Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73526
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | บุษรี เพ่งเล็งดี | - |
dc.contributor.author | สุภาพร อินต๊ะเขียว | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-07-06T10:12:31Z | - |
dc.date.available | 2022-07-06T10:12:31Z | - |
dc.date.issued | 2020-11 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73526 | - |
dc.description.abstract | The purpose of this research was to investigate the effects of using science, technology, society and environment (STSE) learning in biology, specifically employing the topic of humans and environmental sustainability for meaningful learning among grade-twelve students. The sample used in the study consisted of 13 students evaluated during the first semester of the 2020 academic year. The research instrument consisted of pre- and post-test questionnaires. Fifteen questions using a five-level rating scale were employed to evaluate the following five aspects: active, cooperative, authentic, constructive, and personalized. The research followed a pre-test/post-test design using one group, and the data were evaluated by using normal distribution statistics, including mean and standard deviation. The post-test results showed that the students experienced all five aspects of meaningful learning with a mean score of 4.53 on a 1-5 Likert scale, in which respondents indicated that they “strongly agree” with all five aspects. A mean score of 3.05 on the pre-test, indicated that respondents initially reported a “neutral” response in all five aspects of meaningful learning. On the post-test, respondents “strongly agreed” with cooperative, authentic, and constructive aspects of meaningful learning and “agreed” with active and personalized aspects. These results suggest that teaching and learning through the STSE approach plan promotes meaningful learning for students. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การจัดการเรียนรู้ชีววิทยา โดยใช้แนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความหมายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 | en_US |
dc.title.alternative | Biology instruction using science, technology, society, and environment to promote meaningful learning among grade 12 students | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ชีววิทยา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) | - |
thailis.controlvocab.thash | โรงเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย(ภาคเหนือ) | - |
thailis.controlvocab.thash | การศึกษา | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความหมายของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในรายวิชาชีววิทยา เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม จำนวน 13 คน ของโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นการเรียนรู้อย่างมีความหมายของนักเรียน จำนวน 15 ข้อ โดยแบ่งเป็น 5 ด้าน คือ 1) ด้านความกระตือรือร้น 2) ด้านการทางานร่วมกัน 3) ด้านการลงมือปฏิบัติจริง 4) ด้านความสร้างสรรค์ และ 5) ด้านการพัฒนาแบบรายบุคคล ที่มีลักษณะเป็นแบบประเมินค่า (Rating scale) 5 ระดับ การวิจัยครั้งนี้ใช้แผนการทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียว คือ วัดก่อนและหลังการทดลอง (One-group pretest-posttest design) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยโดยรวม พบว่า หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม นักเรียนมีคะแนนความคิดเห็นเฉลี่ยหลังเรียนรวมทุกด้านอยู่ที่ 4.53 อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนที่มีคะแนนความคิดเห็นเฉลี่ยรวมทุกด้านอยู่ที่ 3.05 อยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง ผลการวิจัยในแต่ละด้าน ทั้ง 5 ด้าน พบว่า ก่อนเรียนนักเรียนมีคะแนนความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลางทุกด้าน ส่วนหลังเรียนนักเรียนให้ความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการทำงานร่วมกัน ด้านการลงมือปฏิบัติจริง และด้านความสร้างสรรค์ และอยู่ระดับเห็นด้วยมาก จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านความกระตือรือร้น และด้านการพัฒนาแบบรายบุคคล จากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
600232068 สุภาพร อินต๊ะเขียว.pdf | 2.14 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.