Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72172
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorThongchai Phuwanatwichit-
dc.contributor.advisorCharin Mangkhang-
dc.contributor.advisorAtchara Sarobol-
dc.contributor.authorGrit Piriyatachagulen_US
dc.date.accessioned2021-12-13T04:29:19Z-
dc.date.available2021-12-13T04:29:19Z-
dc.date.issued2020-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72172-
dc.description.abstractThis research aims to study 1) community context and Miang resources management for self-reliance in highland communities 2) the cultural transferring process of Miang for self-reliance in highland communities and 3) guidelines for environmental learning for sustainable development. Using qualitative research methods by conducting fieldwork to collect field data from related agencies and databases collected by the community. As well as in-depth interviews with village headman, community philosophers, and other community stakeholders, focus group, observation, both participatory and non-participatory. Including collecting data from research papers and online databases. The tools used to collect field data are; structured interviews, focus group recording, and observation records. Analyze the data by content analysis and prioritizing the data, present in a descriptive format, from the summary of the research results as follows; 1) Community context and Miang resources management for self-reliance in highland communities found that Ban Mae Ton Luang community, Thep Sadet Sub-district, Doi Saket District, Chiang Mai Province is Pa Miang community. Located in the Phi Pan Nam mountain range which is an important watershed in Upper Northern Thailand. It is a watershed forest area of class 1A and community lifestyle is tied to the utilization of forest resources. The community has agricultural wisdom that is blended with Pa Miang and rainforest, called “Miang Culture” which is an important indigenous plant of the community. Including indigenous wisdom in the cultivation of integrated agroforestry that focuses on producing food for household consumption and maintaining environmental balance rather than producing products to meet the market and villagers in Pa Miang communities have participated in the creation of the Miang culture along with preserving the forest with indigenous wisdom for sustainable development and utilization of Miang culture. It is related to community resource management for self-reliance of Ban Mae Ton Luang community, called “Poi Innovation of Mae Ton Luang”, which consists of 3 aspects of self-reliance; 1) social and cultural for self-reliance 2) economy for self-reliance and 3) natural resources and environment for sustainable self-reliance. 2) The cultural transferring process of Miang for self-reliance in highland communities found that it is a “horizontal culture transferring process”, it is characterized by the transmission process through the absorption of knowledge from the way of life and being in constant contact with Miang culture to form a “life-style” which has a mechanism for transmitting characteristics, “the flow of knowledge from generation to generation through context, way of life, community” is a process of transferring through Lanna language to make it easy to remember 5 steps; Step 1 “Hien Hu” (Learning) Step 2 “Ya Jang” (Practice) Step 3 “Sang Tor” (Inheritance of Indigenous Wisdom) Step 4 “Pho Heat” (Indigenous Wisdom Transfer) and Step 5 “Tuoi Hoi” (Conservation and Preservation of Indigenous Wisdom) 3) Guidelines for environmental learning for sustainable development from the conclusion of the research, found that the guidelines for environmental learning for sustainable development focused on the students to change the educational paradigm. With an important goal is “Green Citizenship” consists of 5 units; 1) Miang as a community economic plant, consisting of 5 minor plans 2) Way of community, people: Miang: forest, consisting of 7 minor plans 3) Community power and Pa Miang conservation, consisting of 5 minor plans 4) Creative media for strong Pa Miang communities, consisting of 4 minor plans and 5) From community way to green citizenship, consisting of 5 minor plans. It was found that each learning plan encourages learners to learn about green citizenship in 6 areas; 1) soil, water, forest and ecosystem conservation 2) community resource management 3) green energy 4) conservation and Inherit local wisdom 5) green citizenship and 6) creative learning. There is a learning process in 3 phases, 7 steps, called “UCD for BIP DECS Model”en_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectCultural Transferring Processen_US
dc.subjectSelf-Relianceen_US
dc.subjectHighland Communitiesen_US
dc.titleThe Cultural Transferring Process of Miang for Self-Reliance in Highland Communitiesen_US
dc.title.alternativeกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมเหมี้ยงสู่การพึ่งตนเองของชุมชน บนพื้นที่สูงen_US
dc.typeThesis
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบทชุมชนและการจัดการทรัพยากรเหมี้ยงเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชนบนพื้นที่สูง 2) ศึกษากระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมเหมี้ยงสู่การพึ่งตนเองของชุมชนบนพื้นที่สูง และ3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study Research) ด้วยการลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและฐานข้อมูลที่ชุมชนได้รวบรวมไว้ ตลอดจนการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นาชุมชน ปราชญ์ชุมชน ผู้อาวุโสและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน การสนทนากลุ่ม การสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องและฐานข้อมูลออนไลน์ เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบบันทึกการสังเกตการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จัดเรียงลำดับความสาคัญของข้อมูล นำเสนอเชิงพรรณา จากบทสรุปผลการวิจัย ดังนี้ 1. บริบทชุมชนและการจัดการทรัพยากรเหมี้ยงเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชนบนพื้นที่สูง พบว่า ชุมชนบ้านแม่ตอนหลวง ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่ตั้งของชุมชนป่าเหมี้ยง บริเวณเทือกเขาผีปันน้ำ เป็นแหล่งต้นน้ำที่สาคัญทางภาคเหนือตอนบนของประเทศเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ ชั้นที่ 1A วิถีการดาเนินชีวิตชุมชนผูกพันกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้ มีภูมิปัญญาการทำการเกษตรแบบผสมผสานด้วยป่าเหมี้ยงกับป่าดิบเขาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เกิดเป็นภูมิปัญญาวัฒนธรรมเหมี้ยง ซึ่งเป็นพืชพื้นถิ่นที่สาคัญของชุมชน รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเพาะปลูกพืชแบบวนเกษตรที่ผสมผสาน มุ่งผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือนและรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อมมากกว่าผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองตลาด สมาชิกในชุมชนป่าเหมี้ยงเข้ามามีส่วนร่วมสร้างวัฒนธรรมเหมี้ยงควบคู่กับการรักษาผืนป่าด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและการใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมเหมี้ยงต่อเนื่อง มีความสัมพันธ์กับการจัดการทรัพยากรชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชนบ้านแม่ตอนหลวง เรียกว่า “นวัตกรรมปอยแม่ตอนหลวง” ประกอบด้วยการพึ่งตนเอง 3 ด้านคือ 1) ด้านสังคมและวัฒนธรรมเพื่อการพึ่งตนเอง 2) ด้านเศรษฐกิจเพื่อการพึ่งตนเอง และ3) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน 2. กระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมเหมี้ยงสู่การพึ่งตนเองของชุมชนบนพื้นที่สูง พบว่า รูปแบบการถ่ายทอดวัฒนธรรมเหมี้ยงเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชนบ้านแม่ตอนหลวง จังหวัดเชียงใหม่เป็น “กระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมแนวราบ” เป็นลักษณะกระบวนการถ่ายทอดผ่านการซึมซับองค์ความรู้จากวิถีการดำเนินชีวิต จากการคลุกคลีอยู่กับวัฒนธรรมเหมี้ยงอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็น “ชีววิถี” ด้วยกลไกการถ่ายทอดลักษณะ“การลื่นไหลองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่นผ่านบริบทวิถีชีวิตชุมชน” เป็นกระบวนการถ่ายทอดผ่านโฉลกภาษาพื้นถิ่นที่สาคัญเพื่อให้ง่ายต่อการจำ 5 ขั้นตอนคือ ขั้นตอน ที่ 1 “เฮียนฮู้” (การเรียนรู้) ขั้นตอนที่ 2 “ย๊ะจ้าง” (การปฏิบัติ) ขั้นตอนที่ 3 “สร้างต่อ” (การสืบทอด ภูมิปัญญาท้องถิ่น) ขั้นตอนที่ 4 “ผ่อฮีต” (การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น) และขั้นตอนที่ 5 “ตวยฮอย” (การอนุรักษ์และรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น) 3. แนวทางการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จากบทสรุปผลการวิจัย พบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการศึกษา โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ “การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองวิถีเขียว” (Green Citizenship) ประกอบด้วย 5 หน่วยการเรียนรู้คือ 1) หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เหมี้ยงในฐานะพืชเศรษฐกิจชุมชน จำนวน 5 แผนการเรียนรู้ 2) หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 วิถีชุมชน คน : เหมี้ยง : ป่า จำนวน 7 แผนการเรียนรู้ 3) หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พลังชุมชนกับการอนุรักษ์ป่าเหมี้ยง จำนวน 5 แผนการเรียนรู้ 4) หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สื่อสร้างสรรค์เพื่อชุมชนป่าเหมี้ยงเข้มแข็ง จำนวน 4 แผนการเรียนรู้ และ5) หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 จากวิถีชุมชนสู่ความเป็นพลเมืองวิถีเขียว จำนวน 5 แผนการเรียนรู้ โดยแต่ละแผนการเรียนรู้เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ความเป็นพลเมือง วิถีเขียว ทั้ง 6 ด้าน ที่สอดคล้องกับบริบทและสิ่งแวดล้อมศึกษาบนฐานการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ ในชุมชน ได้แก่ 1) การอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่าและระบบนิเวศ 2) การจัดการทรัพยากรชุมชน 3) พลังงานสีเขียว 4) การอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น 5) การเป็นพลเมืองวิถีเขียว และ6) การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ 3 ระยะ 7 ขั้นตอน เรียกว่า “UCD for BIP DECS Model”en_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600251003 กฤต พิริยธัชกุล.pdf4.09 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.