จำนวน 54 คน ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนผู้ป่วยเฉลี่ยของห้องฉายรังสีเทคนิคปรับความเข้มเชิงปริมาตร โดยมีค่า PTV margin เท่ากับ 0.52 ซม. 0.40 ซม. และ 0.59 ซม. ในแนว lateral (X) แนว longitudinal (Y) และแนว vertical (Z) ตามลำดับ จากผลงานวิจัยนี้แนะนำให้ใช้ค่า PTV margin ที่มีค่ามากกว่า 0.5 ซม. ในสามแนวแกน สำหรับการใช้ระบบภาพนำแบบน้อยกว่ารายวันในการทวนสอบตำแหน่งการจัดท่าผู้ป่วยมะเร็งบริเวณอุ้งเชิงกราน และในการเลือกรูปแบบการใช้ระบบภาพนำควรพิจารณาจากจำนวนผู้ป่วยต่อวัน ค่าความคลาดเคลื่อนคงเหลือจากการจัดท่าผู้ป่วย และค่า PTV margin ให้มีความเหมาะสม โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพการให้บริการผู้ป่วยในการฉายรังสีของแต่ละสถาบัน และความถูกต้องของตำแหน่งในการฉายรังสีของผู้ป่วยen_US
Appears in Collections:MED: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600731021 ธัญญารัตน์ วงศ์เก๋.pdf3 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.