Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73496
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมนทิพย์ ตั้งเอกจิต-
dc.contributor.advisorภูริทัต อินยา-
dc.contributor.authorปิยะดา เนตรสุวรรณen_US
dc.date.accessioned2022-07-04T10:00:12Z-
dc.date.available2022-07-04T10:00:12Z-
dc.date.issued2020-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73496-
dc.description.abstractThis thesis aimed to investigate 1) quantity and quality of sustainability disclosure of the companies listed on the Stock Exchange of Thailand (SET); 2) relationship between Chief Executive Officer (CEO) characteristics and sustainability disclosure of the companies listed on the SET; 3) relationship between sustainability disclosure and stock prices of the companies listed on the SET; and 4) moderating effect of sustainability disclosure’s assurance towards relationship between sustainability disclosure and stock price of the companies listed on the SET. Data were gathered from the companies listed on the SET during B.E. 2558 to B.E. 2560, which consisted of 1,085 datasets in total. The study on quantity and quality of sustainability disclosure of the companies listed on the SET was conducted by measuring the sustainability disclosure index as defined in the guidelines of global standards for sustainability reporting. The sustainability information of those companies were collected from their sustainability reports; corporate social responsibility reports; annual reports and annual registration statements. Then, text of all selected reports were analyzed for tone of sustainability according to the Bill McDocnald’s Word List. The findings presented that the sustainability disclosure index being observed in all selected sources of the studied companies were averagely rated at 36%. Economic sustainability was disclosed at the highest level; followed by social and environmental sustainability, accordingly. Considering on industrial category, resource industry had the highest sustainability disclosure. Among the selected sources of sustainability information, the sustainability reports was the source where the sustainability information was disclosed at the most. In addition, the findings also revealed that in an overall view, the companies used negative tone of sustainability in their reports and the negative tone of sustainability were found in the reports of companies enlisted in the financial industry at the most. Tones of sustainability were differently observed in different sources of sustainability information. The relationship between Chief Executive Officers (CEOs) characteristics: gender, age, tenure, educational background, functional track, and shareholding proportions and the sustainability disclosure of the companies listed on the SET was evaluated by the application of multiple regression analysis. The findings presented that the CEOs with long term of tenure; or with educational background in master’s degrees or doctoral degrees; or with educational background in sciences and engineering or business fields; or with functional experience in production, engineer, and accounting tracks had positive relationship with sustainability disclosure index. Those with educational background in master’s degrees or doctoral degrees; or with educational background in sciences and engineering or business fields; or with functional experience in sales, marketing, and research and development tracks or in production, engineer, and accounting tracks had positive relationship with tone of sustainability information. The relationship between the sustainability disclosure and the stock prices of the companies listed on the SET; and the moderating effect of sustainability disclosure’s assurance towards relationship between the sustainability disclosure and the stock prices of the studied companies were evaluated by the applications of stock valuation, according to Ohlson’s model and multiple regression analysis. The findings presented that the sustainability disclosure did not correlate with the stock prices of the companies listed on the SET. Also, the sustainability disclosure’s assurance did not cause any moderating effect towards the relationship between sustainability disclosure and the stock prices of the studied companies. Results of this study shall bring benefit to the Stock Exchange of Thailand regulators as it could be referred as a guideline in determining scope of sustainability reporting; and also to administrators to select or modify sustainability content for their reports. In addition, the results of this study can be applied as a guideline in selecting CEOs with preferable qualifications of corporate social responsibility orientation to push the companies to work on the sustainability disclosure policies, which shall benefit to investment making-decision of investors. The results of this study can also be used as a reference for those who are interested in studying, analyzing, and researching further on sustainability disclosure related issues.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของประธานกรรมการบริหาร การเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนและราคาหลักทรัพย์ของบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeRelationship Between Chief Executive Officer Characteristics, Sustainability Disclosure and Stock Price of Companies Listed on The Stock Exchange of Thailanden_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย-
thailis.controlvocab.thashหลักทรัพย์-
thailis.controlvocab.thashราคาหลักทรัพย์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปริมาณและลักษณะการเปิดเผยข้อมูลความ ยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะ ของประธานกรรมการบริหารและการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนและราคา หลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ 4) ผลกระทบเชิงกำกับ ของการให้ความเชื่อมั่นในการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูล ความยั่งยืนและราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเก็บ ข้อมูลจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2560 จำนวนทั้งหมด 1,085 ข้อมูล การศึกษาปริมาณและลักษณะการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วัดจากดัชนีการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนตามแนวทางการจัดทำรายงาน ข้อมูลความยั่งยืนในระดับสากล โดยเก็บข้อมูลความยั่งยืนจากรายงานแห่งความยั่งยืน รายงานความ รับผิดชอบต่อสังคม รายงานประจำปี และแบบแสดงรายการประจำปี และวัดลักษณะการใช้คำของ ข้อมูลความยั่งยืนตามพจนานุกรมคำ Bill McDonald’s Word List ผลการศึกษาพบว่าบริษัทมีดัชนีการ เปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนจากทุกแหล่งโดยเฉลี่ยร้อยละ 36 โดยมีการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนด้าน เศรษฐกิจมากที่สุด รองลงมาคือด้านสังคมและด้านสิ่งแวดล้อมตามลำดับ ซึ่งประเภทอุตสาหกรรม กลุ่มทรัพยากรมีดัชนีการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนมากที่สุด และแหล่งข้อมูลความยั่งยืนที่มีการเปิดเผย มากที่สุดคือ รายงานแห่งความยั่งยืน ผลการศึกษายังพบว่าบริษัทมีลักษณะการใช้คำของข้อมูลความยั่งยืนในภาพรวมเป็นเชิงลบ ซึ่งประเภทอุตสาหกรรมกลุ่มธุรกิจการเงินมีลักษณะการใช้คำของข้อมูล ความยั่งยืนเป็นเชิงลบมากที่สุด และลักษณะการใช้คำของข้อมูลความยั่งยืนจากแหล่งการเปิดเผยแต่ละ ประเภทแตกต่างกัน ส่วนการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของประธานกรรมการบริหารและการเปิดเผย ข้อมูลความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยวัดคุณลักษณะของ ประธานกรรมการบริหารจากเพศ อายุ ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง การศึกษา ประสบการณ์ทำงาน เฉพาะด้าน และสัดส่วนการถือหุ้น และใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่าประธาน กรรมการบริหารที่มีระยะเวลาในการดารงตำแหน่งนาน หรือจบการศึกษาระดับปริญญาโทหรือ ปริญญาเอก หรือมีการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ หรือมีการศึกษาสาขาธุรกิจ หรือ มีประสบการณ์ทำงานในด้านการผลิต วิศวกรรมและบัญชี มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับดัชนีการเปิดเผย ข้อมูลความยั่งยืน อีกทั้งประธานกรรมการบริหารที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก หรือ มีการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ หรือมีการศึกษาสาขาธุรกิจ หรือมีประสบการณ์ ทำงานในด้านการขาย การตลาดและการวิจัยพัฒนา หรือมีประสบการณ์ทำงานในด้านการผลิต วิศวกรรม และบัญชี มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับลักษณะการใช้คำของข้อมูลความยั่งยืน นอกจากนี้การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนและราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และผลกระทบเชิงกากับของการให้ความ เชื่อมั่นในการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน และราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยประเมินราคา หลักทรัพย์ตามแบบจำลองทางสถิติของ Ohlson และใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษา พบว่าการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนไม่มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อีกทั้งการให้ความเชื่อมั่นในการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนไม่มี ผลกระทบเชิงกำกับต่อความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนและราคาหลักทรัพย์ของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังนั้นผลการศึกษาจึงเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทยสามารถนำไปเป็นแนวทางในการกาหนดขอบเขตของการนำเสนอข้อมูลความยั่งยืนและเป็น ประโยชน์ต่อผู้บริหารในการเลือกหรือปรับปรุงเนื้อหาข้อมูลความยั่งยืน ตลอดจนบริษัทสามารถใช้ ผลการศึกษาเป็นแนวทางในการพิจารณาประธานกรรมการบริหารที่มีคุณลักษณะสอดคล้องต่อการ รับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อจะผลักดันให้องค์กรมีนโยบายในการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนเพื่อ เป็นข้อมูลให้นักลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุน อีกทั้งเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจศึกษา ข้อมูลความยั่งยืนนำไปวิเคราะห์และพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนในอนาคตen_US
Appears in Collections:BA: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
591532203 ปิยะดา เนตรสุวรรณ.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.