Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73546
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Thongchai Phuwanatwichit | - |
dc.contributor.advisor | Atchara Kerdtep | - |
dc.contributor.advisor | Chetthapoom Wannapaisan | - |
dc.contributor.author | Nawatcharose Intem | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-07-07T09:53:25Z | - |
dc.date.available | 2022-07-07T09:53:25Z | - |
dc.date.issued | 2021-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73546 | - |
dc.description.abstract | This study aimed to 1) investigate community context and culture of Moh Hom textile dyeing in Muang district, Phrae province, 2) study knowledge management processes of Moh Hom textile dyeing in terms of its local and cultural wisdom in Tung Hong village, Phrae province, and 3. present the cultural inheritance model in terms of Moh Hom clothes of Tung Hong village, Phrae province. Using mixed- method research design, the data were collected from local organizations. Regarded as research instruments, the in-dept interview was applied with community leader, community sages, and elderlies. The data were also collected from related documents, online database, and research. The qualitative data were analyzed by conducting content analysis while descriptive statistics were used to analyze the weighted average of scores and organize data in terms of importance. The results were presented as follows. 1) Hom culture had close relation with local culture collaborative management which was organized in order to promote self-reliance though knowledge accumulation and transmission. Hom culture consisted of 3 aspects of self-reliance: (1) Community economy by collaborating with indigo plant growers and persons working in Moh Hom g product processing, (2) Social and cultural systems which were connected to Kum Fah festival and Tai Paun people’s clothing culture, and (3 ) Natural resource management and environmental conservation in which indigo plants are one of indicators of forest abundance and purity. They could also reduce deforestation, leading to forest farming. 2) Tung Hong village had 7 processes of managing local wisdom: 1) Knowledge identification, 2) Knowledge creation and acquisition, 3) Knowledge organization, 4) Knowledge codification and refinement, 5) Knowledge access, 6) Knowledge sharing, and 7) Learning. The main objectives of knowledge management were to promote collaborative self-reliance and reinforce the idea of strong citizenship though the transmission of traditional dyeing skills, based on collaborative methods and lifelong learning. These ideas were cultivated though education to build equality, community awareness, and realization of local resources. 3) Model for inheriting Hom culture was organized in a form of action learning. Consisting of 5 learning units: unit 1: Hom and community economies, unit 2: Moh Hom community and people lifestyle, unit 3: community power and Hom culture conservation, unit 4: creative media for strong community, and unit 5: From community way to strong citizens, it placed a high value on community-based learning and areabased leaning. As learning outside classroom allowed learners to develop their way of thinking and skills, leading to meaningful learning experience, their skills concerning local resource management, arts and culture conservation, strong citizenship, ecosystem conservation, and creative learning were improved. It also found that the designed missions for developing Tung Hong village, consisting of 1) Social mission for sustainable development, 2) Economic mission for sustainable self-reliance, 3) Stability mission for sustainable self-reliance, and 4) Management mission for sustainable selfreliance could promote sustainable inheritance in terms of cultural heritage and met community needs. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Chiang Mai : Graduate School, Chiang Mai University | en_US |
dc.title | The local wisdom management Mohom for stable inherit, Phrae province | en_US |
dc.title.alternative | การจัดการความรู้ภูมิปัญญาหม้อห้อม เพื่อการสืบทอดอย่างยั่งยืน จังหวัดแพร่ | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | Culture | - |
thailis.controlvocab.thash | Crops -- Phrae | - |
thailis.controlvocab.thash | Mohom | - |
thesis.degree | doctoral | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาเรื่อง การจัดการความรู้ภูมิปัญญาหม้อห้อม เพื่อการสืบทอดอย่างยั่งยืน จังหวัดแพร่ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและวัฒนธรรมห้อมบ้านทุ่งโฮัง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 2) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาวัฒนธรรมห้อมข้านทุ่งโฮัง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการสืบทอดมรดกวัฒนธรรมห้อมบ้านทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี ด้วยการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและข้อมูลที่ชุมชนได้รวบรวมไว้ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำชุมชน ปราชญ์ชุมชน ผู้อาวุโสและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน การสอบถามโดยใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ฐานข้อมูลออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนาเพื่ออธิบายผลค่าคะแนนที่ใด้จากการถ่วงน้ำหนัก จัดเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูล นำเสนอเชิงพรรณา มีตารางและภาพประกอบ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) บริบทชุมชนและวัฒนธรรมห้อมบ้านทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พบว่า วัฒนธรรมห้อมมีความสัมพันธ์อยู่กับการจัดการห้อมแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชนในจังหวัดแพร่ผ่านการสั่งสมองค์ความรู้ การถ่ายทอดและการสืบทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น เรียกว่า "วัฒนธรรมห้อม" ประกอบด้วยการพึ่งตนเองใน 3 ด้านหลักๆ คือ (1) วัฒนธรรมห้อม: เศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง โดยการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบอาชีพห้อมคือ ผู้ปลูกห้อมและผู้แปรรูปห้อม (2) วัฒนธรรมห้อม: ระบบสังคมและวัฒนธรรมเพื่อการพึ่งตนเอง ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงอยู่กับประเพณีกำฟ้าและการแต่งกายของชาวไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง จังหวัดแพร่ และ (3) วัฒนธรรมห้อม: การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพึ่งตนเองยั่งยืน โดยต้นห้อมถือว่าเป็นพืช ชีวนิเวศที่สามารถใช้บ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์และความบริสุทธิ์ของผืนป่าได้ ที่ต้องอาศัยเกื้อกูลกันและกัน และนอกจากนี้การปลูกต้นห้อมยังเป็นการลดปัญหาการถางพื้นที่ป่า จึงนำไปสู่รูปแบบการทำเกษตรร่วมกับการอนุรักษ์ผืนป่าได้อย่างยี่งยืน 2) กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาวัฒนธรรมห้อมบ้านทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พบว่า ชุมชนบ้านทุ่งโฮังมีกระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนคือ 1) การค้นหาความรู้ 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ 3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ 5) การเข้าถึงความรู้ 6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และ 7) การเรียนรู้ ในขณะเดียวกันชาวบ้านทุ่งโฮังยังมีเป้าหมายในการจัดการความรู้ภูมิปัญญาม่อห้อมเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้บุคคลที่สนใจได้เข้ามาศึกษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชน โดยเฉพาะสำหรับเยาวชนในท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้าง "พลเมืองแพร่เข้มแข็ง" ผ่านการจัดการความรู้ การกระจายอำนาจอย่างอิสระและสร้างโอกาสทางการศึกษาเพื่อสร้างความเท่าเทียมให้แก่เยาวชนและชุมชนให้มีความ ตระหนักและความผูกพัน รวมทั้งเห็นคุณค่าในทรัพยากรท้องถิ่นของตน 3) รูปแบบการสืบทอดมรดกวัฒนธรรมห้อมบ้านทุ่งโอ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พบว่า รูปแบบการสืบทอดวัฒนธรรมห้อมควรเป็นรูปแบบการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการร่วมกับพลังของชุมชน โดยผู้วิจัยได้ออกแบบแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงพื้นที่ผ่านวัฒนธรรมห้อมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองแพร่เข้มแข็ง ประกอบด้วย 5 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ห้อมในฐานะพืชเศรษฐกิจชุมชน 2) วิถีชุมชนห้อม 3) พลังชุมชนกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมห้อม 4) สื่อสร้างสรรค์เพื่อชุมชนห้อมเข้มแข็ง และ 5) จากวิถีชุมชนสู่ความเป็นพลเมืองแพร่เข้มแข็ง โดยมุ่งเน้นกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเชิงสหวิทยาการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน เพราะว่าการจัดการเรียนรู้นอกสถานที่สามารถส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้และเสริมสร้างคุณค่าการเรียนรู้เพิ่มเติมจากการเรียนในชั้นเรียน ทำให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful Learning Experience) และนอกจากนี้พบว่ายุทธศาสตร์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนในการพัฒนาชุมชนบ้านทุ่งโฮัง จังหวัดแพร่ ยังจะเป็นกลไกขับเคลื่อนในการสร้างความยั่งยืนร่วมกับชุมชนในการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน ผู้วิจัยได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒพาชุมชนบ้านทุ่งโฮ้ง จังหวัดแพร่ ว่าควรประกอบด้วยพันธกิจ 4 ด้านสำคัญคือ 1) ด้านสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) ด้านเศรษฐกิจเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน 3) ด้านความมั่นคงเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน และ 4) ด้านการบริหารจัดการเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
580252005 นวัชโรจน์ อินเต็ม.pdf | 4.69 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.