Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72167
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธนวัฒน์ เชาวสกู-
dc.contributor.authorเอกพล โพธิขวัญen_US
dc.date.accessioned2021-09-14T08:29:36Z-
dc.date.available2021-09-14T08:29:36Z-
dc.date.issued2020-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72167-
dc.description.abstractArtabotrys is one of the largest genera of Annonaceae and easily recognizable by the presence of hooked peduncles and inflorescence axes, but their species delimitation is somewhat problematic due to highly overlapping morphological traits. So, it is suspected that some scientific names may contain more than one species. In order to prove the existence of such cryptic species complexes in A. harmandii, A. multiflorus, and A. spinosus, a plastid phylogenetic hypothesis (six regions: matK, ndhF, and rbcL exons; trnL intron; trnL-trnF and psbA-trnH intergenic spacers; 37 accessions of Artabotrys, 15 from GenBank), and a combined plastid (five regions: matK, and ndhF exons; trnL intron; trnL-trnF and psbA-trnH intergenic spacers) and nuclear (eight regions: AP3, AT2G32520, GI, HMGS, LFY, MAG1, and ncpGS exons plus introns; PHYA exon) phylogenetic hypothesis (61 accessions of Artabotrys, 51 from GenBank; 12 accessions are the same as those included in the plastid phylogeny) are reconstructed by three methods: parsimony, maximum likelihood, and Bayesian inference. The plastid phylogenetic relationships are largely unresolved, with A. harmandii and A. spinosus being non-monophyletic (i.e. accessions of each species have been recovered in two clades that are not sister to each other), whereas only one accession of A. multiflorus occurring in Kanchanaburi Province (= Artabotrys cf. multiflorus) is amplifiable. Based on the plastid phylogenetic results, it is still inconclusive whether the two clades of A. harmandii and of A. spinosus represent a single species, while Artabotrys cf. multiflorus is morphologically different from the type specimens of A. multiflorus (Myanmar) in several respects: number of flowers per hook; petal shape, apex, length and width; and number of carpels per flower. Therefore, Artabotrys cf. multiflorus is described as a new species. The combined plastid and nuclear phylogenetic results are much more resolved. Artabotrys harmandii appears paraphyletic and one new species is warranted and described. The new species from Chachoengsao Province has usually elliptic leaf blade, acute to broadly acute leaf apex, narrowly elliptic-oblong petals, and subglobose monocarps, whereas the true A. harmandii (from Laos [type] and Sisaket Province) has obovate leaf blade, cuspidate leaf apex, elliptic petals, which are broader and shorter, and ellipsoid monocarps. On the other hand, accessions of A. spinosus from two different localities (Mun and Chi River system vs. Mekong River system) are recovered as a monophyletic group. Although A. spinosus is monophyletic, each lineage is moderately long corresponding to its mutations. Their morphological features, however, require further in-depth investigation before a solid conclusion on the taxonomy of A. spinosus can be made.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการจำแนกพืชสกุลการเวกบางชนิดในประเทศไทย ‪(วงศ์กระดังงา)‬ โดยใช้วิวัฒนาการชาติพันธุ์เชิงโมเลกุลและสัณฐานวิทยาen_US
dc.title.alternativeClassification of some Thai Artabotrys ‪(Annonaceae)‬ using molecular phylogenetics and morphologyen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc635.9-
thailis.controlvocab.thashกระดังงา -- สัณฐานวิทยา-
thailis.controlvocab.thashกระดังงา-
thailis.controlvocab.thashความหลากหลายทางชีวภาพ-
thailis.manuscript.callnumberว 635.9 อ516ก 2562-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractสกุลการเวก (Artabotrys) เป็นสกุลขนาดใหญ่ของวงศ์กระดังงา (Annonaceae) มีลักษณะเด่น คือ ก้านและแกนช่อดอกเป็นรูปตะขอ ทำให้ง่ายต่อการระบุสกุล แต่การกำหนดขอบเขตชนิดในพืชสกุลนี้มีความยาก เนื่องจากพืชแต่ละชนิดมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่คาบเกี่ยวกัน จึงทำให้สงสัยว่าชื่อวิทยาศาสตร์บางชื่ออาจประกอบไปด้วยพืชมากกว่าหนึ่งชนิด ดังนั้น เพื่อที่จะตรวจสอบ ชนิดซ่อนเร้นในพืชชนิด A. harmandii (นมงัว), A. multiflorus (การเวกช่อ) และ A. spinosus (นาวน้า) จึงศึกษาวิวัฒนาการชาติพันธุ์ที่ใช้ข้อมูลลำดับเบสดีเอ็นเอในพลาสติดจากยีน 6 ตำแหน่ง (เอ็กซอน matK, rbcL และ ndhF; อินทรอน trnL; ช่วงระหว่างยีน trnL-trnF และ psbA-trnH) ของตัวอย่างพืชในสกุลการเวก 37 ตัวอย่าง (15 ตัวอย่างจาก GenBank) และศึกษาวิวัฒนาการชาติพันธุ์ที่ใช้ลำดับเบส ดีเอ็นเอในพลาสติด 5 ตำแหน่ง (เอ็กซอน matK และ ndhF; อินทรอน trnL; ช่วงระหว่างยีน trnL-trnF และ psbA-trnH) ร่วมกับลำดับเบสดีเอ็นเอในนิวเคลียส 8 ตำแหน่ง (เอ็กซอนและอินทรอน AP3, AT2G32520, GI, HMGS, LFY, MAG1 และ ncpGS; เอ็กซอน PHYA) ของตัวอย่างพืชในสกุลการเวก 61 ตัวอย่าง (51 ตัวอย่างจาก GenBank โดยมี 12 ตัวอย่างที่เป็นตัวอย่างเดียวกับการศึกษา วิวัฒนาการชาติพันธุ์ที่ใช้ลำดับเบสดีเอ็นเอในพลาสติด) โดยสร้างแผนภูมิวิวัฒนาการชาติพันธุ์ด้วย 3 วิธี ได้แก่ วิธีพาร์สิโมนี วิธีความเป็นไปได้สูงสุด และวิธีเบย์เชียน จากแผนภูมิวิวัฒนาการชาติพันธุ์ที่ใช้ข้อมูลลำดับเบสดีเอ็นเอในพลาสติดเพียงอย่างเดียว พบว่ายังมีความคลุมเครือ โดยตัวอย่างของ A. harmandii และ A. spinosus ไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการแบบชาติพันธุ์เดียว (ตัวอย่างของแต่ละชนิดแยกออกเป็นสองวงศ์วานซึ่งไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน) ส่วนตัวอย่าง A. multiflorus จากจังหวัดกาญจนบุรี (= Artabotrys cf. multiflorus) มีเพียงตัวอย่างเดียวที่เพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้สำเร็จ จากผลการวิเคราะห์วิวัฒนาการชาติพันธุ์ดังกล่าวยังไม่สามารถสรุปได้ว่าตัวอย่างพืช A. harmandii และ A. spinosus ที่ปรากฏอยู่ในสองวงศ์วานเป็นพืชชนิดเดียวกัน ส่วนตัวอย่าง Artabotrys cf. multiflorus มีลักษณะทางสัณฐานวิทยาแตกต่างไปจากตัวอย่างต้นแบบของ A. multiflorus จากประเทศพม่า ได้แก่ จำนวนดอกบนตะขอ รูปร่างกลีบดอก ปลายกลีบดอก ขนาดและความกว้างของกลีบดอก และจำนวนเกสรเพศเมียต่อดอก ดังนั้น ตัวอย่าง Artabotrys cf. multiflorus จึงเป็นพืชชนิดใหม่ จากแผนภูมิวิวัฒนาการชาติพันธุ์ที่ใช้ข้อมูลลำดับเบส ดีเอ็นเอในพลาสติดและนิวเคลียสมีความชัดเจนมากกว่า โดยตัวอย่างพืชชนิด A. harmandii มีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการแบบกึ่งชาติพันธุ์เดียว และมีพืชชนิดใหม่จำนวน 1 ชนิด จากจังหวัดฉะเชิงเทรา มีลักษณะใบมักจะเป็นรูปรี ปลายใบแหลมถึงแหลมกว้าง กลีบดอกรูปรีแกมขอบขนานแบบแคบ และผลค่อนข้างกลม ในขณะที่ตัวอย่าง A. harmandii ที่แท้จริง (ตัวอย่างต้นแบบจากประเทศลาวและตัวอย่างจากจังหวัดศรีสะเกษ) มีลักษณะใบเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบเป็นติ่งแหลม กลีบดอกเป็นรูปรี ซึ่งกว้างและสั้นกว่าตัวอย่างจากจังหวัดฉะเชิงเทรา และผลเป็นรูปรี ในทางกลับกัน ตัวอย่างพืชชนิด A. spinosus ที่เก็บจาก 2 พื้นที่ที่แตกต่างกัน (ระบบแม่น้ำมูลและชี เทียบกับ ระบบแม่น้ำโขง) พบว่ามีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการแบบชาติพันธุ์เดียว แต่กระนั้นความยาวกิ่งของแต่ละตัวอย่างในแผนภูมิวิวัฒนาการชาติพันธุ์บ่งบอกว่ามีการเปลี่ยนแปลงของลำดับเบสที่แตกต่างกันในระดับหนึ่ง จึงควรมีการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาอย่างละเอียดในอนาคตเพื่อหาข้อสรุปทางอนุกรมวิธานที่แน่นอนของพืชชนิดนี้en_US
Appears in Collections:SCIENCE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610531083 เอกพล โพธิขวัญ.pdf5.8 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.