Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72217
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นพดล กรประเสริฐ | - |
dc.contributor.author | นัฎฐิกา ทิพนี | en_US |
dc.contributor.author | Nattika Thipnee | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-03-11T08:24:02Z | - |
dc.date.available | 2022-03-11T08:24:02Z | - |
dc.date.issued | 2020-11 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72217 | - |
dc.description.abstract | Road accidents are one of the most pressing issues, which lead to the loss of economic, social, and quality of life. A road traffic accident occurrence can be caused by one or many causal factors; therefore, it is necessary to conduct an accident investigation to identify the basic causes of such accidents. This study focuses on the analytical method for in-depth road accident investigations by using the Fault Tree Analysis (FTA) method. This technique helps explain the relationships among different causal factors in a systematic manner. The analysis process starts from selecting the accident type as a top event of the tree structure to analyzing the factors affecting the accident occurrence the most by considering removing most common causes of accidents individually. This traditional FTA method requires the accident statistics and data as inputs of the analysis; however, such data are limited and incomplete. This study proposes applying the fuzzy set theory to explain the significance of each causal factor derived from expert opinions in terms of the probability that affects an accident. The application determines the causes of accidents and recommend corrective actions to improve road safety. This research studies 5 difference accident cases. The first case is school bus was hit at the back skirt by a 10-wheel truck, the second case is a 6-wheel truck was crashed by a bus, the third case is an overload on motorcycle with 3 people lost it balance on a road improvement zone, the fourth is a taxi crashed by a 4-wheel truck fell from elevated highway and the fifth case is a double-decker bus fell off the road. The results of this study present in two parts; (i) investigating the cause of the accident; (ii) determining the probability of the cause of the accident. In the first past, this study can point out that most of the accidents caused by human behavior (e.g., driving at overspeed, sleepy while driving, Error in gap judgment, Inattentive driving) vehicle factor (e.g., modified tire, diecasts alloy wheels, tire rubber, Braking system failure, modified car) and environment factor (e.g., poor warning of the road junction, poor visions and difference at shoulder and pavement level.) In the second part found that the most accident factor caused by human by 60.03%, vehicle by 7.89% and environment by 32.08%. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การสืบค้นสาเหตุของอุบัติเหตุทางถนนในเชิงลึกโดยใช้การวิเคราะห์ต้นไม้แห่งความล้มเหลวแบบฟัซซี่ | en_US |
dc.title.alternative | In-Depth Road Accident Investigation Using Fuzzy Fault Tree Analysis | en_US |
dc.type | Thesis | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ปัญหาอุบัติเหตุถือเป็นปัญหาหลักที่สาคัญของประเทศไทยซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต ความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนสามารถเกิดขึ้นได้จากหนึ่งหรือหลายสาเหตุปัจจัย จึงต้องมีการสืบค้นสาเหตุของอุบัติเหตุเพื่อระบุหาต้นตอที่แท้จริงที่นำไปสู่ความสูญเสียจากอุบัติเหตุนั้น ๆ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาวิธีการวิเคราะห์สืบค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุทางถนนในเชิงลึก โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์ต้นไม้แห่งความล้มเหลว (Fault Tree Analysis) ซึ่งช่วยอธิบายความสัมพันธ์ของสาเหตุปัจจัยของการเกิดอุบัติเหตุอย่างเป็นลำดับขั้นตอน โดยเริ่มจากกำหนดเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดอุบัติ เป็นเหตุการณ์สูงสุด (Top Event) จากนั้นจะนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นั้น ๆ ไล่เรียงเป็นลำดับลงมาเป็นชั้น ๆ จนถึงเหตุการณ์ที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุโดยไม่สามารถวิเคราะห์ต่อลงไปได้อีกจึงถือว่าเหตุการณ์นั้นอยู่ในลำดับชั้นล่างสุดถือว่าเป็นเหตุการณ์พื้นฐาน (Basic Event) นำเหตุการณ์พื้นฐานที่ได้มาสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็น เนื่องจากข้อมูลสถิติอุบัติเหตุที่ใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนในการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคนี้มีข้อจำกัดและไม่สมบูรณ์ จึงประยุกต์ใช้ทฤษฎีความคลุมเครือ (Fuzzy Set theory) และความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญในรูปของตัวแปรภาษา (Linguistic Variable) ช่วยอธิบายความสัมพันธ์ของปัจจัยสาเหตุและบ่งชี้สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างเป็นระบบและชัดเจน เพื่อวิเคราะห์หาค่าความเป็นไปได้ (Possibility) ในการเกิดของเหตุการณ์พื้นฐานไปวิเคราะห์หาความเป็นไปได้ของการเกิดสำหรับเหตุการณ์ ซึ่งได้ผลนำไปสู่ค่าความเป็นไปได้ในการเกิดอุบัติเหตุจราจรพร้อมทั้งสามารถวิเคราะห์ประเมินและเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงความปลอดภัยทางถนนที่สามารถลดความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุทางถนนได้ งานวิจัยนี้ทาการศึกษาทั้ง 5 กรณีศึกษาที่มีลักษณะการเกิดอุบัติเหตุที่แตกต่างกัน ได้แก่กรณีที่ 1 รถตู้โดยสารนักเรียนถูกรถบรรทุก 10 ล้อชนท้าย กรณีที่ 2 รถโดยสารธารณะเฉี่ยวชนรถบรรทุก 6 ล้อ กรณีที่ 3 จักรยานยนต์ซ้อน 3 เสียหลักไถลล้มในเขตปรับปรุงผิวทางใหม่ กรณีที่ 4 กระบะเบียดแท็กซี่ที่จุดทางร่วมบนทางด่วน แล้วเสียหลักตกทางด่วน และกรณีที่ 5 รถบัส 2 ชั้น ไม่ประจำทาง หลุดตกข้างทาง ในงานวิจัยนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่การสืบค้นหาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุและหาค่าความน่าจะเป็นของสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ ในส่วนแรกสามารถหาสาเหตุที่ทาให้เกิดอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ที่ทาให้เกิดอุบัติเหตุไม่ว่าจะเป็น การขับขี่ยาพานะด้วยความเร็ว ขี่ขับในขณะที่ง่วงนอน การตัดสินใจผิดพลาดในการขับขี่ ขาดความตั้งใจในการขับขี่ยานพาหนะ ด้านยานพหนะเช่น การปรับแต่งยาง ระบบเบรกของยานพาหนะเกิดการขัดข้อง การปรับแต่งสภาพยานพาหนะ สุดท้านด้านถนนและสิ่งแวดล้อมเช่น ไม่มีการติดเครื่องหมายนาทาง ทัศนวิสัยไม่ดี ความแตกต่างระดับไหล่ทางและระดับผิวทาง ในส่วนที่สอง พบว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยด้านคนร้อยละ 60.03 ปัจจัยด้านยานพาหนะร้อยละ 7.89 ปัจจัยด้านถนนและสิ่งแวดล้อมร้อยละ 32.08 | en_US |
Appears in Collections: | ENG: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
580631006 นัฎฐิกา ทิพนี.pdf | 11.61 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.